แนวทางการพัฒนากระบวนการไกล่เกลี่่ยศาลจังหวัดนครปฐม


1.  ชื่อโครงงาน  แนวทางการพัฒนากระบวนการไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาทศาลจังหวัดนครปฐม

2.  บุคคลผู้รับผิดชอบโครงการ     นางสาวณัฐสุดา  อุ่นบริบูรณ์

3.  อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน :  อาจารย์ ดร.รุ่งนภา  เพ่งรุ่งเรืองวงษ์  อาจารย์ที่ปรึกษา

    หมู่เรียน ExMPA 55.1 คณะรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม

4.  หลักการและเหตุผล

            เนื่องจากในปัจจุบันมีปัญหาและความขัดแย้งเกิดขึ้นในสังคมมากมายและสลับซับซ้อนขึ้นตามความเจริญของสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป ดังพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ให้

ไว้ในโอกาสที่ประธานศาลฎีกานำผู้พิพากษาประจำศาลยุติธรรมเข้าเฝ้าฯถวายสัตย์ปฏิญาณก่อนเข้ารับหน้าที่ ณ ท้องพระโรงศาลาเริง วังไกลกังวล เมื่อวันศุกร์ที่ 22 มีนาคม 2545 ตอนหนึ่งว่า   ในโลกนี้มีปัญหามากมาย เพราะว่าคนเขามีความคิดความเห็นแตกต่างกัน เมื่อมีความแตกต่างกัน ก็มีความขัดแย้ง เมื่อมีการขัดแย้งกัน บางทีก็ประสานกันได้ด้วยสติแต่บางทีก็อาจจะทะเลาะกันได้เมื่อมีการทะเลาะกันก็ต้องมีคนไกล่เกลี่ยไม่ให้เกิดไม่ให้กลายเป็นคดี ไม่ให้สถานการณ์ที่อันตรายเพราะถ้าปล่อยให้อันตรายเกิดขึ้น ประเทศชาติก็จะล้มได้ ฉะนั้นต้องถือเป็นหน้าที่สำคัญที่จะทำหน้าที่ในการไกล่เกลี่ย.......

 

 และปัจจุบันศาลได้นำเอากระบวนการยุติธรรมในการไกล่เกลี่ยระงับข้อพิพาทมาใช้เป็นแนวทางในการดำเนินกระบวนการยุติธรรมคู่ขนานมาปรับใช้เสริมกระบวนการยุติธรรมแบบเดิม

            ศาลยุติธรรมมีหน้าที่ในการอำนวยความยุติธรรมให้แก่ประชาชน โดยมีเป้าหมายสำคัญในการ          ยุติข้อพิพาทให้เป็นไปโดยสะดวก รวดเร็ว และเป็นธรรม นอกเหนือจากการสืบพยานพิพากษาคดีแล้ว          การไกล่เกลี่ยคดีในศาลยังเป็นวิธียุติข้อพิพาทอีกวิธีหนึ่งที่ศาลในประเทศต่าง ๆ เป็นจำนวนมากนำไปใช้ เนื่องจากเป็นวิธีการที่มีความสะดวก รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ   โดยคู่ความสามารถเจรจายุติข้อพิพาทได้ด้วยความพึงพอใจร่วมกัน ไม่มีฝ่ายใดแพ้หรือฝ่ายใดเป็นผู้ชนะ แต่ถือว่าคู่ความทั้งสองฝ่ายชนะด้วยกันทั้งคู่ (Win – Win Situation) และทั้งสองฝ่ายยังสามารถรักษาความสัมพันธ์ได้ต่อไป ซึ่งนับว่าเป็นวิธีการหนึ่งที่ช่วยก่อให้เกิดความสงบสุขในสังคม    ศาลยุติธรรมจึงได้มีนโยบายสำคัญให้ศาลยุติธรรมต่าง ๆ ทั่วประเทศ จัดให้มีระบบไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในศาลควบคู่ไปกับการพิจารณาคดีเพื่อเป็นทางเลือกให้แก่ประชาชนผู้มีอรรถคดีในการยุติข้อพิพาทด้วยตนเอง โดยมีผู้ประนีประนอมซึ่งเป็นคนกลางทำหน้าที่ช่วยเหลือคู่พิพาทในการเจรจาและหาข้อยุติร่วมกันมาใช้เพื่อแก้ไขปัญหาคดีล้นศาลและคนล้นคุกอีกทางหนึ่ง และได้กำหนดให้การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทเป็นนโยบายสำคัญในการบริหารจัดการคดีในศาล มีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการบริหารศาลยุติธรรม เพื่อพิจารณาระบบไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในศาล   ยังได้จัดตั้งศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทขึ้นในสำนักงานระงับข้อพิพาท สำนักงานศาลยุติธรรม    เพื่อดำเนินการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทโดยผู้ไกล่เกลี่ยซึ่งอาจเป็นผู้พิพากษา  และบุคคลภายนอกซึ่งได้ขึ้นบัญชีไว้กับศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาท อีกทั้งได้มอบหมายให้สำนักระงับข้อพิพาท สำนักงานศาลยุติธรรม รับผิดชอบในการส่งเสริมและสนับสนุนให้ศาลทั่วประเทศนำวิธีการไกเกลี่ยมาใช้ในการระงับข้อพิพาทควบคู่ไปกับการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีในศาล  โดยได้จัดหาบุคลากรและวัสดุครุภัณฑ์ต่าง ๆ   จัดสรรงบประมาณในการปรับปรุงห้องไกล่เกลี่ยในศาลและได้ออกระเบียบคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม ว่าด้วยการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. 2544  เพื่อให้ศาลสามารถแต่งตั้งผู้ประนีประนอมประจำศาล เพื่อช่วยดำเนินการไกล่เกลี่ยให้คู่ความได้ประนีประนอมกัน และสามารถตกลงกันได้ เนื่องจากการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททำให้คู่ความเกิดความพอใจ ทำให้เกิดความสงบสุขในสังคมได้

          ที่กล่าวมาข้างต้น ศาลยุติธรรมได้มีการส่งเสริม และสนับสนุนให้ศาลยุติธรรมต่าง ๆ ทั่วประเทศนำกระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทมาใช้ในศาล นอกจากการพิจารณาตามปกติของศาล การพิจารณาพิพากษาคดีของศาลนั้น มีปัจจัยหลายประการที่เป็นเหตุให้คดีล่าช้า ซึ่งส่งผลให้เกิดความเสียหายแก่คู่ความ ศาล และประเทศชาติในส่วนรวมด้วย  ในส่วนของศาลได้มีความพยายามแก้ไขปัญหาคดีล่าช้าในส่วนที่เกี่ยวข้องกับระบบงานศาล ด้วยการนำมาตรการต่าง ๆ มาใช้แล้วหลายประการ อาทิเช่น การปรับปรุงระบบงานธุรการเกี่ยวกับงานคดีให้มีประสิทธิภาพและลดขั้นตอนการในการทำงาน การเร่งรัดการพิจารณาในรูแบบต่าง ๆ การนำเอาเทคโนโลยีมาช่วยงานธุรการและพิจารณาพิพากษาคดี การเพิ่มจำนวนผู้พิพากษา การตั้งศาลเพิ่ม การตั้งศาลชำนัญพิเศษ และการปรับปรุงประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความ แต่ก็ไม่อาจแก้ไขปัญหาปริมาณคดีล้นศาลและความล่าข้าในการพิจารณาคดีได้เป็นผลสำเร็จ  แต่ก็ยังคงมีความพยายามที่จะแก้ไขปัญหาคดีล่าช้าต่อไป โดยศาลได้หาทางออกอีกด้านหนึ่งด้วยการจัดให้มีระบบไกล่เกลี่ยเพื่อยังให้เกิดการประนีประนอมยอมความในศาล พร้อมทั้งกระตุ้นและสนับสนุนคู่ความให้ใช้กระบวนการระงับข้อพิพาทโดยทางอื่น นอกจากการพิจารณาคดีตามปกติของศาลให้จริงจังมากขึ้น โดยจัดระบบงานในส่วนของศาลขึ้นรองรับ ซึ่งเปิดทางให้คู่กรณีพิพาทได้เลือกใช้วิธีการระงับข้อพิพาทของตนได้ ทั้งก่อนนำคดีขึ้นสู่ศาลและเมื่อฟ้องคดีต่อศาลแล้ว เช่น การใช้กระบวนการอนุญาโตตุลาการ การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทนอกศาล และการไกล่เกลี่ยเพื่อยังให้เกิดการประนีประนอมยอมความในศาล

สำหรับการแก้ปัญหาด้วยการนำเอาระบบการไกล่เกลี่ยเพื่อยังให้เกิดการประนีประนอมยอมความในศาลมาใช้ เป็นทางแก้ปัญหาประการหนึ่งที่ได้ผลดียิ่ง จึงมีการสนับสนุนให้นำไปใช้ในศาลทุกศาลอย่างจริงจัง ในการไกล่เกลี่ยคดีโดยระงับข้อพิพาทไม่ต้องมีขั้นตอนที่ยุ่งยากในการยุติข้อพิพาท ทั้งสามารถรักษาสัมพันธภาพระหว่างคู่พิพาทได้อีก ส่งผลให้ปริมาณคดีที่ขึ้นสู่ศาลลดลง ทำให้ศาลมีเวลาในการพิจารณาดำเนินคดีต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นเป็นจำนวนมากได้อย่างมีประสิทธิภาพ  หลังจากที่ได้มีการตั้งศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทขึ้นในศาล ยังพบปัญหาในเรื่อง การให้ความร่วมมือของคู่ความที่ยังไม่มั่นใจในระบบการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทเท่าที่ควร ผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะศึกษาแนวทางการพัฒนากระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทศาลจังหวัดนครปฐม โดยศึกษาว่ามีปัญหาและข้อเสนอแนะเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนากระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทของศาลจังหวัดนครปฐม ของศาลจังหวัดนครปฐม ให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น  ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อรัฐ ในการประหยัดงบประมาณ เวลา  ต่อสังคมลดความขัดแย้งและความบาดหมาง              ในสังคม ต่อคุณภาพชีวิตของประชาชน ที่สามารถรักษาสัมพันธภาพที่ดีต่อกันได้ต่อไป

5. วัตถุประสงค์

    .      1.  เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนากระบวนการไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาทศาลจังหวัด

              นครปฐม

          3. เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนากระบวนการไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาทศาลจังหวัด

              นครปฐม 

 6. เป้าหมายและขอบเขตของโครงการ

            เพื่อนำแนวทางมาพัฒนากระบวนการไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาทของศาลจังหวัด             

      นครปฐมให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น

7. ระยะเวลาและสถานที่ดำเนินโครงการ

            ระยะเวลาระหว่างเดือนกรกฎาคม 2556 - กรกฎาคม 2557

            สถานที่ส่วนไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาทศาลจังหวัดนครปฐม

8. แผนการปฏิบัติงาน

.              ระหว่างเดือนกรกฎาคม  2556  ถึงเดือนกรกฎาคม  2557 รวม 13  เดือน

 

เดือน

ก.ค.

ส.ค.

ก.ย.

ต.ค.

พ.ย.

ธ.ค.

ม.ค.

ก.พ.

มี.ค.

เม.ย.

พ.ค.

มิ.ย.

ก.ค.

การดำเนินการ

56

56

56

56

56

56

57

57

57

57

57

57

57

1) ทบทวนเอกสารเพื่อจัดทำ

โครงร่างการวิจัย

 

 

 

 

 

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #ไกล่เกลี่ย
หมายเลขบันทึก: 548572เขียนเมื่อ 17 กันยายน 2013 21:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 กันยายน 2013 21:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท