โครงการรักษ์สุขภาพ กลุ่มผู้มีสิทธิสวัสดิการข้าราชการ ปี 2556


กลุ่มข้าราชการ 80 ชีวิตเข้าร่วมกิจกรรมตามโครงการ

ทุกกิจกรรมได้รับประเมินสรุปว่าผู้เข้าร่วมโครงการทั้งผู้รับและผู้ให้ 

 จากการได้รับความรู้ความเข้าใจ ที่จะนำกลับไปป้องกันตัวเองนั้น 

มีผลการประเมินเป็นที่น่าพอใจยิ่งว่าเข้าใจแล้ว ต้องนำกลับไปใช้อย่างถูกต้องได้

และพร้อมรับการติดตามประเมินผลการปฏิบัติในอีก 3 เดือนข้างหน้า

ทุกกิจกรรมคุ้มค่า คุ้มเวลา คุ้มชีวิต และคุ้มงบประมาณของรัฐ

พิธีเปิดที่มีคุณค่าสร้างความมั่นใจในคุณภาพและวิสัยทัศน์การให้บริการของโรงพยาบาลสมุทรสาครแก่กลุ่มข้าราชการ

โดยนพ.บุณรักษ์ พึ่งเจษฎา รองผู้อำนวยการด้านพัฒนาระบบสุขภาพ ..โรงพยาบาลสมุทรสาคร

กล่าวถึงสาเหตุ แหล่ง แนวคิดการดูแลรักษาในอดีต การดูแลสุขภาพตนเองของกลุ่มโรคเรื้อรังที่ไม่ติดต่อ

ทั้งด้านความรู้ อารมณ์ จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณของผู้ป่วย และ

นโยบายคิดใหม่ทำใหม่ของโรงพยาบาลสมุทรสาครที่จะให้บริการโดยคำนึงถึงประโยชน์ของผู้ป่วยเป็นสำคัญ

กับการทำงานเชิงรุกที่จะให้การดูแลรักษาสุขภาพป้องกันก่อนเกิด ป้องปราบก่อนขยับ

เพื่อสุขภาพที่ดีของข้าราชการทุกสาขาวิชาชีพ โดยเฉพาะโรคเรื้อรังที่บั่นทอนสุขภาพกายใจ เศรษฐกิจ และคุณภาพการใช้ชีวิต

ของการทำงานของคนของรัฐให้มีสุขภาพดีเข้าถึงการรักษาได้รวดเร็ว การประสานต่อ ส่งต่อ และการเชื่อมโยงทั้งด้านการรักษา

และสิทธิการเบิกจะทำการแบบสายด่วน สยตรงถึงแพทย์ผู้เชี่ยวชาญแต่ละสาขา แต่ละโรค

ย้ายโอนสิทธิ์ให้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น ตัดขั้นตอนที่ซ้ำซ้อน เพื่อให้เกิดความรวดเร็ว และประหยัดงบของรัฐในการทำงาน

เพื่อประโยชน์สูงสุดต่อปู้ป่วย และความสุขของญาติผู้ป่วย

โดยจะจัดวางระบบการสื่อสารด้วยเทคโนโลยีที่มีคุณภาพ

พัฒนาระบบอิเล็คโทนิคที่ทันสมัย เพื่อให้ข้าราชการได้ใช้สิทธิ์อย่างรวดเร็ว 

การตรวจสุขภาพ พัฒนาให้เต็มรูปแบบทั้งเชิงรับและรุกเมื่อประธานเปิดการอบรมแล้ว

ก็เข้าสู่กิจกรรมสุนทรียสนทนาโรคเรื้อรัง กับบรรยากาศที่เป็นกันเอง 

ห้องประชุมระคนไปด้วยเสียงหัวเราะ เอาใจออกมาผึ่ง เอาความคิดออกมากาง

และดีท๊อดซ์ความคิด การยึดมั่นถือมั่น การปิดตัวเอง การตัดสินใจ กิจกรรมดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง

ในเวลา1.30 ชั่วโมงก่อนพักเบรค รวมทั้งการ ถอดใจ ถอดความคิดของข้าราชกลุ่มเสียง และป่วยเรื้อรังรุ่นที่ 1 นี้

การตัดสินใจหันมาฟังเสียงกายตัวเอง การฟังคำบอกเล่าเรื่องราวของชีวิตที่อยู่บนเส้นด้ายของโรคเรื้อรัง แบบ one by one

และแบบ Group สะท้อนให้ทุกคน ได้สติ ได้ใคร่ครวญ และตระหนักในคำมั่นสัญญา

ให้คำมั่นสัญญาว่า จะดูแลกายนี้ให้มีคุณภาพเพื่อชีวิตที่ดีและยืนยาวเพื่อจักได้สร้างความดียิ่งๆขึ้น

ตามมาติดๆด้วยคำบรรยายแบบมันถึงใจ โดนกันไปคนละหลายหมัด เป็นการบรรยายพร้อมยกตัวอย่างขอจริง และสาธิตให้เห็นกันจะๆ

ฮาตรึม..... เมื่อน้องล้านนักโภชนาการของรพ.สมุทรสาคร

กระเทาะนิสัยการกินออกมาให้ฟัง ไหมล่ะๆ ไหนบอกว่ากินนิดเดียว ฮามาก 

หมดเวลาพักกลางวันไม่มีใครบ่นหิวเลย แถมอาหารก็จัดได้ดีเหมาะกับโรค เสียดายไม่ได้เอากล้องถ่ายรูปเก็บภาพช่วงเช้ามาฝาก

อิ่มอาหารแล้วก็เชิญเข้าสู่บรรยากาศอโรมา....กลิ่นดอกปีป ในกิจกรรม.... ผ่อนพักตระหนักรู้

และรู้ตื่นด้วยโยคะบนที่นอนก่อนจะยืดเหยียดเพื่อสำรวจร่างกายและจิตใจ

แล้วตามมาด้วยกิจกรรมฐานความรู้คู่การสาธิต และลงมือทำกับกายแบบ กายใครกาย it เลยที่เดียว 

กิจกรรมกลุ่มนี้มี 4 ฐานค่ะช่วงนี้ฉันไม่มีงานก็เลยเข้าร่วมกิจกรรมกับกลุ่มข้าราชการและชอบมาก

ก็คือฐานหัวเราะของคุณเบญจวรรณ เนตรเขม

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

พักเบรคกันเล็กน้อย อะไรๆก็ดีหมด มาเสียตรงที่โรงแรมจัดเบรคแบบเพิ่มกิโลแคลอรี่ภาคบ่ายมากไปนิดเดียว

ก่อนเก็บฉากยังได้น้องฟา(กัญญาภัทร จันทร์หอม นักวิทยาศาสตร์การกีฬา ของโรงพยาบาล)

น้องฟามาชวนเต้าแอโรบิค กระตุ้นหัวใจทุกคนสนุกสนานจนลืมสังขารในเวลา 30 นาที และcool down

อีก ประมาณ 5 นาทีได้เหงื่อท่วมคืนนี้คงหลับเป็นตาย

5 นาทีสุดท้ายก่อนจากกัน ให้คำมั่นสัญญา อีก 3 เดือนมาเจอกัน 

และปิดฉากการแสดง "เจ้าย้อยเก็บฉากแบบไวมากด้วยฝีมือน้องๆจากฝ่ายปฐมภูมิ

ที่ทำหน้าที่คัดกรองแบบมือระวิงหน้าห้องประชุมแบบสุดๆๆไปเลย ในช่วงเช้าก่อนลงทะเบียน

และช่วงหลังรับประทานอาหาร ............เป็นทีมวัยรุ่นไฟแรง แข็งขันและอาสาช่วยดีมากๆ

การยกทีมงานมาบริการถึงที่..ชื่นใจที่ได้สัมผัสสังฆะแห่งความร่วมมือของทีมงานที่หลากหลายจากฝ่ายและแผนกต่างๆ

อย่างเป็นน้ำหนึ่งเดียวกัน ขอบคุณน้องแจ๋ม  ผู้รับผิดชอบโครงการกับโอกาสดีๆ

ที่ก่อให้เกิดสังฆะการเอาใจใส่สุขภาพตนเอง

ขอบคุณทุกท่านที่แวะมาอ่านค่ะ

น้องอ้อ น้องหนอ ผู้ไม่เคยทิ้งใจห่างจากผู้ร่วมงานก็แวะเวียนมาให้กำลังใจทีมงาน และช่วยอีกแรงก่อนขอตัวไปประชุม

ออกจากห้องประชุมใน โรงแรม น้องแจ๋มญาดากรุณามาส่งที่วัดป้อมฯให้ได้สวดมนต์ทำวัตรเย็น

เสร็จจากทำวัดเย็น เดินมาศาลากลาง เพื่อแวะเยี่ยมชมผลงานของเภสัชโบราณรุ่นพี่ ในงานแสดงสินค้าOTOPภาค

ถึงบ้าน ทุ่มเศษๆ 

พรุ่งนี้เป็นกลุ่มอสม.ในโครงการเดียวกัน ติดต่อกันไป 2 วันๆละ 1 รุ่น

ขอบคุณสังขารที่พร้อมใช้งาน

 

 

หมายเลขบันทึก: 548574เขียนเมื่อ 17 กันยายน 2013 22:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 กันยายน 2013 00:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

...โรงพยาบาลที่ดีมีคุณภาพ...คือโรงพยาบาลที่มีผู้ป่วยน้อยลง...ไม่ใช่เพิ่มมากขึ้นนะคะ

...โรงพยาบาลที่ดีมีคุณภาพ...คือโรงพยาบาลที่มีผู้ป่วยน้อยลง...ไม่ใช่เพิ่มมากขึ้นนะคะ

มาให้กำลังใจคนดี ขยันทำงานอย่างครูต้อยอีกครั้ง

สนับสนุนความเห็นอาจารย์   ดร. พจนา แย้มนัยนา

การที่คนไข้มาก่อนวันนัดก็สะท้อนว่าคุณภาพการดูแลเรายังไม่ดีพอ  และเป็นปัจจัยหนึ่งให้คนไข้มาก่อนนัดค่ะ

ให้กำลังใจครูนะครับ

รักษาสุขภาพนะครับครู

มาเป้นกำลังใจให้คนไฟแรง

เห็นด้วยกับความคิดของ  ดร. พจนา แย้มนัยนา และขอบคุณข้อคิดเห็นมากๆค่ะ

"โรงพยาบาลที่ดีผู้ป่วยต้องลดลงๆ ไม่ใช่มากขึ้นๆ"

สะท้อนให้เห็นการดูแลสุขภาพของชุมชน ที่สำคัญมาจากตัวของเราเอง 

เพราะร่างกายนี้เป็นของเรา เราต้องดูแลป้องกันตัวเองก่อน

เพราะเป็นโรคเรื้อรัง ที่เชื่อว่าเกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต

ผู้ป่วยแผนกนี้จึงมาก ในขณะที่บางแผนกมีคนไข้น้อยจนเหงา

แต่ก็อีกนั่นแหละค่ะ โรงพยาบาลของชาวสมุทรสาคร

ใจดีรับรักษา ดูแลสุขภาพให้คนที่หลั่งไหลกันมาจากบ้านใกล้เรื่อนเคียงจังหวัดก็มีจำนวนมากในแต่ละวัน

อีกทั้งประชากรในจังหวัดเองก็มี มีความหลากหลายทั้งด้านสังคม ประชากร เศรษฐกิจ

และเชื้อชาติรวมถึงประชากรแฝงทั้งต่างจังหวัดและต่างประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียง

เจ้าหน้าที่ต้องทำงานหนักมาก คู่ไปกับผู้ป่วยขาดความตระหนักในตนเอง

การนำผู้เสียงซึ่งหมายถึงยังไม่ป่วยมาปรับพฤติกรรมจึงเป็นวิถีสกัดกั้น และป้องกันไม่ให้เกิด

รวมถึงการตอกย้ำคนป่วยแล้วให้เร่งหันกลับมาดูแลสุขภาพตนเองอย่างจริงจัง

ขอบคุณค่ะน้อง แสงแห่งความดี

เจ้าหน้าที่ทุกคนต่างมุ่งมั่นเพื่อสุขภาพของประกรที่ล้นเมือง

อย่างกรณีตัวอย่างพม่าไทยตีกันในโรงงาน ปรากฏว่ามีคนไทยในโรงงานหนึ่งเพียง 100 คน แต่แรงงานพม่า 200 กว่า....!!!

 ครูหยิน

ขอบคุณค่ะ

คุณครูของสมุทรสาครก็งานหนักคงไม่น้อยไปกว่าจังหวัดชายแดนที่ต้องรองรับและให้ลูกหลานแรงงานต่างชาติได้เล่าเรียนทุกคน

ทั้งงบประมาณ เก้าอี้นั่ง โต๊ะเรียน และอื่นๆรวมทั้งคุณครูก็ต้องทำงานหนัก เพื่อมนุษยธรรมนำความเข้าใจ ความสุขมาสู่โลก หรือ

ไร....นี่ก็กระทบทั้งการศึกษา และการรักษาพยาบาลเช่นกัน หากมีการระบาดก็ทุกหมู่เหล่าก็กระทบ งานจิตอาสาของเราจึงเข้ามา

มีส่วนร่วมช่วยกันได้มากน้อยไม่เป็นไร แค่ช่วยกันยิ้มช่วยกันแบ่งปันที่นั่งบนรถเมล์ ช่วยกันหลบให้เดินสะดวกก็พอแล้ว ณ เวลานี้ค่ะ

เห็นด้วยค่ะ พี่คุณนุ๊ย  nui ที่กล่าวว่า"การที่คนไข้มาก่อนวันนัดก็สะท้อนว่าคุณภาพการดูแลเรายังไม่ดีพอ  และเป็นปัจจัยหนึ่งให้คนไข้มาก่อนนัดค่ะ"

ตอนนี้โรงพยาบาลเปิดนอกเวลา ผู้คนที่อยู่เขตติดต่อเมืองมหาชัยก็มีโอกาสเดินทางมารับบริการนอกเวลาราชการมากขึ้นนะคะ 

นี่เขาเรียกว่าเมืองใจดีรับไม่อั้น อิอิ

ขอบคุณดอกไม้งามกำลังใจจากทุกท่านที่แวะมาร่วมด้วยช่วยกันนะคะ

ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท