ครูวาส
นางสาว ภัทรนันท์ เพิ่มพูล ครูวาส เพิ่มพูล

ประวัติศาสตร์ชุมชนบ้านเขานางสางหัว


เขานางสางหัว

20130922204013.pptx20130922211009.doc 

ประวัติชุมชนเขานางสางหัว

ชุมชนเขานางสางหัว อ.เลาขวัญ จ.กาญจนบุรี ตั้งอยู่เชิงเขานางสางหัว ริมลำห้วยอันเป็นลำน้ำสาขาของคลองหมื่นเทพสันนิษฐานว่า มีผู้คนอยู่อาศัยในชุมชน 2 ยุคสมัยคือ ยุคก่อนประวัติศาสตร์ และยุคประวัติศาสตร์

 

 ยุคก่อนประวัติศาสตร์

 

ชุมชนเขานางฯ เป็นที่ตั้งถิ่นฐานของผู้คนในสมัยก่อนประวัติศาสตร์อายุมากกว่า2500 ปี มีหลักฐานสำคัญคือพบเครื่องมือขวานหิน และเครื่องมือหินกะเทาะ กระจัดกระจายอยู่ในพื้นที่

 

ชุมชนเขานางฯ ตั้งอยู่บนเส้นทางการค้าโบราณเชื่อมฝั่งทะเลจีนใต้ไปออกมหาสมุทรอินเดีย ทิศเหนือเป็นที่ตั้งของบ้านโป่งคอม บ้านพุน้ำร้อน อ.ด่านช้าง จ.สุพรรณบุรี ส่วนทิศใต้เป็นที่ตั้งของบ้านดอนตาเพชร จ.กาญจนบุรี ซึ่งทั้งสองแห่งได้พบหลักฐานที่ทำให้ระบุได้ว่าเป็นเส้นทางการค้าโบราณดังกล่าว

 

ในยุคนี้ผู้คนในชุมชนจะนับถือสิ่งศักดิ์สิทธิ์เหนือธรรมชาติเพราะพุทธศาสนายังไม่เข้ามาถึงดินแดนแถบนี้ นักประวัติศาสตร์เชื่อว่า ผู้หญิงจะมีบทบาทเป็นผู้นำทางจิตวิญญาณเห็นได้จากการตั้งชื่อลำน้ำขึ้นต้นว่า “แม่” (แม่น้ำ) ตั้งชื่อภูเขาขึ้นต้นว่า “นาง” เช่น เขานางบวช เขานมนาง เขานางสางหัว ฯลฯ

ยุคประวัติศาสตร์

            ในสมัยทวารวดี (หลัง พ.ศ.1000) เส้นทางการค้าทางทะเลจีน-อินเดียได้เปลี่ยนแปลงไปทำให้ผู้คนเคลื่อนย้ายไปตั้งถิ่นฐานใกล้ลำน้ำท่าจีน-จระเข้สามพันมากขึ้น ชุมชนเขานางฯ คงร้างไปในช่วงเวลานี้

            ในสมัยลพบุรีตอนปลาย(หลัง พ.ศ.1700 – 1800) มีผู้คนมาตั้งหลักแหล่งอีกครั้ง เพื่อฟื้นฟูเส้นทางทรัพยากรแร่ธาตุและของป่าที่มีอยู่สำหรับใช้ส่งออกไปยังหัวเมืองต่างๆด้วยพบหลักฐานว่ามีชุมทางการค้าใหญ่เกิดขึ้นในบริเวณใกล้เคียงคือบ้านหนองเรือ ที่ขุดพบพระนาคปรกสำริด พระพุทธรูปปางประทานอภัยสำริด พระอุมาสำริด ฯลฯ

ในสมัยอยุธยา (หลัง พ.ศ. 1900 - 2300) ชุมชนมีความเจริญ มีผู้คนมาอยู่อาศัยเพิ่มขึ้น ด้วยพบเศษภาชนะดินเผากระจัดกระจายอยู่ในพื้นที่นอกจากนี้ ยังมีศาสนสถานสำคัญในบริเวณใกล้เคียงกันคือ วัดโบสถ์เก่าจิกด่านซึ่งเป็นวัดในสมัยอยุธยาตอนต้น

             ชุมชนเขานางฯ น่าจะร้างไปในช่วงสงครามเสียกรุงศรีอยุธยา ครั้งที่ 2

              ชุมชนเขานางฯ ยังมีตำนานกล่าวถึงนางผู้หนึ่ง ต่อมาเรียกว่า พระนางกาญจนารี(พระนางสางหัว)เล่าว่า พระนางฯ เป็นลูกหลานพญาลิไทยในราชวงศ์พระร่วง ได้สมรสกับแม่ทัพนายกองในราชวงศ์สุวรรณภูมิ พระนางฯ มาประทับอยู่ที่เขานางสางหัวและนั่งแต่งตัวหวีผม (สางหัว) เพื่อรอคอยคนรักและสิ้นพระชนม์ ณ เขาลูกนี้

            โรงเรียนบ้านเขานางสางหัว คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และชุมชนบ้านเขานางสางหัว ได้ร่วมใจกันจัดสร้างองค์พระนางกาญจนารี  เพื่อเป็นอนุสรณ์สถาน ประวัติศาสตร์สำคัญให้สืบทอดเป็นประวัติสาสตร์ชุมชน ที่ไม่ควรลืม ได้ทำพิธีบวงสรวง  องค์พระนางฯ พร้อมสร้างศาลพระภูมิเจ้าที่ให้ใหม่ สร้างองค์พระไว้หน้าเสาธง ในวันที่     23  มิถุนายน  2556  ที่ผ่านมา

 

            ผู้รวบรวมข้อมูล ดร.ฉันทัส เพียรธรรม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร

โรงเรียนบ้านเขานางสางหัวและชุมชนบ้านเขานางสางหัว

 ภาพพิธีบวงสรวง องคืพระนางสางหัว ศาลพระภูมิปะจำโรงเรียน องค์พระหน้าเสาธง

 

 

                        นักเรียนร่วมงานสืบสานประวัติศาสตร์ชุมชน

                                               พิธีบวงสรวง

ทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้ผู้บริจาคที่   พระนางกาญจนารี และแม่ทัพนายกอง

หลักฐานทางประวัติศาสตร์

เศษหม้อแตก ลายคาดเชือก

 

หมายเลขบันทึก: 548998เขียนเมื่อ 22 กันยายน 2013 20:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 พฤศจิกายน 2013 22:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

กำลังอยากให้ ผอ เขียนเรื่องนี้พอดีเลย

สุดยอดมาก

เป็นประวัติศาสตร์ ชุมชนที่น่าสนใจมาก

เข้าใจว่าติดต่อค้าขายกับดอนตาเพชร แถวไร่ผมครับ

เป็นประวัติศาสตร์ที่ประจำใจนะครับ...เป็นความรัก...ที่รอคอย...แต่งดงามมากครับ...

เรียน ผอ. ประวัติชุมชน บอกกล่าวเล่าขานที่มาของชุมชน 

ชื่อนี้จึงเป็นที่สนใจของผม

นางสางหัวย่อมไม่ธรรมดา คือที่มาศูนย์กลางความเจริญ ทั้งการค้า ประเพณี ศาสนา และสังคมการเมือง

และภาษา"สาง" เป็นกริยา การหวีผม 

หวี มีหลายชนิด ผอ.ลองไล่เรียงประวัติหวีดู

หวี สาง

หวีเหนียด

หวีซอย

หวีเขาควาย

หวีเหน็บ .....เท่าที่นึกออกตอนนี้

ประวัตินาง กาญรนนารี ควรเป็นหลักสูตร เรื่องประวัติศาสตร์ท้องถิ่น

ขอบคุณ ผอ.ที่บันทึกมาให้เรียนรู้ตามคำเรียกร้อง

ด้วยจิตรคารวะ

เอาภาพกิจกรรมและเรื่องของโรงเรียนไว้ที่นี่ครับ

http://www.gotoknow.org/posts/549052

ประวัติศาสตร์ชุมชน บ้านเขานางสางหัว กำลังจะได้นักศึกษา ม.ราชภัฏกาญจนบุรีมาศึกษาเพิ่มเติม ซึ่งมี ม.ราชภัฏพระนครได้เคยร่วมสืบค้นประวัติมาแล้ว ขอบคุณที่ทุกๆๆ ท่านเห็นความสำคัญของชุมชนเขานางฯ จะได้สืบทอดให้ลูกหลานได้ทราบมากขึ้น

อยากทราบเส้นทาง ไปสักการะเขานางสางหัวครับ ขอขอบพระคุณล่วงหน้า ที่บอกเส้นทางให้ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท