อยู่ที่กระดุมเม็ดแรก


แนวคิดปรัชญาด้านเศรษฐศาสตร์ในทัศนะของเศรษฐศาสตร์กระแสหลัก (ทุนนิยม) กับเศรษฐศาสตร์กระแสรอง (เศรษฐศาสตร์เชิงพุทธหรือเศรษฐกิจพอเพียง)มีความเข้าใจในสาระสำคัญตรงกันว่า..รัพยากรมีจำกัด แต่ ความต้องการของมนุษย์มีไม่จำกัด...

 

       ทุนนิยม : ความต้องการของมนุษย์เป็นเรื่องของปัจเจกชนซึ่งบริหารจัดการยาก...ดังนั้นจึงมุ่งเน้นที่การบริหารจัดการทรัพยากรโดยผ่าน เทคโนโลยี เป็นเบื้องแรก...

     เศรษฐศาสตร์เชิงพุทธหรือเศรษฐกิจพอเพียง : ความต้องการของมนุษย์แม้เป็นเรื่องยากแต่สามารถบริหารจัดการได้...ดังนั้นจึงมุ่งเน้นที่การบริหารจัดการความต้องการโดยผ่าน ความพอเพียง เป็นเบื้องแรก...

     

    เมื่อกระดุมเม็ดแรกที่ใช้กลัดตกต่างกัน...กระบวนการแก้ปัญหาก็เลยแตกต่างกัน...

       ทุนนิยม : ให้น้ำหนักที่การนำทรัพยกรที่มีอยู่อย่างจำกัดมาจัดสรรโดยผ่านกระบวนการทางด้านความก้าวหน้าของเทคโนโลยี...เพื่อตอบสนองอรรถประโยชน์ของผู้บริโภคที่มีอยู่อย่างไม่จำกัด...นัยเทคโนโลยีที่มีสามารถเอาชนะความจำกัดของทรัพยากร (ธรรมชาติ) ได้...

      เศรษฐศาสตร์เชิงพุทธหรือเศรษฐกิจพอเพียง :ให้น้ำหนักที่การบริหารจัดการ ความต้องการ เพื่อส่งผ่านไปยังการบริโภคสินค้าด้วยปัญญา...โดยเพ่งที่การแยกแยะคุณค่าแท้ (เทียม) ของสินค้าที่นำมาบริโภค...เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ตัวเองสูงสุด...ไม่ใช่เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของตัวเองสูงสุด...

 

        ความต้องการของมนุษย์ไม่มีที่สิ้นสุดตราบเท่าอายุขัย วันนี้อยากได้สิ่งนี้ วันต่อไปอยากได้สิ่งนั้น เป็นวัฏจักรหมุนเวียนอยู่ในวังวนแห่งความอยากนี้ ถึงแม้ว่า ความอยากจะเป็นเรื่องที่ยากแก่การควบคุมของมนุษย์ปุถุชน แต่สิ่งที่สำคัญก็คือ เราต้องรู้เท่าทันในกิเลสเพื่อนำพาไปสู่การบริหารจัดการความอยากให้อยู่ในระดับที่พอประมาณ สมเหตุสมผล และสมดุลกับชีวิตของตัวเอง เพื่อก้าวให้ข้ามพ้นผ่านซึ่งกับดักแห่ง ลัทธิบริโภคนิยมที่เชี่ยวกรากอยู่ในภาวะปัจจุบันนี้

 

        ท่านโมฮันดาส คานธี (Mohandas Gandhi, ค.ศ. 1869–1948) ซึ่งได้รับการยกย่องให้เป็น มหาตมะ (Mahatma)หรือบิดาของชาติอินเดีย ท่านได้กล่าวอมตะวาจา...

 

There is a sufficiency in the world for man's need but not for man's greed.”

หรือ

ทรัพยากรในโลกมีเพียงพอต่อคนทั้งโลก...แต่ไม่เพียงพอต่อคนโลภเพียงคนเดียว

 

  ท้ายสุดก็อยู่ที่เรา...จะเลือกกลัดกระดุมเม็ดไหน...    

 

 

หมายเลขบันทึก: 549231เขียนเมื่อ 25 กันยายน 2013 09:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 กันยายน 2013 09:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

- การใช้ชีวิต อยู่ในเมืองหลวง ท่ามกลาง กระแสทุนนิยม  ... "เศรษฐศาสตร์เชิงพุทธ" ช่วยได้มากทีเดียวค่ะ

ขอบคุณ บันทึกคุณภาพค่ะ

ขอบคุณบันทึกดีๆครับ

บางทีไม่มีกระดุมให้กลัดด้วยครับ เป็นเชือกผูก เป็นซิป...

ให้เราเลือกมากกว่ากระดุมอีก...

สังคม..มนุษย์..เวลานี้..(กลัดกระดุม ในที่มืด)..ผลคือ..กลัดกระดุมเขย่ง..เจ้าค่ะ..(อิอิ)

-สวัีสดีครับ...

-ความต้องการของคนเราไม่มีที่ิ้สิ้นสุดจริงๆ ครับ

-ขอบคุณครับ..

ขอบคุณ : อาจารย์Joy คุณพ. แจ่มจำรัส คุณยายธี และคุณเพชรน้ำหนึ่ง มากครับสำหรับการแวะมาให้กำลังใจและฝากข้อคิดดี ๆ 

ขอบคุณ : ทุกท่านที่ส่งกำลังใจผ่านทางดอกไม้มากครับ

อยู่อย่างพอเพียง..เป็นสุขแบบเพียงพอ..ขอเพียงใจใฝ่สงบร่มเย็นนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท