มาตรการ 3-3-1..??


              

    วันนี้ผู้เขียนนำเรื่อง ... การสร้างเสริมสุขภาพในชุมชน เรื่อง การป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกด้วยมาตรการ 3-3-1 นำมาเล่าให้เพื่อนๆ ชาว G2K นะคะ

สาเหตุไข้เลือดออก

โรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่เกิดจากยุงลาย Aedes aegyti ตัวเมีย...บินไปกัดคนที่ป่วยเป็นไข้เลือดออก โดยเฉพาะช่วงที่มีไข้สูง เชื้อไวรัสแดงกี จะเพิ่มจำนวนในตัวยุงประมาณ 8-10 วัน เชื้อไวรัสแดงกี่จะไปที่ผนังกระเพาะและต่อมน้ำลายของยุง เมื่อยุงกัดคนก็จะแพร่เชื้อสู่คน เชื้อจะอยู่ในร่างกายคนประมาณ 2-7 วันในช่วงที่มีไข้ หากยุงกัดคนในช่วงนี้ก็จะรับเชื้อไวรัสมาแพร่ให้กับคนอื่น ซึ่งส่วนใหญ่มักจะเป็นเด็ก โรคนี้ระบาดในฤดูฝน ยุงลายชอบออกหากินในเวลากลางวันตามบ้านเรือน และโรงเรียน ชอบวางไข่ตามภาชนะที่มีน้ำขัง เช่นยางรถยนต์ กะลา กระป๋อง จานรองขาตู้กับข้าว แต่ไม่ชอบวางไข่ในท่อน้ำ ห้วย หนอง คลอง บึง

 

อาการของไข้เลือดออก

อาการของไข้เลือดออกไม่จำเพาะ อาการมีได้หลายอย่าง ในเด็กอาจจะมีเพียงอาการไข้และผื่น ใผู้ใหญ่อาจจะมีไข้สูง ปวดศรีษะ ปวดตามตัว ปวดกระบอกตา ปวดกล้ามเนื้อ หากไม่คิดโรคนี้อาจจะทำให้การรักษาช้า ผู้ป่วยอาจจะสียชีวิต ลักษณะที่สำคัญของไข้เลือกออกคือ

- ไข้สูงเฉียบพลันประมาณ2-7 วัน

- เบื่ออาหาร หน้าแดง ปวดศีรษะ ร่วมกับอาการคลื่นไส้อาเจียน และมีอาการปวดท้องร่วมด้วย

- บางรายอาจจะมีจุดเลือดสีแดงออกตามลำตัว แขนขา อาจจะใรเลือดกำเดาไหล เลือดออกตามรายฟัน และถ่านอุจาระดำเนื่องจากเลือดออกในทางเดินอาหาร และอาจจะช็อค

- ในรายที่ช็อคสังเกตเมื่อไข้ลงผู้ป่วยกลับแย่ลง ซึม มือเท้าเย็น เหงื่อออก หมดสติและอาจจะเสียชีวิต

 

 

   มาตรการ 3-3-1 รวมพลังสร้างความมั่นใจปลอดภัยด้วยโรคไข้เลือดออก  ซึ่งในงานสร้างเสริมสุขภาพในหมู่บ้านในพื้นที่ความรับผิดชอบของ....โรงพยาบาลบ้านลาด ในเรื่องการสร้างเสริมสุขภาพเพื่อป้องกันการเจ็บป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ซึ่งเป็นโรคที่สามารถควบคุมป้องกันได้ โดยการอาศัยพลังภาคีเครือข่ายของผู้นำชุมชนภาคประชาชนร่วมมือร่วมใจกันโดยการสร้างเสริมสุขภาพและควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก มีกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคไข้เลือดออกตามมาตรการ ดังนี้คือ

1.มาตรการต้านยุงลาย...  “มาตรการ 3-3-1 รวมพลังสร้างความมั่นใจปลอดภัยด้วยโรคไข้เลือดออก  โดย 3 ตัวแรก คือ การรายงานโรคไข้เลือดออกภายใน 3 ชั่วโมง  3 ตัวที่ 2 คือ การควบคุมโรคโดยทีม SRRT ภายใน 3 ชั่วโมง  1 คือ ให้ทีมท้องถิ่นได้แก่ อบต. ผู้นำชุมชนและทีมควบคุมโรคของโรงพยาบาลบ้านลาด ภายใน 1 ชั่วโมง ในรัศมี 100 เมตรที่ห่างจากบ้านที่เกิดโรคระบาด  โดยมีการร่วมกันรณรงค์ร่วมกันทุกภาคส่วนทั้ง อบต.ท่าช้าง, โรงเรียนโพธิ์กรุ, วัดโพธิ์กรุ, อสม.ตำบลท่าช้าง,อสม.น้อยในโรงเรียนโพธิ์กรุร่วมกับทีมงานควบคุมโรคของโรงพยาบาลบ้านลาด โดยทำกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง ทั้งการสำรวจลูกน้ำยุงลายทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำ, การพ่นน้ำยาเคมีกำจัดยุงลาย มีการแนะนำ ประชาชนโดยใช้เสียงตามสายในหมู่บ้าน เสียงตามสายของอบต.ท่าช้าง,วัดโพธิ์กรุมีกิจกรรมตัดหญ้าบริเวณลานวัดซึ่งอยู่ใกล้โรงเรียนและเสียงตามสายในโรงเรียนวัดโพธิ์กรุให้เด็กนักเรียนได้นำไปปฏิบัติ,ทั้งในโรงเรียนและที่บ้านของเด็กนักเรียน ให้เด็กนักเรียนเข้าใจเรื่องการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายตามกิจกรรม “มือปราบน้อยตามรอยลูกน้ำและ อสม.น้อยคอยประกาศข่าว”

2. การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่สามารถทำได้จริงและปฏิบัติได้จริงๆ และทำลายลูกน้ำยุงลายได้จริง ๆ โดยการใส่ “ผลมะกรูดที่บากผิว” แล้วใส่ลงไปในภาชนะที่บรรจุน้ำ โดยมะกรูด 1 ลูก ต่อน้ำ 40 ตารางนิ้ว เพราะน้ำที่เป็นกรดหรือเป็นด่างจะทำให้ยุงลายไม่มาวางไข่ในน้ำที่เป็นกรดหรือเป็นด่าง โดย ใช้ปูนแดง ที่นำมาปั้นเป็นลูกเท่ากับลูกปิงปองตากแห้งอย่างน้อย 3 วัน นำมาใส่ในโอ่งขนาดโอ่งมังกรจะทำให้ ยุงลายไม่ชอบมาไข่ในน้ำที่มีสภาพเป็นด่าง  ขณะเดียวกันถ้าเราศึกษานิสัยยุงลายจะพบว่า ยุงลายจะไม่ไข่ในน้ำโดยตรง แต่จะไข่เหนือระดับน้ำประมาณ 1-2 ซม.  ดังนั้นถ้าเราใช้ เทคนิคการเติมน้ำให้เต็มภาชนะจนไม่เหลือพื้นที่ขอบภาชนะ ทำให้ยุงลายไม่สามารถมาวางไข่ได้ก็จะสามารถจัดการการกับการวางไข่ของยุงลายได้

             ขณะเดียวกันก็เป็นที่ทราบดีว่ายุงลายจะเติบโตเต็มวัยภายใน 7-10 วัน ดังนั้นถ้ามีการรณรงค์เปลี่ยนน้ำในภาชนะทุก 7 วันหรือ 1 สัปดาห์ ก็จะเป็นการ ทำลายวงจรชีวิตของการเกิดของยุงลายได้ แต่ถ้าในกระถางที่ปลูกดอกบัวในบริเวณบ้านก็สามารถนำเอาปลาหางนกยูงมาปล่อย เพื่อให้กินลูกน้ำยุงลายได้ เช่น ในบ่อน้ำบริเวณในบ้าน, ในอ่างดอกบัวในโรงเรียนหรือปล่อยปลาหางนกยูงในถังซีเมนต์ที่ใช้เก็บน้ำในห้องน้ำในโรงเรียน, ถังซีเมนต์ในห้องน้ำในบ้าน เป็นกลยุทธ์ในการกำจัดลูกน้ำยุงลายได้ดีโดยวิธีธรรมชาติ

 

       สรุปได้ว่า ...ทีมงานควบคุมโรคและงานสร้างเสริมสุขภาพ จาก รพ.บ้านลาดใช้... มาตรการ 3-3-1 ..... การใช้มาตรการนี้แล้วได้ผลลัพธ์ที่ดีค่ะ และผสมผสานกับ.. การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ร่วมกับ... มาตรการ 3-3-1  ด้วยยิ่งดีค่ะ

 

                   

 

 

                        ขอบคุณที่ท่านให้เกียรติอ่านบทความนี้ค่ะ

 

 

หมายเลขบันทึก: 548435เขียนเมื่อ 16 กันยายน 2013 13:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 กันยายน 2013 13:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)

ขอบคุณข้อมูลดี ๆ ที่ P'Ple นำมาฝากมากนะครับ...:)

ชอบวิธีนี้ครับพี่เปิ้น

 “มาตรการ 3-3-1 รวมพลังสร้างความมั่นใจปลอดภัยด้วยโรคไข้เลือดออก  

จำได้ว่าที่บ้านใส่ผิวมะกรดูเหมือนกันครับ

ขอบคุณพี่มากๆครับ

ขอบคุณมากค่ะที่ช่วยกันรณรงค์ป้องกันโรคภัยร้ายแรงในยามนี้..

ภาพยุงตัวล่าง น่าตบมันเสียจริง ๆ ค่ะ หมอเปิ้น กินเลือดคนเสียท้องป่องเชียวค่ะ...ท่าทางจะบินไม่ไหวด้วยนะคะนั่น...

-สวัสดีครับ

-ปีนี้ไข้เลือดออกระบาดหนัก..

-ต้องดูแลตัวเองและคนรอบข้างครับ

-ยุงตัวนี้น่า"ตบ"จริง ๆ ฮ่า ๆ

-ขอบคุณครับ..

เห็นการดูดเลือดของยุงแล้ว รู้สึกคัน ยังไงไม่รู้

ขอบคุณความรู้ดีๆให้ระวังครับ

 

    ขอบคุณพี่ๆ เพื่อนๆ  น้องๆๆ มากนะคะ ให้กำลังใจ ผู้เขียน นะคะ

 

 ขอบคุณท่าน อ.นุ มากค่ะ
 ขอบคุณท่าน ขจิต ฝอยทอง มากค่ะ
 ขอบคุณน้อง จัตุเศรษฐธรรม มากค่ะ
 ขอบคุณน้อง เพชรน้ำหนึ่ง มากค่ะ
 ขอบคุณ ยายธี มากค่ะ
 ขอบคุณท่าน พี่นงนาท สนธิสุวรรณ มากค่ะ
 ขอบคุณท่าน พ.แจ่มจำรัส มากค่ะ
 ขอบคุณน้อง tuknarak มากค่ะ

 

 ขอบคุณท่าน จิตศิริน มากค่ะ

 

โดนใจทันสมัยในยุคปัจจุบัน

ไข้เลือดออกกำลังระบาดหนักในภาคใต้

ขอบคุณข้อคิดดี ๆ กับวิธีการปราบยุงลาย

 

     ขอบคุณ พี่ใหญ่ มากๆ ค่ะ 

 

น่าสนใจมากค่ะพี่เปิ้น  ๓ - ๓ - ๑

 

   

 ขอบคุณ ทพญ.ธิรัมภามากๆ ค่ะ....ให้กำลังใจ P'Ple นะคะ

 

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท