สภาปฎิรูป...จะแก้ปัญหาความขัดแย้งได้จริงหรือ


คนอง วังฝายแก้ว

อาจารย์ประจำสาขาวิชารัฐศาสตร์ วข.พะเยา

สภาปฎิรูป...จะแก้ปัญหาความขัดแย้งได้จริงหรือ

     สถานการณ์ทางการเมืองในรอบ 2 ปีที่ผ่านมาต้องยอมรับว่า ปัญหาผู้คนในสังคมมีความเห็นต่างทางการเมืองมากมาย บางครั้งยากที่จะแก้ไขหรือหาทางออกให้แก่สังคมหรือประเทศชาติได้ รัฐบาลยิ่งลักษณ์ 5 ได้บริหารราชการบ้านเมืองมาครบ 2 ปี จึงมีความคิดที่จะปฎิรูปการเมืองหรือปฎิรูประบบการเมืองไทยให้ดีขึ้น เพื่อลดปัญหาความขัดแย้งหรืออุณหภูมิทางการเมืองให้ดีขึ้น เพื่อให้เกิดความสามัคคีหรือเกิดความปองดองของผู้คนในสังคมที่สะสมมานานหลายปี จึงมีความคิดเพื่อหาทางออกของประเทศจึงตั้งสภาปฎิรูปขึ้น

          คำว่า “สภา” หมายถึง[1] ที่เป็นที่พูดร่วมกัน, ที่ประชุม, สถาบันหรือองค์การอันประกอบด้วยคณะบุคคลซึ่งทำหน้าที่พิจารณาวินิจฉัยหรืออำนวยกิจการ  ด้วยการประชุมปรึกษาหารือออกความคิดเห็นร่วมกัน

        ส่วนคำว่า”ปฎิรูป” หมายถึง[2] สมควร, เหมาะสม, ปรับปรุงให้สมควร เพราะฉะนั้น “สภาปฏิรูป” จึงหมายถึง สมควร,เหมาะสมที่จะปรับปรุงสถาบันหรือองค์การอันประกอบด้วยคณะบุคคลซึ่งทำหน้าที่พิจารณาวินิจฉัยหรืออำนวยกิจการด้วยการประชุมปรึกษาหารือและออกความคิดเห็นร่วมกัน

          รัฐบาลชุดปัจจุบันนี้จึงได้เชิญบุคคลหลากหลายอาชีพผู้ที่มีประสบการณ์หรือผู้ทรงคุณวุฒิรวมถึงตัวแทนของพรรคการเมืองต่าง ๆ มาร่วมปรึกษาหารือหาทางออกเกี่ยวกับความขัดแย้งทางการเมือง เมื่อวันที่ 25 ส.ค.ที่ทำเนียบรัฐบาล ในหัวข้อว่า [3]เดินหน้าปฏิรูปประเทศ พัฒนาประชาธิปไตย และประเทศร่วมกัน” ด้าน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร  นายกรัฐมนตรี กล่าวสรุปการประชุม ว่า เรื่องของกรอบการทำงานในการวางเป้าหมายการปฏิรูปและหาทางออกของประเทศ จะมองมิติรวมใน 7 หัวข้อ คือ 1.การทำให้ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุข มีความมั่นคงแข็งแรง 2.ต้องมีความเท่าเทียม เสมอภาค ลดความเหลื่อมล้ำในสังคม ตามสิทธิที่แต่ละกลุ่มควรได้รับ 3.มีกลไกการทำงานที่โปร่งใสตรวจสอบได้ตามหลักธรรมาภิบาลที่ดี 4.สร้างกระบวนการให้เกิดความยุติธรรม ความเสมอภาคเท่าเทียมในสิทธิขั้นพื้นฐานที่แต่กลุ่มในสังคมควรได้รับ ตามหลักนิติรัฐ นิติธรรม 5.มีประชาธิปไตยที่ผ่านการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน ยึดเสียงส่วนใหญ่ รับฟังเสียงส่วนน้อย 6.สร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ และบรรยากาศที่ดีของการไว้วางใจกัน แ ละ7.ยึดผลประโยชน์ส่วนรวมบนความถูกต้อง นอกจากนี้ยังให้ยึดแนวทางการปฏิบัติโดยให้รวบรวมผลงานการศึกษา จากทุกหน่วยงานที่มีการเสนอมา เพื่อให้เกิดการตกผลึก หัวข้อใดไม่มีความขัดแย้ง ทุกฝ่ายเห็นตรงกันให้ดำเนินการได้ทันที โดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาสังคม รวมถึงประเด็นที่ยังคงเป็นปัญหาไม่ได้ข้อสรุปมอบให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปดูแล และต้องศึกษาปัญหารากเหง้า ทั้งการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม เพื่อแก้ปัญหาระยะยาว โดยมอบหมายให้นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกรัฐมนตรี และนายวราเทพ รัตนากร รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และรมช.เกษตรฯ ดูแลเรื่องนี้

          ผู้เขียนมีความคิดเห็นว่า สภาปฎิรูปจะเดินหน้าหรือประสบผลสำเร็จได้นั้น  จะต้องได้รับความร่วมมือจากประชาชนทุกภาคส่วน องค์กรหรือสถาบันต่าง ๆ เช่น สถาบันทางศาสนา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สถาบันทางพระพุทธศาสนา เข้าไปมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดความเห็น สะท้อนความเป็นจริงของปัญหาที่เกิดขึ้นกับสังคมไทยในปัจจุบันโดยใช้หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนาไปประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาของผู้คนในสังคมและความขัดแย้งทางการเมือง ผู้เขียนเสนอว่า จะต้องเพิ่มประเด็นข้อที่ 8 ไปด้วยนั่นก็คือหลักสังคหะวัตถุ 4 คือ สังคหวัตถุ หมายถึง[4] วิธีสร้างมนุษยสัมพันธ์ผูกใจคน พระพุทธเจ้าได้ทรงตรัสไว้ว่า รถม้าแล่นได้เพราะมีลิ่มสลักคอยตรึงส่วนประกอบต่างๆ ของรถเข้าไว้ด้วยกันฉันใด คนในสังคมย่อมต้องมีกาวใจหรือความสัมพันธ์อันดี ทำหน้าที่เชื่อมประสานคนทั้งหลายเข้าด้วยกันฉันนั้น
      เพราะฉะนั้นสภาปฎิรูปอยากให้นักการเมืองและผู้คนในสังคมร่วมแรงเทใจทำงานให้บรรลุตามเป้าหมายและมีประสิทธิภาพ ก็ควรนำหลักสังคหะวัตถุ 4 มาเป็นแนวทางในการ ปฎิรูปประเทศไทย   หลักสังคหวัตถุ 4 มีดังนี้

1.ทาน หมายถึง การให้ ถ้าผู้คนในสังคมรู้จักการให้และมีน้ำใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ซึ่งกันและกัน การให้นั้นไม่ได้หมายถึงหรือเฉพาะเจาะจงเพียงแค่การให้แต่เพียงสิ่งของอย่างเดียว แต่หมายรวมถึงการให้ซึ่งความรู้ ให้ความช่วยเหลือ และการให้ที่ยิ่งใหญ่เสมอคือ การให้อภัย

2.ปิยวาจา หมายถึง การพูดถ้อยคำไพเราะอ่อนหวาน

3.อัตถจริยาหมายถึงการทำตนให้เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น
4.สมานัตตตา หมายถึง การวางตัวสม่ำเสมอให้เหมาะสมกับฐานะและบทบาทของตนเอง
กล่าวโดยสรุป...สภาปฎิรูปจะเดินหน้าเพื่อสร้างความสามัคคีหรือสร้างความปองดองและแก้ไขความขัดแย้งของผู้คนในสังคมได้เป็นผลสำเร็จนั้นจะต้องผลักดันให้นักการเมืองบางคนบางกลุ่มปฎิรูปพฤติกรรมของตนเองที่แสดงออกมาทาง กาย, วาจา,และใจที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสมที่จะเป็นตัวแทนของประชาชนที่ปรากฎทางสื่อสารมวลชน เพราะฉะนั้น...นักการเมืองจะต้องปฎิรูปตนเองให้มีพฤติกรรมในการแสดงออกมาให้มีภาพลักษณ์ที่ดีและเป็นที่ยอมรับของผู้คนในสังคมเสียก่อน

 

 



[1] พจนานุกรมพุทธศาสน์, ฉบับประมวลศัพท์, หน้า 298.

[2] เรื่องเดียวกัน, หน้า 145.

[3] หนังสือพิมพ์เดลินิวส์. www.dailynews.co.th/politics/228565.

[4] พจนานุกรมพุทธศาสน์, ฉบับประมวลศัพท์, หน้า 310.

 

คำสำคัญ (Tags): #สภาปฎิรูป
หมายเลขบันทึก: 547108เขียนเมื่อ 31 สิงหาคม 2013 13:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 สิงหาคม 2013 13:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ตราบใดที่คณะรัฐบาลและคณะฝ่ายค้านไม่ว่าท่านใดท่านหนึ่งยังมีการเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม

ทำให้ทำสภาปฏิรูปไม่ได้แน่นอนครับเพราะถูกครอบงำโดยกิเลสต้องเอาหลักธรรมมาช่วย

ไม่ว่าจะเป็น อิทธิบาท ๔ หรือ สังคหวัตถุ ๔ ก็ได้ครับ

ใช่แล้วครับ...ควรเพิ่มหลักธรรมที่ท่านว่าถูกต้อง

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท