การประเมินผลการเรียนรู้


การประเมินผลการเรียนรู้

         การวัดและการประเมินผลการเรียนรู้เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกัน การประเมินผลการเรียนรู้มีจุดมุ่งหมายสองอย่างคือ 1.เพื่อรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับผลการเรียนและการเรียนรู้ของผู้เรียนในระหว่างการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง บันทึก วิเคราะห์ แปลความหมายข้อมูล แล้วนำมาใช้ในการปรับปรุงแก้ไขการเรียนรู้ของผู้เรียนและการสอนของครู ครูต้องใช้วิธีและเครื่องมือการประเมินที่หลากหลาย เช่น การสังเกต ซักถาม ระดมความคิดเห็น ใช้แฟ้มสะสมงาน ใช้ภาระงานที่เน้นการปฏิบัติ การประเมินความรู้เดิม ให้ผู้เรียนประเมินตนเอง ให้เพื่อนประเมินเพื่อน ใช้เกณฑ์การให้คะแนน และควรให้ข้อมูลย้อนกลับแก่ผู้เรียน เช่น คำแนะนำ แก้ไขความคิดที่ไม่ถูกต้อง           2.ประเมินผลเพื่อตัดสินผลการเรียน มีหลายระดับ ได้แก่ เมื่อจบหน่วยการเรียน จบรายวิชา รับรองในการเลื่อนชั้น รับรองในการจบหลักสูตร

         ในการประเมินผลนั้นได้กำหนดเกณฑ์ไว้ เกณฑ์คือ

       1.ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ตามมาตรฐานการเรียนรู้ทั้ง กลุ่มสาระ ได้แก่ ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สุขศึกษาและพลศึกษา ศิลปะ การงานอาชีพและเทคโนโลยี ภาษาต่างประเทศ

         2.ให้ผู้เรียนมีความรู้ความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน

       3.ให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ทั้ง คุณลักษณะ ได้แก่ รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ อยู่อย่างพอเพียง มุ่งมั่นในการทำงาน รักความเป็นไทยและมีจิตสาธารณะ

         4.ให้ผู้เรียนเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เช่น กิจกรรมแนะแนว กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ กิจกรรมชมรม กิจกรรมลูกเสือ/เนตรนารี กิจกรรมนักศึกษาวิชาทหาร

                เกณฑ์ที่ใช้ในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ได้แก่ การตัดสินผลการเรียน (เวลาเรียนขั้นต่ำ ได้รับการประเมินและผ่านทุกตัวชี้วัด) การให้ระดับผลการเรียน  (เป็นเกรดตัวเลขคือ 0-4 เกรดตัวอักษรคือ A-F เป็นระบบร้อยละ การผ่าน-ไม่ผ่านกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน)  การเลื่อนชั้น การเรียนซ้ำชั้น การสอนซ่อมเสริม (เพื่อแก้ไขข้อบกพร่องและปรับความรู้) การเปลี่ยนผลการเรียน (จาก “ร, 0” เป็นเกรด) เกณฑ์การจบในระดับต่างๆ (ระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย)

 

บรรณานุกรม

แนวปฏิบัติการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551.  สำนักวิชาการและ

                มาตรฐานการศึกษา สำนักคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.

                สืบค้นเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2556. จาก http://www.psktk.com/pgq/files/E336.pdf

หมายเลขบันทึก: 547106เขียนเมื่อ 31 สิงหาคม 2013 12:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 สิงหาคม 2013 12:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท