กังฟูมุสลิม


มุสลิม
กังฟูมุสลิม

เรียบเรียงโดย อัลฮิลาล

เป็น ที่รู้กันดีในประเทศจีนว่า ชาวหุย หรือ ชาวจีนมุสลิม เป็นกลุ่มชนที่อดทนและกล้าหาญอย่างยิ่ง พวกเขาจึงสามารถฟันฝ่าภยันตราย ข้ามน้ำข้ามทะเลจากคาบสมุทรอารเบีย แผ่นดินเปอร์เซียมาค้าขายยังจักรวรรดิจีนได้ เมื่อพวกเขาตั้งรกรากสืบลูกหลานในประเทศจีนแล้ว ศิลปะวัฒนธรรมของจีนอย่างหนึ่งที่ชาวหุยนิยมชมชอบเป็นพิเศษคือ ศิลปะการป้องกันตัวของจีนที่เรียกว่า กังฟู หรือ วูซู หรือ อู่ซู่ เช่น กังฟูประเภทซ่วยเชียว (Shuai Chiao หรือการกอดปล้ำแบบจีน), เผ่าฉวน (Pao Quan), ถ่งเป่ยฉวน (Tong Bei Quan), หลิวโห่ฉวน (Liu Ho Quan), ไท่ซูชางฉวน (Tai Tzu Chang Quan), ป่าจี่ฉวน (Baji Quan), ไผ่ฉั่วฉวน (Pi Qua Quan )
ชาวหุยพยายามฝึกปรือจนเป็นเลิศในด้านกังฟู และในที่สุดพวกเขาก็พัฒนาสไตล์กังฟูของตัวเองขึ้นมาจนโด่งดังถึงทุกวันนี้ เช่น ชาฉวน (Cha Quan), หัวฉวน (Hua Quan), ถ่นโถ่ย 10 ท่า (10 Routine Tan Tui หรือ Tom Toy), หลิวลู่ต้วนฉวน (Liu Lu Duan Quan), โถ่ยฉวน (Toi Quan), หย่งชานฉวน (Yong Chan Quan) ซึ่งสไตล์เหล่านี้ชาวหุยปรับปรุงมาจากวูซูดั้งเดิมต่างๆ ของทางเหนือ
ก่อน จะมีการคิดค้นอาวุธปืนขึ้นมา การสู้รบและป้องกันตัวในประเทศจีนจะใช้วิชากังฟูเป็นหลัก ผู้นำชาวหุยมักเรียกร้องให้ชาวหุยฝึกหัดกังฟูให้เชี่ยวชาญ พวกเขาถือว่าการฝึกกังฟูเป็นการ ฝึกตนเพื่อพระผู้เป็นเจ้าซึ่งช่วยให้ชาวหุยมีวินัยและกล้าหาญโดยเฉพาะพวกเขาต้องอยู่รอดให้ได้ในดิน แดนที่มิใช่มาตุภูมิของตนเอง

และจนกระทั่งทุกวันนี้ ในงานฉลอง 3 เทศกาลสำคัญของชาวหุยทั้งวันไบรัมเล็ก (หรือวันออกบวช หรือตรุษอิดิลฟิตรีย์) วันกุรบ่าน (หรือวันตรุษอิดิลอัดฮา) และวันเมาลิด ชาวหุยจะจัดการแข่งขันวูซู หรือไม่ก็แสดงวูซูโชว์ที่มัสยิดเสมอๆ

ชาว หุยเป็นนักสู้ที่ห้าวหาญ ในอดีตพวกเขาจำนวนมากรับราชการทหาร และสามารถไต่เต้าเป็นนายพลหรือแม่ทัพมากมาย และเช่นกันที่ชาวหุยจะจงรักภักดีต่อองค์จักรพรรดิอย่างที่สุด แม้พวกเขาจะเป็นลูกหลานชาวต่างชาติก็ตาม

ความจงรักภักดีของชาวหุยต่อจักรวรรดิจีน

หลัง จากกองทัพมองโกลเข้ายึดครองประเทศจีน ก่อตั้งราชวงศ์หยวน (ค.ศ.1279-1368) ชาวจีนฮั่นวางแผนโค่นล้มราชวงศ์ของชาวมองโกลหลายครั้ง และเป็น จูหยวนจาง ชาวนาผู้นำทัพชาวจีนขับไล่มองโกลออกไปจากแผ่นดินจีนได้ จูหยวนจางผู้เป็นปฐมจักรพรรดิราชวงศ์หมิงไม่เคยประกาศว่าพระองค์เป็นมุสลิ ม แต่แม่ทัพใกล้ชิดของพระองค์ทั้ง 6 คนเป็นมุสลิมแน่นอน ซึ่งได้แก่ ชาง อู้ชุน (Chang Yuchun), หู ต้าห่าย (Hu Dahai), หมู่ หยิง (Mu Ying), หลัน หยู่ (Lan Yu), เฟิง เซิง (Feng Sheng), และ ติง เต้อซิง (Ding Dexing) ซึ่งแม่ทัพทั้ง 6 คนเป็นปรมาจารย์วูซูชื่อดังของยุคนั้น แม่ทัพชางอู้ชุนเป็นผู้คิดค้นวูซูที่โด่งดังคือ ไค่ผิงเฉียงฟา (Kai Ping Qiang Fa) หรือการต่อสู้ด้วยทวน ยังคงสอนกันอยู่ในเมืองจีนจนกระทั่งทุกวันนี้ ส่วนแม่ทัพเฟิงเซิงมีผลงานโดดเด่นจนจูหยวนจางโปรดเกล้าให้เป็นมหาอำมาตย์เฟิงแห่งราชวงศ์ซ่ง

ปรมาจารย์กังฟูมุสลิมที่โด่งดังอีกคนหนึ่งก็คือ เจิ้งเหอ ยอดแม่ทัพเรือแห่งราชวงศ์หมิง

ช่วง บ้านเมืองวุ่นวายในปลายราชวงศ์หมิง (ค.ศ.1368-1644) เมื่อชาวแมนจูเข้ารุกรานจักรวรรดิจีนระลอกแล้วระลอกเล่า และท้ายที่สุดเข้ายึดครองแผ่นดินจีนได้ ชาวหุยได้ต่อสู้เคียงบ่าเคียงไหล่กับชาวฮั่นในการต่อต้านราชวงศ์ชิงหลายคร ั้ง หม่า โส่วหยิง (Ma Shou Ying) ชาวหุยมุสลิมร่วมมือกับ หลี่ ซี่เชิง (Li Zi Cheng หรือ King Cheng) ในการนำกองทัพชาวจีนซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวจีนมุสลิมต่อต้านกองทัพแมนจู หม่าถูกเรียกว่า เหล่าหุยหุย” (Lao Hui Hui) หรือ หุยอาวุโสและกองทหารของเขาถูกเรียกว่า กองทหารเหล่าหุยหุย” (Lao Hui Hui Battalion) แม้ช่วงที่แมนจูยึดครองประเทศจีนได้แล้ว ชาวหุยก็ไม่หยุดต่อต้านราชวงศ์แมนจูเพื่อฟื้นฟูราชวงศ์หมิง เพราะราชวงศ์หมิงเป็นราชวงศ์จีนแท้ๆ มิใช่ชาวต่างชาติที่มายึดครองเช่นชาวแมนจู

ในปีค.ศ.1862 ตู้ เหวินสิ่ว (Di Wen Xiu) เคยนำทัพชาวหุยในมณฑลยูนนานต่อต้านจักรพรรดิถ่งจื่อ (Tong Zhi) แห่งราชวงศ์ชิง และเขาสามารถยึดพื้นที่แถบตะวันตกเฉียงเหนือ และตะวันตกเฉียงใต้ได้มากมาย

และเพราะการที่ชาวหุยมีความจงรัก ภักดีต่อราชวงศ์จีนสูงเช่นนี้แหละ ตลอดสมัยราชวงศ์ชิง (ค.ศ.1644-1911) ชาวหุยจึงไม่ได้รับความปรานีจากแมนจูเลย หากชาวหุยแสดงให้เห็นเพียงนิดว่ากระด้างกระเดื่องต่อผู้ปกครองชาวแมนจู พวกเขาจะถูกแมนจูปราบอย่างเ***้ยมโหด ชาวหุยยังถูกห้ามมิให้เดินไปไหนด้วยกันเกิน 3 คน ห้ามพกพาอาวุธ ส่วนชาวหุยคนใดประกอบอาชญากรรมแม้เพียงเล็กน้อยก็อาจโดนข้อหาหนักถึงขั้นเ ป็นกบฏต่อแผ่นดิน และถูกตราหน้าว่าเป็น หุยกบฏการลงโทษเช่นนี้ก็เพื่อต้องการให้ชาวหุยได้รับความอับอาย ในขณะเดียวกันก็เพื่อข่มขู่มิให้พวกเขาลุกฮือขึ้นมาต่อต้านราชวงศ์ชิงอีก แต่การปราบปรามดังกล่าวกลับทำให้ชาวหุยมีความมุ่งมั่นยิ่งกว่าเดิม!

บทบาทของชาวหุยต่อกังฟูจีน

Hui Contribution to Chinese Kung Fu

หลัง ราชวงศ์หมิงล่มสลายไปแล้ว ราชวงศ์ชิงห้ามชาวหุยฝึกกังฟูอีก แต่นั่นกลับทำให้ปรมาจารย์กังฟูมุสลิมแอบพัฒนากังฟูแบบฉบับของตนเอง จนกระทั่งกังฟูมุสลิมยืนยงอยู่บนแผ่นดินจีนจนถึงทุกวันนี้

ใน หนังสือ จี่เซียว สินซู (Jixiao Xinshu) เขียนโดย ฉี จี่กวาง (Qi Ji Guang) นักกลยุทธ์การทหารสมัยหมิงระบุว่า สำนักกังฟูที่โดดเด่นด้านการใช้ทวนมีอยู่ 3 สำนัก ได้แก่ สำนักทวนตระกูลหยาง (Yang) ตระกูลหม่า (Ma) และตระกูลซา (Sha) ซึ่งทั้งตระกูลหม่าและตระกูลซาเป็นชาวหุยมุสลิม ทุกวันนี้ลูกหลานของทั้งสองตระกูลยังคงสืบทอดตำราทวนต้นตำรับของตระกูล

นอก จากนี้ หุยหุยซี่ป่าโซ่ว” (Hui Hui Shi ba Zou หรือ การฝึกการต่อสู้ 18 หมัดมวยของชาวหุย) ยังขึ้นชื่อว่าเป็นการฝึกการต่อสู้ที่ดีที่สุด

กั่น เฟิง ชี (Gan Feng Chi) ผู้นำชื่อก้องในการต่อต้านราชวงศ์ชิงได้รวมการฝึก 18 หมัดมวยของชาวหุยไว้ในหนังสือดังของเขาชื่อ หัวฉวนซงเจี้ยงฟา (Hua Quan zong Jiang Fa หรือ การสนทนาเรื่องหมัดมวยท่าสวยงาม)

ปรมาจารย์วูซูชาวหุยชื่อดังมีจำนวนมากทีเดียว พวกเขาชนะการแข่งขันมากมาย และก็เก่งวูซูหลายๆ แบบ เช่น

หวัง ซี่ผิง (Wang Zi Ping ค.ศ.1881-1973) เป็นปรมาจารย์วูซูประเภท ชาฉวน (Cha Quan) เขาคว่ำคู่ต่อสู้ชาวต่างชาติในการแข่งขันชกมวยมานับไม่ถ้วนทั้งนักมวยชาวร ัสเซีย อเมริกัน ญี่ปุ่น และเยอรมนี โดยเฉพาะนักมวยชาวรัสเซียผู้ได้ฉายาว่า ชายผู้แข็งแกร่งที่สุดในโลกถูกหวังซี่ผิงคว่ำจนเสียมวยในการแข่งขันชกมวยที่เซ็นทรัลพาร์ค กรุงปักกิ่ง ปีค.ศ.1918

ปรมาจารย์หวังมีชื่อเล่นว่า หยอนอาน (Yon An) เป็นชาวหุยมุสลิมจากเมืองชางโจว มณฑลเหอเป่ย เขาเกิดในตระกูลวูซู ตอนเด็กๆ เขาเรียนวูซูจากญาติผู้พี่ ต่อมาศึกษาวูซูประเภท หัวฉวน (hua Quan) จาก ซา เป่าสิง (Sha Bao Xing) และ หม่า หยุนหลง (Ma Yun Long) และเรียนวูซูประเภทชาฉวนจาก หยาง หงสู่ (Yang Hong Xu) ต่อมาในปีค.ศ.1928 หลังจากมีการก่อตั้งสถาบันกลางศิลปะการป้องกันตัวแห่งประเทศจีน หวังซี่ผิงได้รับแต่งตั้งให้เป็นคณบดีของคณะเส้าหลิน ต่อมาเขาเป็นรองประธานสมาคมวูซูประเทศจีน

ในปีค.ศ.1960 หวังได้ติดตาม โจวเอินไหล นายกรัฐมนตรีจีนสมัยนั้นไปในการเยือนประเทศพม่า และหวังได้แสดงศิลปะการต่อสู้ของจีนในครั้งนั้นด้วย ซึ่งน่าทึ่งอย่างยิ่งกับความแข็งแกร่งของร่างกายในวัย 80 เช่นนั้น ความแข็งแกร่งของเขาทำให้หวังได้ชื่อว่าเป็น ราชาแห่งหมัดพันปอนด์เขาเป็นหนึ่งในยอดปรมาจารย์วูซูของจีนแห่งศตวรรษที่ 20

หม่า เฟิ่งถู่ (Ma Fengtu) เป็นปรมาจารย์วูซูชาวหุยอีกคนหนึ่ง เขาเป็นนายพลในกองทัพของ เฟิง ยู่เสียง (Feng Yuxiang) และเป็นบิดาของ หม่าเสียนต้า 1 ใน 4 ของ ต้วนระดับ 9 ของยุคปัจจุบัน ในปีค.ศ.1919 หม่าเฟิ่งถู่ได้ก่อตั้งสมาคมนักรบผู้รักชาติแห่งประเทศจีน

หม่า หยินถู่ (Ma Yintu) น้องชายของหม่าเฟิ่งถู่ ก็เป็นปรมาจารย์วูซูชาวหุยอีกคนหนึ่ง เขาชนะเลิศการแข่งขันวูซูแห่งชาติครั้งที่ 1 ในปีค.ศ.1929 หม่าหยินถู่เป็นอาจารย์ของ จ้าง เหวินกวาง (Zhang Wenguang) ยอดวูซูชาวหุยผู้ครองตำแหน่ง ต้วนระดับ 9 อีกคนหนึ่ง (ต้วนระดับ 9 หรือปรมาจารย์วูซูขั้นสูงสุดของจีนในปัจจุบันมีเพียง 4 คน)

จ้าง เหวินกวาง เป็นปรมาจารย์วูซูประเภทชาฉวน เขาชนะการข่งขันมานับไม่ถ้วน ในปีค.ศ.1936 เขาเป็นสมาชิกพิเศษในทีมวูซูจากประเทศจีนเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกค รั้งที่ 11 ซึ่งจ้างได้แสดงวูซูประเภทชาฉวนโชว์ด้วย ต่อมาจ้างเป็นรองประธานสมาคมวูซูแห่งประเทศจีน

แม้แต่วัดเส้า หลินก็ยังรับเอาวูซูประเภท ถ่นโถ่ย (Tun Tui หรือ Tom Toy) หรือ ขาสปริง (Spring Leg) ของชาวหุยมาให้นักเรียนวูซูฝึก เพื่อให้ใช้ขาได้คล่องแคล่ว นอกจากนี้แล้วโรงเรียนกังฟูทางเหนือและทางใต้ก็รับเอาวูซูถ่นโถ่ยของชาวหุ ยไปฝึกด้วย ในวงการกังฟูของจีนมักมีคำพูดติดปากว่าหากถ่นโถ่ยของคุณดีละก้อ กังฟูของคุณก็ต้องดีตามไปด้วย

กังฟู ถ่นโถ่ยของชาวหุยได้รับความนิยมไปทั่วประเทศจีน ทำให้เกิดคำพูดว่าจากนานจิงไปปักกิ่ง กังฟูที่ใช้ขาช่วงล่างได้ดีที่สุดต้องเป็นพวกหุยมุสลิมเท่านั้นทั้งกังฟูประเภทชาฉวนและหัวฉวนที่โรงเรียนกังฟูประเภทหมัดยาวของทางเหนือช อบฝึกกันนั้นมาจากการพัฒนาของชาวหุยทั้งสิ้น กังฟูอีกหลายประเภทที่พัฒนาโดยชาวหุยได้แก่

ป่าจีฉวน (Ba Ji Quan กังฟู 8 แผนผัง) สืบทอดมาโดย อู๋จง (Wu Zhong) ยอดกังฟูมุสลิมอีกคนหนึ่ง
หลิวเหอ (Liu He ทวนพันธมิตรทั้ง 6)
หลิวเหอฉวน (Liu He Quan)
เหอเป่ยสิ่งฉวน (Hebei Xing I Quan)
ถ่งเป่ยฉวน (Tong Bei Quan)
ไผ่ฉัวฉวน (Pi Qua Quan)
หลิวเหอป่าฟา (Liu He Ba Fa)
อย่างไรก็ตาม กำเนิดของกังฟูประเภท ชา-หัวฉวน และถ่นโถ่ย ยังมีทั้งความขัดแย้งและความคล้ายคลึงกันอยู่บ้าง กำเนิดของกังฟูประเภทชาและหัว

The Origin of the Cha and Hua Style

จาก บันทึกของตระกูลชา กังฟูชาฉวนได้รับความนิยมสูงและเป็นศิลปะการต่อสู้ของทางเหนือของจีนที่เก ่าแก่มากทีเดียว กังฟูชาฉวนถือกำเนิดขึ้นในยุคเดียวกับที่เส้าหลินเริ่มพัฒนาขึ้นมา กังฟูชาฉวนเน้นเรื่องความไว การเคลื่อนไหวที่คล่องแคล่ว สามารถหยุดลงอย่างฉับพลันทันที และแน่นิ่งอยู่ในท่านั้น ผู้ฝึกกังฟูท่านี้ต้อง วูบหนึ่งเคลื่อนไปคล้ายลมพัดไหว อีกวูบหนึ่งตรึงกับที่แน่นิ่ง

ชาฉวนถือกำเนิดขึ้นมาในสมัย ราชวงศ์ถัง (ค.ศ.618-907) เรื่องมีอยู่ว่า พระจักรพรรดิได้ส่งกองทัพไปยังภาคตะวันออกเพื่อขับไล่ผู้รุกรานจากต่างแดน เมื่อกองทัพเคลื่อนถึงเมืองกวานเสียน (Guanxian ปัจจุบันอยู่ในมณฑลซันตง) นายพลคนหนึ่งซึ่งเป็นชาวหุยมุสลิมชื่อว่า หัว ซงฉี (Hua Zong Qi) เกิดบาดเจ็บขึ้นมา เขาจึงต้องพักรักษาตัวอยู่ที่นั่น ในขณะที่กองทัพยังคงมุ่งหน้าต่อไป หัวซงฉีได้รับการดูแลรักษาพยาบาลของชาวนาในหมู่บ้าน เมื่อหายป่วยดีแล้ว นายพลหัวจึงตอบแทนชาวบ้านเหล่านั้นด้วยการสอนกังฟูให้ หัวเรียกกังฟูประเภทนี้ว่า เจี้ยนซี่ฉวน (Jianzi Quan หรือ Framed Boxing)

ผู้คนชื่นชอบความสามารถด้านวูซูของนายพลหัวมาก เลยมาสมัครเป็นสาวกฝึกกังฟูกันมากมาย ต่อมาชั้นเรียนกังฟูของนายพลหัวชักจะขยายใหญ่โตขึ้นเรื่อยๆ ท่านนายพลเลยให้ ชาหยวนอี้ (Cha Yuan Yi) ศิษย์เอกของท่านเดินทางมาจากบ้านเกิดเพื่อมาช่วยสอนด้วย ชาหยวนอี้ก็เป็นยอดวูซู แต่เจี้ยนซี่ฉวนของเขาแตกต่างจากของนายพลหัวเล็กน้อย แบบนายพลหัวจะเคลื่อนไหวเยอะมากเลยถูกเรียกว่า ต้าเจี่ยฉวน (Da Jia Quan หรือ Big Fram Boxing) ในขณะที่แบบของชาหยวนอี้จะเร็วและเคลื่อนไหวอย่างรัดกุมกว่า เลยถูกเรียกว่า เสี้ยวเจี่ยฉวน (Xiao Jia Quan หรือ Small Frame Boxing) แต่ทั้งสองก็ถือเป็นวูซูประเภทเดียวกัน

ต่อมาชาวบ้านเลยเรียก กังฟูประเภทนี้เสียใหม่ว่า กังฟูชา-หัวแบบของนายพลหัวมี 4 ท่า (Routines หรือ Forms) ซึ่งมีการเคลื่อนไหวช้า ยาวนานและสมบูรณ์แบบ ชื่อของทั้ง 4 ท่า เรียกกันง่ายๆ ว่า หัวฉวนที่ 1-4 ส่วนแบบของชามี
คำสำคัญ (Tags): #บทความ
หมายเลขบันทึก: 54965เขียนเมื่อ 17 ตุลาคม 2006 17:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 พฤษภาคม 2012 16:50 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
ข้อมูลไม่น่าเชื่อถือ
อ้างอิงอะไรก็ไม่มี ร้อนวิชา สาระไม่เอาไหน เขียนแบบ Academic Masterbation
  • อะไรกัน อุตส่าห์เขียนมาให้อ่าน ยังบอกว่าไม่มีสาระ ทีดูหนังดูละครในทีวีมีแต่ตบตี และด่าทอก็ทนดูอยู่ได้เป็นชั่วโมง  นี่เป็นความรู้ใหม่ถึงจะไม่มีอ้างอิง แต่ถ้าหากถอดระหัสที่เขียนไว้มีศิลปะการป้องกันตัว คนจะเก่งได้ต้องมีครู และการฝึกปฏิบัติอย่างอดทนถึงจะชนะคู่ต่อสู้ได้ เปรียบเหมือนการต่อสู้ข้าศึก ถ้าไม่รู้กระบวนท่าไหนเลยจะชนะศัตรู   ..คนผิดมนุษย์ไม่มีศาสตร์และไม่มีศิลปอีกต่างหาก
ละเมอไปหรือเปล่า
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท