หินแร่ภูเขาไฟใช้กระตุ้นแร่ธาตุฟอสฟอรัสในดินให้ออกมาเป็นประโยชน์ต่อพืช


การใช้สารปรับปรุงบำรุงดิน ชนิดที่เป็นหินแร่ภูเขาไฟจะมีแร่ธาตุซิลิก้าที่สามารถละลายน้ำออกมาเป็นประโยชน์ต่อพืชได้ อีกทั้งซิลิก้าชนิดแอนไอออนจะทำหน้าที่คล้ายคลึงกับฟอสเฟตแอนไอออนที่ถูกจับตรึงอยู่ในดินไม่สามารถทำประโยชน์ให้แก่พืชได้ ดังที่เราเคยได้ยินได้ฟังกันมาว่าแร่ธาตุฟอสฟอรัสเป็นแร่ธาตุที่ไม่สูญหายละลายไปกับสายน้ำ สายลมแสงแดดโดยง่าย จึงมีตกค้างอยู่ในดินจำนวนมหาศาล ขนาดที่นักวิชาการฝรั่งบางคนยังแซวเมืองไทยของเราว่าถ้าอยากได้แร่ธาตุฟอสฟอรัสให้ไปขุดดินในผืนนาภาคกลางของประเทศไทยก็จะได้แร่ธาตุฟอสฟอรัสมหาศาล

แร่ธาตุฟอสฟอรัสนั้นถ้าสะสมอยู่ในดินมากๆ ก็จะทำให้ดินเสื่อมสภาพ ปลูกพืชไม่งาม อีกทั้งเมื่อเกษตรกรนำไปตรวจเช็คก็จะพบว่าผลการตรวจเช็คจะพบปริมาณที่สะสมอยู่ในดินค่อนข้างมาก (เป็นปริมาณทั้งหมดที่ตรวจพบ [Total Phosphorus]) แต่มิได้หมายถึงเป็นแร่ธาตุที่พร้อมใช้งานได้ทันที ยังมิใช่แร่ธาตุฟอสฟอรัสที่ละลายได้โดยง่าย (Avaliable Phosphorus) เพราะฉะนั้นเกษตรกรจะต้องสังเกตให้ดีว่าค่าจริงๆ ของฟอสฟอรัสที่ตรวจพบได้นั้น มีค่าที่ละลายน้ำได้จริงๆ นั้นประมาณกี่เปอร์เซ็นต์

การใช้ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มหินแร่ภูเขาไฟอย่าง พูมิช (Zeo-Pumish), พูมิชซัลเฟอร์ (Zeo-PumishSulpher) จะช่วยทำให้แร่ธาตุฟอสฟอรัสละลายออกมาเป็นประโยชน์ต่อพืชได้ง่ายและมากขึ้น จากการแทนที่ของซิลิก้าแอนไอออนที่มีปริมาณเพิ่มมากขึ้นลงไปในดิน จึงช่วยทำให้พืชสามารถที่จะเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็วจากการที่รากสามารถหาอาหารหรือดูดสะสมได้มากขึ้นจากการกระตุ้นของแร่ธาตุฟอสฟอรัส ประโยขน์ของหินแร่ภูเขาไฟที่มีซิลิก้าสามารถละลายน้ำได้ออกมาเป็นประโยชน์ต่อพืชได้มากกว่า 70 เปอร์เซ็นต์จึงช่วยทำให้พืชมีความแข็งแกร่ง สร้างความต้านทานต่อเพลี้ยหนอนแมลง รา ไรได้เป็นอย่างดี

มนตรี  บุญจรัส

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com

 

หมายเลขบันทึก: 546608เขียนเมื่อ 26 สิงหาคม 2013 10:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 สิงหาคม 2013 10:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท