อาย


อาย

   อยากตรวจมะเร็งปากมดลูก  แต่ยังไม่ได้ตรวจเลย เพราะ.....นี่เป็นความคิดเห็นส่วนใหญ่ที่ฉันได้รับรู้จากผู้หญิงที่ฉันรู้จัก และสตรีกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่รับผิดชอบที่ฉันทำงานอยู่(ศูนย์สุขภาพชุมชนเครือข่ายโรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก 25 แห่ง)แล้วจะทำอย่างไรดีล่ะ

  1. อาย (คำเดียวสั้น ๆ นี่แหละ แต่ทรงพลังมาก)
  • อายหมอ เพราะเป็นหมอที่รู้จักกัน โธ่ เคยเห็นหน้ากันทุกวันจะให้ตรวจได้อย่างไร
  • อายหมอผู้ชาย คิดดูสิ หมอสูติมีแต่หมอผู้ชายทั้งนั้น
  • ไม่รู้ล่ะ แต่มันอายก็แล้วกัน"ของรักของหวงของเค้า จะมาดูกันได้ง่าย ๆ ได้อย่างไร"
  • โดยเฉพาะคนโสดบางคนบอกว่า "ยอมตามซะดีกว่า ที่จะยอมตรวจ" (โธ่ ได้ยินมากะหูเต็ม ๆ )

    2.    กลัวเจ็บ เกิดจากความไม่เข้าใจอย่างถ่องแท้ถึงวิธีการตรวจ และคิดเอาเอง หรือฟังเขาเล่าว่า... 

     3.   ไม่ตระหนักถึงอันตราย ไม่มีเวลา ไม่มีอาการอะไรไม่ต้องตรวจหรอก "ก้อ แถวบ้านไม่เห็นใครตรวจเลย คงไม่เป็นไร" และ ฯลฯ

      นี่คือ โจทย์ ที่ยากมาก ๆ ที่ฉันเจอในตอนนั้น(ปี 2547) และไกล้หมดปีงบประมาณแล้วแต่ผลการคัดกรองได้เพียง 21 % กว่า ๆ ท้อออ ตอนนั้นจำได้ว่าเข้าพบและเล่าให้หัวหน้าฟัง และประโยคที่ฉันยังจำได้ถึงทุกวันนี้ คือ "คิดสิ ว่าน่าจะใช้วิธีใหน วิธีไหนก็ได้ที่เห็นสมควร และเมื่อทำเต็มที่แล้ว ไม่ได้ผลตามเป้าก็ไม่เป็นไรหรอก ขอให้มีเหตุผลและลองหาวิธีอื่นต่อไป" ฉันมีกำลังใจขึ้นมาก จึง

  1.  นัดประชุมเจ้าหน้าที่รับผิดชอบทำงานมะเร็งปากมดลูกของ PCU ทั้ง 25 แห่ง(มาประชุม 16 คนส่วนใหญ่เป็นเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบงานนี้อย่างไม่ค่อยเต็มใจ และย้ายมาใหม่) แต่ละแห่งคัดกรองไปได้เท่าไร พบปัญหาอะไรบ้าง ที่ตรวจได้จำนวนมากผ่านเกณฑ์ไม่มี ได้อุปสรรคปัญหามาเต็ม ๆ ได้แนวทางแก้ไขนี๊ดเดียว ที่เหลือ PM คิดเองก้อทำเองแล้วกัน 
  2. ในช่วงแรกจึงเป็นที่มาของแนวคิดการพัฒนารูปแบบการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกแบบเชิงรุกที่เหมาะกับบริบทพื้นที่ และเกิดนวัตกรรมต่าง ๆ ตามมา เช่น
  3. การคัดกรองแบบเคลื่อนที่ของ PCU อรัญญิก เพราะพื้นที่ห่างไกลมากเดินทางมาตรวจไม่สะดวก
  4. หน้ากากสวยช่วยให้หญิงไทยห่างไกลมะเร็งปากมดลูก ของ PCU บ้านกร่าง ใส่หน้ากากก่อนตรวจจะได้ไม่อาย
  5. การรวมเจ้าหน้าที่หรือการเอาแรงกัน เพื่อ
    1. จัดรณรงค์แล้วนัดสตรีกลุ่มเป้าหมายมาตรวจจำนวนมากจะได้มาเป็นเพื่อนกันลดความอาย และเมื่อตรวจแล้วไม่เจ็บจะได้บอกต่อกันได้อย่างรวดเร็ว
    2. เจ้าหน้าที่มีน้อยจึงขอแรงเจ้าหน้าจาก PCU ข้างเคียงมาช่วยตรวจ
    3. ขอเจ้าหน้าที่จากทีมโรงพยาบาลหรือ PCU ข้างเคียงมาช่วยตรวจ แก้ปัญหาความอายเจ้าหน้าที่บ้านตนเอง
    4. จัดให้ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคและวิธีการตรวจ โดยใช้วิธีการเล่าเรื่องประกอบกับให้ดูภาพและของจริง เช่น  ภาพระยะต่าง ๆ ของโรค ,Model ระบบสืบพันธ์หญิง ,ปากเป็ด(speculum) ,ไม้พาย(spatula) ,slideสำหรับป้ายเซลล์ เป็นต้น
  • การสร้างแรงจูงใจด้วยของรางวัล คนมาตรวจจะได้รับแจก.....(แก้ว,เสื้อ,จับฉลากรางวัล)เป็นต้น
  • ให้อาสาสมัคร หรือแกนนำชุมชนติดตามกลุ่มเป้าหมายมาตรวจและเป็นที่มาของชมรมรวมใจต้านภัยมะเร็ง
  • ทุก PCU ต้องการให้ทีมโรงพยาบาล(PM) จัดตารางออกร่วมตรวจด้วย เพราะถ้าบอกว่าหมอจากโรงพยาบาลมา สตรีกลุ่มเป้าหมายจะมาตรวจเยอะ

     ทุก PCU มีหลากหลายรูปแบบและวิธีการ แต่จุดมุ่งหมายเดียวกัน ตอนนี้หน้าที่ของเรา(PM) นิเทศติดตาม สนับสนุน เพิ่มเติมส่วนที่ขาด กระตุ้นและให้กำลังใจ

       

 

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #ความอาย
หมายเลขบันทึก: 54970เขียนเมื่อ 17 ตุลาคม 2006 17:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 เมษายน 2012 01:32 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท