ทฤษฎีนวัตกรรม


 

1.       ทฤษฎีนวัตกรรมแนววิศวกรรม (the  engineering theory of innovation)

2.       ทฤษฎีนวัตกรรมแนวการตลาด (the  market theory  of  innovation)

3.       ทฤษฎีนวัตกรรมห่วงโซ่ความสัมพันธ์ (the chain link theories of innovation)

4.       ทฤษฎีนวัตกรรมแนวเครือข่ายเทคโนโลยี (the technology network theory of innovation)

5.       ทฤษฎีนวัตกรรมแนวเครือข่ายทางสังคม (the social network theory of innovation)

 

ทฤษฎีนวัตกรรมแนววิศวกรรม ก่อนปี ค.ศ.1960 (the  engineering theory of innovation) เป็นยุคแรกมีรากฐานมาจากแนวทางการแก้ปัญหาทางวิศวกรรม  รวมไปถึงการปรับปรุงผลิตภัณฑ์ และขบวนการผลิต ทฤษฏีนวัตกรรมนี้หัวใจของการสร้างนวัตกรรม ขึ้นอยู่กับความสามารถในทางวิศวกรรมของนักวิจัย  อาศัยความรู้ ความสามารถทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ ของนักวิจัย,วิศวกร,นักวิทยาศาสตร์ เป็นการสร้างสิ่งประดิษฐ์ใหม่ขึ้นมาแทนสิ่งเก่า ตัวแปรที่มีผลต่อการสร้างนวัตกรรมล้วนเป็นสิ่งที่จับต้องได้ ได้แก่ ทุนทางการเงิน(Financial  capital)  ทุนด้านทรัพยากรมนุษย์ (human capital) ทฤษฏีนี้เชื่อว่าคนที่มีการศึกษา และได้รับการฝึกอบรมจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรม และทุนทางกายภาพ (physical  capital) ได้แก่ อาคาร สถานที่ อุปกรณ์  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม มีส่วนสำคัญในการสร้างสรรค์นวัตกรรม

ทฤษฎีนวัตกรรมแนวการตลาด (the  market theory  of  innovation)Schmookler 1966, Myers  and  Marquis  1969  แนวคิด ของทฤษฎีนี้เชื่อว่า ความสำเร็จของการสร้างสรรค์นวัตกรรมเกิดจากข้อมูลการตลาดมากกว่าการออกแบบผลิตภัณฑ์ ทฤษฎีนี้เชื่อว่า นวัตกรรมจะดีอย่างไรก็ตามถ้าหากไม่มีกลยุทธ์การตลาดนำก็ไม่สามารถประสบความสำเร็จได้

ทฤษฎีนวัตกรรมห่วงโซ่ความสัมพันธ์ (the chain link theories of innovation) (Mowery,D.C. and Rosenberg N.1978) แนวคิดทฤษฎีนี้อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างความต้องการของตลาดและความรู้ในการสร้างสรรค์นวัตกรรมไม่ได้มีลักษณะตรงไปตรงมา แต่มีกลไกซับซ้อนตั้งแต่การออกแบบทางวิศวกรรม  การผลิต  การพัฒนาเทคโนโลยี  การจัดซื้อวัตถุดิบ  การขาย ตลอดจนไปถึงการส่งมอบลูกค้า  และการบริการส่งผ่านข้อมูลความต้องการของตลาดจากลูกค้าผ่านผู้ผลิตไปสู่ผู้ส่งมอบวัตถุดิบ ดังนั้นนวัตกรรมที่ประสบความสำเร็จต้องอาศัยข้อมูลนวัตกรรม  ไม่ใช้ข้อมูลทางการตลาดเพียงอย่างเดียว

ทฤษฎีนวัตกรรมแนวเครือข่ายเทคโนโลยี (the technology network theory of innovation) (Lundvall 1988,1992,1995) ภายใต้ชื่อ “ระบบสังคม”ทฤษฎีนี้ อธิบายว่า องค์กร  สถาบันมีบทบาทในการสร้างสรรค์นวัตกรรม  ควรจะมีการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ความเข้มแข็งเกิดจากการเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับสถาบันภายนอก  มีการถ่ายทอดข้อมูลทางนวัตกรรม มีการเชื่อมโยงทางเทคนิค  เชื่อมโยงทางการตลาดและ เครือข่ายข้อมูลนวัตกรรม  นวัตกรรมเกิดจากการผสมผสานระหว่างทุนที่จับต้องได้กับทุนที่จับต้องไม่ได้ ซึ่งช่วยให้องค์กรมีขีดความสามารถในการดูดซับข้อมูลทางนวัตกรรมเพิ่มสูงขึ้น

ทฤษฎีนวัตกรรมแนวเครือข่ายทางสังคม (the social network theory of innovation) (Arundel et  al 1998, Cowan and Foray 1998) )ทฤษฎีนี้เชื่อว่านวัตกรรมจะสร้างสรรค์ขึ้นได้ต้องอาศัยความรู้จากทั้งภายในและภายนอก  การใช้เทคโนโลยีในการสื่อสารที่จะทำให้เกิดการแพร่กระจายนวัตกรรมไปอย่างรวดเร็วและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และแนวคิดนี้ทำให้องค์กรมีการปรับเปลี่ยนการทำงาน โดยวัดความสามารถขององค์กรจากปริมาณความหนาแน่นของความสัมพันธ์  ความร่วมมือของบุคลากรทั้งระบบ  ผู้สนับสนุนเงินทุน  สถาบันวิจัย  สถาบันการศึกษา  หน่วยงานพัฒนาในระดับภูมิภาค และอื่น ๆ ผ่านระบบเครือข่าย  และหน่วยงานย่อย  นวัตกรรมนี้จึงเป็นนวัตกรรมที่ผสมผสานของทุนที่จับต้องได้ และทุนที่จับต้องไม่ได้

จะเห็นได้ว่าแต่ละทฤษฎี จะมีความแตกต่างทางความคิดในช่วงของเวลาซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงของสังคม  นับจากทฤษฎีนวัตกรรมแนววิศวกรรม ซึ่งเป็นช่วงที่สังคมไม่มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีมากนัก การประดิษฐ์นวัตกรรมใหม่จึงเป็นลักษณะเพื่อการใช้งาน ลดการใช้แรงงานคน เพื่อประสิทธิภาพการทำงานเพิ่มขึ้น มีประโยชน์ทางด้านสังคมมากกว่าด้านเศรษฐกิจ  ต่อมามีวิวัฒนาการของสังคมเพิ่มมากขึ้น ทฤษฎีนวัตกรรมก็จะมีความซับซ้อนเพิ่มขึ้นด้วย เป็นใช้การตลาดเข้ามามีส่วนในการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์เพื่อตอบสนองทางด้านเศรษฐกิจมากขึ้นโดยเริ่มตั้งแต่ ทฤษฎีนวัตกรรมแนวการตลาด  และ ทฤษฎีนวัตกรรมห่วงโซ่ความสัมพันธ์ และเริ่มวิวัฒนาการของทฤษฎีแนวผสมผสานระหว่างสังคมและเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น เป็น ทฤษฎีนวัตกรรมแนวเครือข่ายเทคโนโลยี และ ทฤษฎีนวัตกรรมแนวเครือข่ายทางสังคม ตามสภาพการเปลี่ยนแปลงของสังคมเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคและผู้ใช้นวัตกรรมเพิ่มมากขึ้น

 

แหล่งที่มา

นภดล  เหลืองภิรมย์.(2555) การจัดการนวัตกรรม. กรุงเทพฯ  ดวงกมลพับลิชชิ่ง.  

www.utcc.ac.th/thesis/academicweek/2553/business/thanoot.pd

http://www.gotoknow.org/posts/492962

 

 

คำสำคัญ (Tags): #ทฤษฎีนวัตกรรม
หมายเลขบันทึก: 548948เขียนเมื่อ 22 กันยายน 2013 10:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 กันยายน 2013 10:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท