ใช้หินแร่ภูเขาไฟ พืชได้รับซิลิก้า (Sio2 --> H4Sio4)


สารปรับปรุงบำรุงดินโดยทั่วไปนั้น ส่วนใหญ่จะนำกลุ่มของวัสดุปูนจำพวกโดโลไมท์ (แคลเซียม แมกนีเซียม คาร์บอเนต [ca Mg co3])หรือกลุ่มปูนฟอสเฟต (Ca3(PO4)2) หรือไม่ก็ใช้ปูนมาร์ลปูนเปลือกหอยที่ให้แร่ธาตุแคลเซียมในกลุ่มคาร์บอเนตเพียงอย่างเดียวส่งผลให้สภาพดินที่ได้รับแร่ธาตุสารอาหารเหล่านี้ลงไปมากๆ ก็จะสะสมด่างเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยที่เกษตรกรอาจจะรู้เท่าไม่ถึงการณ์เพียงหวังจะได้รับธาตุฟอสฟอรัสหรือธาตุรองในราคาประหยัดแต่กลับได้ความเป็นด่างของปูนสะสมในดินเพิ่มขึ้นไปเรื่อย
เมื่อถึงระดับหนึ่งผลของความเป็นด่างจะทำให้ดินเสื่อมโทรมไม่กักเก็บปุ๋ยละลายแร่ธาตุทองแดง แมงกานีสหรือธาตุอื่นออกมามากล้นจนเป็นพิษต่อพืช ทำให้พืชใบไหม้ เปราะแตกหักง่าย หรือแม้แต่การปลดปล่อยไนโตรเจนออกไปมากเกินไป ไม่สามารถกักเก็บได้เพราะความเป็นด่างของปูนจะขับไล่กลุ่มแอมโมเนีย (NH3-) ที่เป็นโครงสร้างหลักของไนโตรเจน แอมโมเนียสูญเสียมาก
ปุ๋ยไนโตรเจนก็เสียหายไปมากเช่นกัน

การใช้กลุ่มวัสดุปูนในการปรับปรุงสภาพดินเกษตรกรควรจะต้องตรวจวัดสภาพความเป็นกรดและด่างของดินให้ดีเสียก่อน
มิฉะนั้นจะเป็นการเติมปูน เติมด่างลงไปในดิน ซึ่งในระยะยาวจะเกิดผลเสียตามมามากว่าผลดี ค่าพีเอชที่เหมาะสมต่อการใช้กลุ่มวัสดุปุน (ปูนมาร์ล [caco3], ปูนเผา [cao], ปูนขาว [caoH2], โดโลไมท์ [Ca Mg Co3] ฟอสเฟต [Ca3[PO4]2, ยิปซั่ม [CaSo4-2H2O) ควรจะอยู่ในระดับที่ต่ำว่า 5.8 หรือ 6.0 ค่าความเป็นกรดและด่างของดินในระดับนี้เมื่อใส่ปูนลงไปจะไม่มีผลต่อการเจริญเติบโตของพืช ไม่ปลดปล่อยแร่ธาตุออกมามากจนเป็นพิษ ไม่จับตรึงปุ๋ย ไม่ไล่ไนโตรเจน  ฉะนั้นสิ่งสำคัญคือการหมั่นตรวจเช็คสภาพความเป็นกรดและด่างของดินอย่างสม่ำเสมอ.

การใช้หินแร่ภูเขาไฟ (Vocanic Rock) ที่เป็นหินหนืด (magma) จากใต้พื้นภิภพที่มีแรงกดแรงอัดมหาศาลเกิดการเคลื่อนย้ายถ่ายเทไปยังชั้นเปลือกโลกที่บางเบาจนทะลักออกมาเป็น ลาวา (Lava) หลั่งไหลออกมาจากปล่องภูเขาไฟ หินลาวาที่หลอมละลายจากความร้อนหลายล้านองศาเมื่อสัมผัสกับบรรยากาศของเปลือกโลกที่บางเบากว่าเพียงหนึ่งชั้นบรรยากาศก็เกิดการพองตัวคล้ายๆกับการนำเมล็ดข้าวโพดมาคั่วจะระแตกระเบิดเป็น ป๊อปคอร์น (popcorn) ทำให้มีโครงสร้างพื้นที่ผิวที่โปร่งพรุนมหาศาลอีกทั้งยังสามารถละลายปลดปล่อยแร่ธาตุสารอาหารในรูปแบบต่างๆออกมาเป็นประโยชน์ต่อพืชได้ ทึ้ง เหล็ก ทองแดง แมงกานีส สังกะสี โบรอน โมลิดินั่ม นิกเกิล ไททาเนียม และซิลิก้า โดยเฉพาะซิลิก้านั้นมีมากกว่า 70 เปอร์เซ็นต์ที่ละลายน้ำได้แตกต่างจากดิน หิน ทราย แกลบ ที่มีซิลิก้าอยู่จริงแต่ละลายออกมาเป็นประโยชน์ต่อพืชได้น้อย และที่สำคัญการใช้หินแร่ภูเขาไฟนั้นไม่สะสมความเป็นด่างจนเกินโทษต่อดิน ...

 

มนตรี  บุญจรัส

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com

 

หมายเลขบันทึก: 546601เขียนเมื่อ 26 สิงหาคม 2013 09:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 สิงหาคม 2013 09:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท