ความเชื่อมั่นในตนเอง และทักษะการแก้ปัญหาเป็นเรื่องสำคัญสำหรับแม่เลี้ยงเดี่ยวด้อยโอกาส


การหย่าร้างเป็นแรงกดดันในชีวิตที่สำคัญ และการเปลี่ยนแปลงชีวิตแม่เลี้ยงเดี่ยวด้อยโอกาสและบุตร นำไปสู่สถานการณ์ที่แม่เลี้ยงเดี่ยวด้อยโอกาสและบุตรมีความเสี่ยงของการพัฒนา

แม่เลี้ยงเดี่ยวด้อยโอกาส เป็นกลุ่มคนที่ยังขาดความเชื่อมั่นในตนเอง และทักษะการแก้ปัญหา (Rasi, et. al., 2013) ซึ่งเป็นคุณสมบัติสำคัญของคนทั่วไปที่จะต้องดำรงชีวิตในสังคม 

เมื่อมีความเชื่อมั่นในตนเองสูงขึ้น มีความรู้ความเข้าใจ มีทักษะในการเลี้ยงดูบุตร และมีความเป็นตัวของตัวเอง ก็จะส่งผลดีถึงการประกอบอาชีพที่สามารถปฏิบัติอาชีพของตนเองได้ดี เนื่องจากสาเหตุสำคัญอย่างหนึ่งของความล้มเหลวในการหางาน และการทำงานของแม่เลี้ยงเดี่ยวด้อยโอกาส คือ การมีปัญหาทางสุขภาพจิต ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อความเชื่อมั่นในตนเอง การเสริมสร้างความเชื่อมั่นในตนเองจะช่วยให้ลดปัญหาทางจิตของแม่เลี้ยงเดี่ยวด้อยโอกาสได้ และช่วยแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคมที่จะตามมาได้ด้วย (Jayakody R. และ Stauffer D., 2000)

การหย่าร้างเป็นแรงกดดันในชีวิตที่สำคัญ และการเปลี่ยนแปลงชีวิตแม่เลี้ยงเดี่ยวด้อยโอกาสและบุตร นำไปสู่สถานการณ์ที่แม่เลี้ยงเดี่ยวด้อยโอกาสและบุตรมีความเสี่ยงของการพัฒนา การแทรกแซงด้วยโปรแกรมเฉพาะเพื่อส่งเสริมการพึ่งตัวเอง ประสิทธิภาพตนเอง การจัดการตนเอง ทักษะส่วนบุคคล และทักษะการแก้ปัญหาทั้งการส่งเสริมในระยะสั้น และระยะยาวจะช่วยลดความเสี่ยงของการพัฒนา ลดปัญหาทางจิตใจที่จะมีผลกระทบเชิงลบในระยะยาว และเป็นผลดีต่อแม่เลี้ยงเดี่ยวด้อยโอกาสและบุตรหลังจากการหย่าร้าง (Stallman H. M., และ Sanders M. R., 2008) ซึ่งสอดคล้องกับการพัฒนาโปรแกรมการฝึกอบรมที่เน้นให้บุตร และแม่เลี้ยงเดี่ยวด้อยโอกาสได้พูดคุยกัน (Parents and Children Talking Together Program : PCTT)  เพื่อปรับปรุงทักษะการสื่อสารและทักษะการแก้ไขปัญหา ด้วยการปรับพฤติกรรมของแม่เลี้ยงเดี่ยวด้อยโอกาสผ่านการพูดคุยกัน โปรแกรมนี้ช่วยให้ทั้งแม่เลี้ยงเดี่ยวด้อยโอกาสและบุตรสามารถแก้ปัญหาในสถานการณ์ที่มีความขัดแย้งได้ (Leijten P., Overbeek G., และ Janssens J., 2012) 

เอาใจช่วยแม่เลี้ยงเดี่ยวด้อยโอกาส ครับ
 

หมายเลขบันทึก: 548522เขียนเมื่อ 17 กันยายน 2013 12:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 กันยายน 2013 12:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

  ปัญหานี้ ... ในสังคมไทยมีมาก นะคะ ท่านอาจารย์ .... ที่เพชรบุรี มีปัญหานี้เหมืนกันค่ะ ..... บางคนมีภาวะซึมเศร้า .... บางคนพบว่า มีความเครีดสะสมสูงมากๆ ค่ะ ....

 

ขอบคุณบันทึกดีดีนี้ค่ะ 

ผมกำลังหาพื้นที่ทำงานนี้เพิ่ม อาจารย์ พอจะแนะนำที่เพชรบุรีได้มั๊ยครับ ... ตอนนี้ผมทำเฉพาะกรุงเทพฯ เพราะอัตราการหย่าร้างสูงสุดในประเทศครับ

ผมแนะนำสมุทรสาครด้วยครับอาจารย์

มีเครือข่ายอยู่โรงพยาบาลสมุทรสาคร

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท