พี่เลี้ยงแถวสอง : การพัฒนาศักยภาพบุคลากรประจำสู่การเป็นนักวิจัยเพื่อท้องถิ่น


พี่เลี้ยงแถวสองจะทำหน้าที่เป็นเสมือน “ลูกทีม” ของ “พี่เลี้ยง” ในแต่ละสาย (สายมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์,สายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี,สายวิทยาศาสตร์สุขภาพ) หรือแม้แต่บ่อยครั้งก็ทำหน้าที่แทนพี่เลี้ยงอย่างเสร็จสรรพ นับตั้งแต่การให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการการพัฒนาโจทย์ การเลือกพื้นที่ การจัดทำสื่อ การบริหารโครงการและงบประมาณ การถอดบทเรียน การจัดกิจกรรมเรียนรู้ร่วมกับชุมชน

โครงการวิจัยแนวทางการพัฒนาระบบและกลไกหน่วยวิจัยเพื่อพัฒนาท้องถิ่นในมหาวิทยาลัยมหาสารคาม เป็นความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยมหาสารคาม กับ สกว.ฝ่ายวิจัยเพื่อท้องถิ่น โดยมีกองส่งเสริมการวิจัยและบริการวิชาการของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ทำหน้าที่เป็นเสมือนฝ่ายเลขานุการการดำเนินงานทั้งปวงร่วมกับผู้แทนของ สกว.ฝ่ายวิจัยเพื่อท้องถิ่น คือศูนย์ส่งเสริมนักวิชาการเพื่องานวิจัยเพื่อท้องถิ่น จังหวัดมหาสารคาม



การวิจัยครั้งนี้ ขับเคลื่อนผ่านแก่นคิดหลักของการ "วิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม" ภายใต้วัตถุประสงค์สำคัญๆ 4 ประเด็น ได้แก่
1) ศึกษานโยบาย ระบบและกลไกการสนับสนุนและส่งเสริมการวิจัยและบริการวิชาการของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม
2) ศึกษารูปแบบการบูรณาการงานวิจัยสู่การเรียนการสอน การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม การบริการวิชาการ (4 In 1)
3) ศึกษาแนวทางการพัฒนาระบบแลกลไกหน่วยวิจัยเพื่อพัฒนาท้องถิ่นในมหาวิทยาลัยมหาสารคาม
4) เพื่อสังเคราะห์ชุดความรู้การบูรณาการงานวิจัยเข้าสู่การเรียนการสอน การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และการบริการวิชาการแก่สังคม



การดำเนินงานวิจัยดังกล่าว มุ่งเน้นการวิจัยผ่านโครงการ "วิจัยเพื่อท้องถิ่น" ที่เป็นความร่วมมือ (MOU) ระหว่างมหาวิทยาลัยมหาสารคามและสกว.ฝ่ายวิจัยท้องถิ่น จำนวน 5 โครงการ และการวิจัยผ่านโครงการบริการวิชาการสังคม หรือ โครงการหนึ่งหลักสูตรหนึ่งชุมชน ซึ่งเน้นกระบวนการของการเรียนรู้คู่บริการ (Service learning) เรียนรู้ร่วมกัน เรียนรู้ผ่านการลงมือทำ (learning by doing) ร่วมกันระหว่าง มหาวิทยาลัยกับชุมชน


กระบวนเรียนรู้ดังกล่าว ทีมวิจัยและคณะกรรมการบริหารโครงการหนึ่งหลักสูตรหนึ่งชุมชนได้ออกแบบให้ พี่เลี้ยง เป็นระบบและกลไกหลักในการ หนุนเสริม การปฏิบัติงานของอาจารย์ นิสิต หรือแม้แต่ชาวบ้าน ทั้งในเวทีการดำเนินงานในชุมชน และในเวทีการดำเนินการในมหาวิทยาลัย

พี่เลี้ยงดังกล่าวนี้ ประกอบด้วยคุณสมบัติสำคัญๆ หลายประการ อาทิ มีประสบการณ์ด้านกระบวนการวิจัยเพื่อท้องถิ่น (CBR) ด้านกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมกับชุมชน ด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ด้านการจัดการความรู้ ด้านการสื่อสารสร้างพลัง และการมีคุณสมบัติแห่งการเป็น กระบวนกร (Facilitator) ซึ่งโดยหลักแล้ว ทั้งหมดล้วนเคยผ่านงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นมาแล้วทั้งสิ้น



แต่จากสภาพความเป็นจริงที่ค้นพบจากการดำเนินงาน ข้อจำกัดของเวลาที่ยึดโยงอยู่กับภารกิจการเรียนการสอน หรือแม้แต่ห้วงเวลาที่ไม่สอดผสานกันอย่างลงตัวระหว่างนักวิชาการกับชุมชน จึงกลายเป็นข้อจำกัดหนึ่งที่ทำให้กลุ่ม พี่เลี้ยง ไม่สามารถหนุนเสริมกระบวนการเรียนรู้ในพื้นที่ร่วมกับอาจารย์ นิสิตและชาวบ้านได้อย่างเต็มกำลัง

ข้อจำกัดเช่นนี้ จึงก่อให้เกิดแนวคิดของการสร้าง พี่เลี้ยงแถวสอง ขึ้นมาใน "ระยะกลางน้ำ" เพื่อรองรับการขับเคลื่อนของพี่เลี้ยงทั้งหมดที่มีอยู่ ซึ่งพี่เลี้ยงแถวสองที่ว่านี้ล้วนถูกคัดเลือกและเปิดรับสมัครจากบุคลากรในสังกัดกองส่งเสริมการวิจัยและบริการวิชาการ อันเป็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับ ระบบ การวิจัยและการบริการวิชาการของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม

แต่อย่างไรก็ดี การได้มาซึ่งพี่เลี้ยงแถวสองนั้น ยังคงประสบปัญหาเรื่องขาดความรู้ ความเข้าใจ ขาดประสบการณ์และทักษะต่างๆ ของการเป็นพี่เลี้ยง โดยเฉพาะในประเด็นของการวิจัยเพื่อท้องถิ่น (CBR) นั้นถือว่ากลุ่มพี่เลี้ยงแถวสองยังขาดองค์ความรู้อย่างเห็นได้ชัด



ด้วยเหตุนี้ทีมวิจัยและคณะทำงานฯ จึงจัดกระบวน ติดอาวุธทางความคิด เพื่อหนุนเสริมให้พี่เลี้ยงแถวสองมีองค์ความรู้ในศาสตร์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น เพื่อให้สามารถเป็นส่วนหนึ่งในระบบและกลไกการหนุนเสริมให้เกิดพลังแห่งการเรียนรู้อย่างมีพลังร่วมกันในทุกภาคฝ่าย ซึ่งพี่เลี้ยงแถวสองจะทำหน้าที่เป็นเสมือน ลูกทีม ของ พี่เลี้ยง ในแต่ละสาย (สายมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์,สายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี,สายวิทยาศาสตร์สุขภาพ)


หรือแม้แต่บ่อยครั้งก็ทำหน้าที่แทนพี่เลี้ยงอย่างเสร็จสรรพ นับตั้งแต่การให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการการพัฒนาโจทย์ การเลือกพื้นที่ การจัดทำสื่อ การบริหารโครงการและงบประมาณ การถอดบทเรียน การจัดกิจกรรมเรียนรู้ร่วมกับชุมชน ฯลฯ



ในทางกระบวนการติดอาวุธทางความคิดให้กับกลุ่มพี่เลี้ยงแถวสองนั้น ประกอบด้วยประเด็นสำคัญๆ คือ การใช้เครื่องมือเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลชุมชน การจัดการความรู้ เทคนิคการถอดบทเรียน การเป็นวิทยากรกระบวนการ เทคนิคการสนทนากลุ่มย่อย (Focus group) หรือแม้แต่การอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อฝึกทักษะเกี่ยวกับการฝังอย่างฝังลึก (Deep Listening) สุนทรียะการสนทนา (Dialogue) การจดบันทึก (Note Taker) การใช้ Mind mapping และการเล่าเรื่อง หรือการเขียนเรื่องเล่าเร้าพลัง (Story telling) เทคนิคการถ่ายภาพ หรือการจัดการความรู้ผ่านภาพถ่าย



เหนือสิ่งอื่นใดพบว่ากระบวนการติดอาวุธทางความคิดดังกล่าว เป็นกระบวนการอันสำคัญที่ช่วยให้กลุ่มพี่เลี้ยงได้เคลื่อนวงจรแห่งการเรียนรู้ไปอย่างไม่สะดุดและขาดห้วงจนเป็นช่องว่างระหว่างการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างมหาวิทยาลัยกับชุมชน -


อีกทั้งยังเป็นการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรประจำของมหาวิทยาลัยสู่การเป็น มหาวิทยาลัยเพื่อชุมชน หรือพัฒนาคนและงานเป็น ชุมชนแห่งการเรียนรู้ (องค์กรแห่งการเรียนรู้) เพราะส่วนหนึ่งของบุคลากรที่เป็นพี่เลี้ยงแถวสอง ได้เกิดแรงบันดาลใจในการที่จะเรียนรู้อย่างไม่หยุดนิ่ง มีความมั่นใจในการทำหน้าที่ และพร้อมสำหรับการขยับตัวเองขึ้นสู่การเป็น นักวิจัยเพื่อท้องถิ่น ได้ในที่สุด

หมายเหตุ :

ส่วนหนึ่งจากข้อเขียนการใช้ประโยชน์จาการวิจัย (RE :
Research Exploitation) จากโครงการวิจัยแนวทางการพัฒนาระบบและกลไกหน่วยวิจัยเพื่อพัฒนาท้องถิ่นในมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ปี 2555)


หมายเลขบันทึก: 550016เขียนเมื่อ 2 ตุลาคม 2013 09:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2014 10:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

เยี่ยมมากมาแจ้งว่าได้รับหนังสือแล้ว

สุดยอดมาก

มีโอกาสทำหนังสือจะติดต่อคุณแผ่นดิน คนแรกครับ

ถ้ามหาวิทยาลัยเป็นพี่เลี้ยงชุมชม ทำงานร่วมกับชุมชน จะดำเนินต่อไปได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืนครับ

อันนี้

กระบวนกร (Facilitation)

 

น่าจะแก้เป็น

Facilitator ครับ

เอามาแจมด้วย

http://www.gotoknow.org/posts/423702

http://www.gotoknow.org/posts/423435

ชื่นชมการขับเคลื่อน ..การเป็น มหาวิทยาลัยเพื่อชุมชน หรือพัฒนาคนและงานเป็น ชุมชนแห่งการเรียนรู้ (องค์กรแห่งการเรียนรู้) เช่นนี้มากค่ะ

ชื่นชมผลงานของอาจารย์ และคณะมาก ๆ จ้ะ

เยี่ยมมาก  ต้องหาโอกาสไปเยี่ยมนะคะ

เอาหนังสือ "ความรัก  ความคิดถึง  เป็นส่วนหนึ่งของชีวิต"  ไปให้จารึกลายมือด้วย  อิ อิ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท