588. เรียน OD จากหนังดัง (ตอน Les Miserables)


หนังเรื่องหนึ่งที่อยากดูมานาน แต่ไม่ได้ดูสักที ก็คือเรื่อง Les Miserables   ล่าสุดได้ดูโดยเป็นหนังปี 98 ที่นำแสดงโดยเลียม นีลสัน เป็นอะไรที่ดูแล้วโหด เศร้า สะท้อนใจมาก ด้วยตัวละครเองต้องประสบกับเคราะห์กรรมที่มันสุดๆ พระเอกเองต้องไปติดคุกกว่า 20 ปี ด้วยเหตุที่ว่าตอนเด็กๆ หิวมาก เดินโซไปตามถนน เห็นขนมปังอยู่ในร้าน ทนหิวไม่ได้ เลยทุบกระจกเข้าไปขโมยขนมปัง สมัยนั้น (เมื่อเกือบ 200 ปีก่อน) ในฝรั่งเศสกฎหมายโหดมาก เด็กน้อยคนนี้เลยถูกจับและถูกตัดสินจำคุก เรียกว่าว่าขังลืม แต่ก็ได้หนีออกมา และเนื่องจากฉลาดก็ได้สร้างตัว จนกลายเป็นนายกเทศมนตรีของเขตๆ หนึ่งมหานครปารีส นอกจากนี้ยังเป็นเศรษฐีด้วย ตัวเขาเองหลังหนีออกมาก็พยายามทำแต่ความดี ช่วยคนอย่างๆไม่เห็นแก่ชนชั้น ซึ่งผิดวิสัยของผู้ดียุคนั้น ทุกสิ่งดำเนินไปอย่างราบรื่น นักการเมืองคนนี้รวยขึ้นเรื่อยๆ และก็ทำความดีแบบไม่เหน็ดเหนื่อย... วันหนึ่งไปช่วยคนขับเกวียนที่ประสบอุบัติเหตุเจอเกวียนทับ เขาเข้าไปยกเกวียน ทั้งที่อายุมากแล้วแต่ก็ดูแรงเยอะ.. (พระเอกพาชายชรากลับบ้าน เพื่อดูแลจนฟื้นตัว แต่ก็พบว่าทำงานหนักไม่ได้อีก เลยเขียนจดหมายฝากฝังให้เขาได้งานทำในสำนักนางชี ซึ่งสร้างความแปลกใจให้ชายชรามาก เพราะไม่เคยเจอชนชั้นสูงที่ทำอะไรอย่างนี้มาก่อน) 

                    

 

ภาพที่น่าประทับใจนี้ไปกระตุ้นความทรงจำของนายตำรวจมือปราบชื่อดังคนหนึ่ง ที่เริ่มรู้สึกคุ้นๆ ว่าเหมือนได้เจอกับชายคนนี้มาก่อน นึกไปนึกมาก็จำได้ว่า เขาคล้ายๆกับนักโทษคนหนึ่งที่เขาเจอมาในเหมืองหิน .. เรื่องยุ่งเริ่มจากตรงนี้   นายตำรวจท่านนี้เลยเริ่มสืบประวัติ และก็เริ่มมั่นใจขึ้นเรื่อยๆ .. เริ่มมีการขุดคุ้ย ตามสืบ พระเอกเองก็เริ่มเครียด พยายามหลบหลีก แต่ก็ถูกจับผิดมาเรื่อยๆ ที่สุดมีเหตุการณ์พลิกผัน คือมีการนำนักโทษที่ชื่อเดียวกันกับพระเอกมาขึ้นศาล นักโทษเสียสติไม่รู้ว่าตัวเป็นใคร วันนั้นพระเอกไปที่ศาล 

เขาไม่อยากให้ความเข้าใจผิดไปทำร้ายผู้บริสุทธิ์อีก เลยตัดสินใจสารภาพ ที่ตอนแรกไม่มีคนเชื่อ ที่สุดตำรวจก็มาจับ โดยพระเอกขอเวลาไปช่วยลูกของคนรัก ที่กำลังจะตายที่ อีกเมืองก่อน แต่ตำรวจคนดังไม่ยอม ที่สุดเลยหนีไป และไปช่วยลูกนางเอกได้ แต่นางเองก็ตายไปก่อน พระเอกรับลูกสาวนางเอกไว้เป็นลูกบุญธรรม    ทั้งสองพากันหลบหลีกตำรวจจนกลับมาปารีส โดยหนีเข้าไปในสำนักนางชี  เขาหนีไปหาภารโรง ซึ่งก็คือชายชราที่เขาเคยช่วยไว้ ชายคนนี้เลยขอแม่ชีให้งานเขาทำ ที่สุดก็อยู่ในนั้น 10 กว่าปีจนลูกสาวโตเป็นสาว..

                     

ที่สุดลูกสาวก็ขอร้องเขาว่าอยากออกมาอยู่ในโลกภายนอก ไม่อยากอยู่สำนักนางชีแล้ว พ่อก็ตามใจ แม้จะอึดอัดก็ตาม โดยสามารถซื้อบ้านใหม่ได้ (คนนี้รวยมาก่อน).. พระเอกออกมาก็ไม่ค่อยมีใครจำได้ เพราะแก่แล้ว ออกมาก็ชอบจัดโรงทาน.. โชคชะตาพลิกอีกครั้ง ที่ลูกสาวเกิดไปชอบพอกับนักศึกษาหนุ่มนักศึกษาหัวรุนแรง ฝ่ายปฏิวัติ ที่กำลังถูกหมายหัวจากทางการ โดยมีตำรวจคอยตามรอย ซึ่งก็คือตำรวจคนเดิมที่เคยล่าพระเอกนั่นเอง.. ที่สุดตามรอยจนมาพบร่องรอยพระเอกโดยบังเอิญ ก็เกิดการตามล่าอีก..  แต่ที่สุดคุณตำรวจเกิดเพลี่ยงพล้ำ พระเอกจับได้ โดยมีโอกาสฆ่าได้เต็มที่ เพราะอยู่ในดินแดนของฝ่ายปฏิวัติ  พระเอกเลือกไม่ฆ่า และปล่อยตัวตำรวจไป.. พร้อมบอกทางหนีให้.. แถมยิงปืนขึ้นฟ้า.. แล้วบอกว่า “ท่านได้ตายไปแล้ว ไปซะ”..  

แต่ตำรวจคนนี้ไม่ลดละ ที่สุดก็กลับมาตามล่าพระเอกจนเจอ ที่สุด ก็สามารถจับพระเอกได้ ขณะจะฆ่าทิ้งนั้นก็ถามพระเอกว่า .. ไม่โกรธ ไม่แค้นเหรอ ที่มีโอกาสฆ่าเขาแต่ไม่ฆ่า.. พระเอกบอกไม่..  ไม่เลย .. ที่สุดตำรวจก็เปลี่ยนใจไม่ทำอะไร.. เลยปล่อยพระเอกไป... เรื่องจบลงด้วยอิสรภาพของพระเอกและทุกคนในที่สุด หนังเรื่องนี้ต้องดูครับ บอกเลยว่าเป็นอะไรที่เข้มข้นมากๆ ดูแล้วเลยนึกถึงเรื่องราวของการพัฒนาองค์กร (Organization Development) โดยเฉพาะทฤษฎีการวิเคราะห์สนามพลัง (Force-field Analysis) ของบิดาแห่งวิชาการด้าน OD คือ Kurt Lewin .. เป็นโมเดลที่เรานำมาวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงในองค์กรครับ  ลองดูภาพประกอบข้างล่าง  จะเห็นว่าหากเราต้องการจะทำอะไร (Issue or Change under study)   มักจะมีแรงสองแรงมาเกี่ยวข้องเสมอ คือแรงหนุน (Driving Force) และแรงต้าน (Restraining Force)  ..

                        

 

ตรงนี้แหละ ก่อนทำ OD หรือการพัฒนาใดๆ เราควรวิเคราะห์ หรือมองกันให้เห็นก่อน.. จะบอกว่าคล้ายๆ SWOT Analysis ก็ได้ (แต่จริงแล้ว SWOT มาหลัง Force Field Analysis ครับ)  ...  แล้วค่อยหากลยุทธ์ และวิธีการพัฒนา ทาง OD เราเรียกว่า OD Intervention ครับ... เอาหล่ะมาวิเคราะห์กัน   จะว่าไปจริงๆ แล้วมันเป็นสงครามของคนดีๆ สองคน โจรนี่ก็ดีครับ เพียงแต่ผิดพลาดมาครั้งเดียวตอนเด็กๆ เลยถูกความผิดพลาดนี้ตามหลอกหลอนทั้งชีวิต  ส่วนคุณตำรวจเองก็เป็นคนซื่อสัตย์ เป็นคนดีที่ถือความถูกต้องเป็นที่หนึ่ง อนึ่งทั้งสองหากคิดทำดี แบบ OD เมื่อไหร่ เขาจะเริ่มต้นทำ Force Field Analysis หรือวิเคราะห์สนามพลังการเปลี่ยนแปลงได้ดังนี้ครับ  เริ่มจากการระบุให้ได้ว่าอะไรคือประเด็นท้าทายที่เราต้องการ จากนั้นค้นหาว่าเราสบายใจ ว่าเรามีทุน มีแรงหนุนอะไรบ้าง ไม่ว่าจะเป็นคน เครือข่าย ความสามารถส่วนตัว .. ส่วนแรงต้านก็อะไรที่เรา "เสียวสันหลัง" ประมาณว่าขั้นต่ำคือเป็นกังวล ขั้นสูงคือต้องระวังมากๆ  สำหรับพระเอกแล้ว เมื่อเขาต้องการเปลี่ยนแปลงจากการไม่มีอิสรภาพ ไปเป็นมีอิสรภาพ เขามีแรงหนุนและแรงต้านดังนี้ครับ

                     

เมื่อมองจาก OD เขาก็จะมีความมั่นใจระดับหนึ่ง เพราะแม้จะมีแรงต้าน (Restraining) ที่น่ากลัว แต่ก็มีแรงหนุนที่แข็งแรงพอควร ไม่ว่าจะเป็นความสามารถของเขาเอง หรือบารมีในอดีต แถมยังมีสถานการณ์วุ่นวายในสังคมเป็นเกราะกำบัง จะเห็นว่า ตลอดเรื่อง พระเอกมีการ “ดึงเอา” แรงหนุน (Driving Force) มาเป็นส่วนหนึ่งของการวางแผนหลบหลีก ซ่อนตัวอยู่ตลอด โดยไม่ไปทำร้ายใคร แม้กระทั่งตำรวจโดยไม่จำเป็น..  …

ส่วนคุณตำรวจเอง มีแรงหนุนที่ทรงพลังเช่นกัน และเราก็จะเห็นว่าตลอดเรื่องก็ได้นำแรงหนุนของตนเอง มาใช้ในการวางแผนแก้เกมส์ แรงต้าน ตลอด แต่ด้วยความที่พระเอกมีแนวคิดชี้นำ (Guiding Idea)  ที่ดี คือ การไม่ทำร้ายใคร และไม่แค้นใคร ที่กลับกลายเป็นแรงหนุนที่สำคัญที่สุด ที่นำมาสู่การยอมรับนับถือของตำรวจที่เก่งที่สุด จนนำมาสู่การปลดล๊อกทุกอย่าง ที่หมายถึงอิสรภาพ ต้องบอกครับการมีแนวคิดชี้นำดีๆ (Guiding Idea) นี่ถือเป็นการพัฒนาองค์กรแล้วนะครับ เพราะนี่คือหนึ่งในแนวคิดขององค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) จะเห็นว่าการที่พระเอกยืนยันว่าไม่ทำร้ายใคร ทำแต่ความดี ตรงนี้แหละครับ 

ที่สุดนำไปสู่การยอมรับร่วมกัน การมีเป้าหมายเดียวกัน ทางภาษาขององค์กรแห่งการเรียนรู้เราเรียกว่า Shared Vision ครับ เริ่มจากคนไกล้ตัวของพระเอก ชาวบ้าน แม่ชี ที่เห็นความดีของพระเอก จนให้การสนับสนุนอยากลับๆมาตลอด ซึ่งการมีวิสัยทัศน์ร่วมกันนี้ นำมาสู่การทำงานแบบประสานสอดคล้องไปในทางเดียวกันอย่างมีพลัง เกิดการเรียนรู้ การปรับตัวเรียกว่าเกิดภาพวะ Team learning ขึ้นมา..  ที่สุดทำให้พระเอกก้าวล้ำนำหน้าตรวจที่มีอำนาจสูง และเก่งที่สุด ชนิดตามไม่ทัน และเมื่อมีโอกาส ความที่มี Guiding Idea ชัดเจนและดีมากๆ ก็ทำให้ตำรวจท่านนั้นเห็นใจ เห็นคุณค่าในตัวโจรคนนี้ จนนำไปสู่การยอมรับและเกิด Shared Vision ร่วมกัน ในที่สุด นำไปสู่อิสรภาพในตอนท้าย   

                                     

ผมเองอยากเขียนเรื่องนี้มานาน ก็รอจังหวะอยู่ครับ มาดูหนังเรื่องนี้แล้วเห็นเลยครับ ว่านี่คือ Force Field ชัดๆ และเห็นการดึงแรงหนุนมาบริหารแรงต้านอย่างเต็มเหนี่ยวจริงๆทั้งเรื่อง และยังเห็นพลังของ Guiding Idea ที่เป็น OD Intervention (เครื่องมือการพัฒนาองค์กร) ซึ่งเป็นอะไรที่เพียงแค่ "คิดดี" เท่านั้น ต้องบอกว่าเท่านั้นจริงๆ คุณจะดึงแรงหนุน ออกมาสร้างแรงหนุน ที่ทวีความแข็งแกร่งมากขึ้น จนไม่ว่าแรงต้านจะทรงพลังเพียงใด คุณก็จะทำลายมัน และสร้างการเปลี่ยนแปลงได้ในที่สุด  

วันนี้ เพียงเล่าให้ฟัง ลองเอาไปพิจารณาดูนะครับ

Reference: 

The first picture retrieved Aug 31, 2013 from http://www.thatfilmguy.net/les-miserables-2012/les-miserables-poster/

 

The second picture retrieved Aug 31, 2013 from http://www.fanpop.com/clubs/les-miserables-2012-movie/images/33248398/title/les-miserables-movie-wallpapers-wallpaper

 

The third picture retrieved Aug 31, 2013 from http://www.qualitytrainingportal.com/resources/root_cause_analysis/tools/root_cause_analysis_tools-force_field.htm

 

The fourth picture retrieved Aug 31, 2013 fromwww.aithailand.org

 

The fifth picture retrieved Aug 31, 2013http://www.hypable.com/2012/11/01/les-miserables-posters/ 

 

appreciative inquiry  

www.aithailand.org

 


appreciative inquiry  

www.aithailand.org

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 547101เขียนเมื่อ 31 สิงหาคม 2013 12:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มีนาคม 2020 08:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

น่าดูนะครับ อาจารย์

โดยส่วนตัว รัสเซล โคว์ เป็นดาราคนโปรดของผม

ขอบคุณครับ

น่าสนใจมากคะ เป็นการเรียนรู้ผ่านหนัง ได้ความรู้และความสนุกด้วย

กำลังต้องทางงานที่เกี่ยวกับการวิเคราะห์องค์การ และโชคดีทากๆเลยค่ะที่ได้มาเจอบทความนี้ เข้าใจขึ้นมากๆ เลยค่ะ ขอบคุณมากค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท