นอนไม่พอ__ผลสอบไม่ดี


.
ภาพที่ 1: นักเรียนอเมริกันสอบคอมพิวเตอร์พื้นฐาน
.
เร็วๆ นี้อังกฤษประกาศนโยบาย "1 เด็ก 1 โปรแกรม" คือ จะทำให้เด็กอังกฤษรุ่นใหม่เขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ อย่างน้อยแบบง่ายๆ ได้ทุกคน
.
มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ส่งเสริมโปรแกรมนี้ เช่น วิจัย-พัฒนาแผงวงจรคอมฯ ขนาดเท่าฝ่ามือ (Raspberri Pi) ต่อจอ-คีย์บอร์ด-เมาส์ภายนอก ราคาประมาณ 1,000 บาทเศษ ฯลฯ เพื่อให้ราคาคอมฯ ถูกลง
.
แผงวงจรนี้ทดลองขายออนไลน์ครั้งแรก ขายได้หมดใน 2 ชั่วโมง
.
ถ้าอังกฤษทำสำเร็จได้เกิน 1/10 หรือ = เด็ก 10 คน เขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์อย่างง่ายได้ 1 คน, อังกฤษจะก้าวไปอีกไกล (แสนไกล)
.
.
ภาพที่ 2: นักเรียนอินโดนีเซียสอบข้อเขียน กางเกงนักเรียนสีเขียว สีเดียวกับโสร่ง-ผ้าถุงนักเรียนพม่า
.
สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า คนอินโดฯ มักจะมีบัญชีเฟซบุค 2 ชื่อ
.
ชื่อหนึ่ง "เรียบร้อย_เป็นทางการ" แสดงออกในด้านดี มีศีลธรรมตามหลักศาสนา
.
อีกชื่อหนึ่งเป็นชื่อปลอม หรือชื่อเล่น แสดงออกถึงอะไรที่เป็นตัวของตัวเอง
.
เรื่องนี้บอกเราว่า ยอดคนใช้สังคมออนไลน์จริงๆ อาจจะต้องหาร '2' เป็นอย่างน้อย เพราะบางคนใช้ชื่อหลายชื่อ บางคนก็สมัครไว้ แล้วไม่ได้ไปใช้งานเป็นประจำ
.
เช่น ถ้าโลกใบนี้มีคนใช้เฟซบุค 1,000 ล้านคน อาจจะมีคนใช้งานประจำจริงๆ ไม่เกิน 500 ล้านคน
.
.
ภาพที่ 2: นักเรียนโรงเรียนมหาตมะ คานธี ศิวะ อัศราม,เจารา อินเดีย สอบข้อเขียน
.
อินเดียเป็น 1 ในประเทศที่มีคนเก่งระดับ "มันสมองของโลก" สูง ไม่ว่าจะเป็นวิศวกรคอมพิวเตอร์ นักคอมฯ อาจารย์มหาวิทยาลัย หมอระดับโลกมากมาย
.
ทว่า... ในประเทศก็มีความเหลื่อมล้ำในโอกาสทางการศึกษาสูง ทั้งจากฐานะ และการแบ่งชนชั้นวรรณะ
.
เร็วๆ นี้ผู้เชี่ยวชาญวิเคราะห์ว่า การทำอัลตราซาวด์ก่อนคลอด เพื่อเลือกเพศลูก (ทำแท้งลูกสาว) ทำให้สัดส่วนผู้ชายในอินเดีย จีน และอีกหลายประเทศมากกว่าผู้หญิง
.
ผลคือ จะทำให้ผู้ชายส่วนหนึ่ง โดยเฉพาะคนจน คนด้อยโอกาสทางการศึกษา สูญเสียโอกาสหาคู่
.
ความบีบคั้นทางสังคม บวกกับบาดแผลจากการฆ่า (ทำแท้ง) ทำให้เกิดแผลเป็นทางใจ
.
อาจารย์ท่านหนึ่งเล่าว่า ตามหลักศาสนาฮินดู, ถ้ามีลูกชาย จะได้ขึ้นสวรรค์
.
เรื่องนี้คงจะทำให้คนที่ไม่มีโอกาสขึ้นสวรรค์, น้อยเนื้อต่ำใจ ไม่มากก็น้อย
.
คนส่วนหนึ่งจะมีความคับแค้น และแสดงออกแบบต่อต้านสังคม (antisocial)
.
เช่น เกิดแก๊งค์ข่มขืนในบางส่วนของอินเดีย ฯลฯ หรือการบ้าคลั่งหาเงินแบบไม่อาย เช่น ขายนมผสมเมลามีนในจีน ฯลฯ
.

.
ภาพที่ 4: นักเรียนสอบเข้าโรงเรียนเทคนิค ดอน บอสโก, สีหนุวิลล์ กัมพูชา ปี 2008/2551
.
เด็กๆ กัมพูชา...แม้ด้อยโอกาส ก็มีชื่อเสียงในเรื่องความขยัน และตั้งใจเล่าเรียน
.
พระภิกษุ สามเณรชาวกัมพูชาที่เข้ามาเรียนในไทยมีชื่อเสียงในเรื่องความขยัน ความจำดี(มาก)
.
นักศึกษาวิศวะขแมร์สอบได้ที่ 1 ในมหาวิทยาลัยบูรพามาแล้ว
.
ผู้เขียนมีโอกาสไปทำบุญสร้างพระเจดีย์ที่วัดเวฬุวัน พนมเปญ กัมพูชา กราบเรียนถามสามเณรที่นั่นว่า ท่านเรียนภาษาอังกฤษจากที่ไหน ทำไมพูดชัดมาก
.
ท่านบอกว่า เรียนมา 1 เดือนกว่าแล้ว ทางวัดจ้างครูโรงเรียนกวดวิชาไปสอน
.
อาจารย์ที่สอนบอกว่า แม้แต่ผู้เขียนก็ควรไปเรียนภาษาอังกฤษที่นั่น จะได้เก่ง (โอ้โฮ...)
.
.
สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานเรื่อง "นอนไม่พอ__คะแนน(สอบ)ไม่ดี"
, ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ
.
การศึกษาใหม่จากบราซิล ทำในกลุ่มตัวอย่างนักเรียนโรงเรียนสาธารณะเซา เปาโล (น่าจะเป็นโรงเรียนรัฐบาล หรือโรงเรียนที่คิดค่าเรียนไม่แพงแบบเอกชน) อายุ 7-10 ปี
.
เม็กซิโก และประเทศส่วนใหญ่ในอเมริกากลาง-อเมริกาใต้ เป็นอดีตอาณานิคมสเปน ใช้ภาษาสเปน
.
ยกเว้นบราซิลเป็นอดีตอาณานิคมโปรตุเกส ใช้ภาษาโปรตุเกส
.
ผลการศึกษาพบว่า เด็กๆ ที่มีปัญหาการนอน เช่น นอนไม่พอ นอนไม่หลับ ฯลฯ สอบได้เกรดต่ำลงดังนี้
.
(1). ภาษาโปรตุเกสต่ำลง 30% มากกว่าเด็กที่ไม่มีปัญหาการนอน (9%)
.
(2). คำนวณ-คณิตศาสตร์ต่ำลง 25% มากกว่าเด็กที่ไม่มีปัญหาการนอน (8%)
.
ผู้เชี่ยวชาญประมาณการณ์ว่า เด็กอเมริกันมีปัญหาการนอน = 1/4 ของทั้งหมด
.
การนอนไม่หลับ-นอนไม่พอ เพิ่มเสี่ยงน้ำหนักเกิน โรคอ้วน โรคหัวใจ และเบาหวานในระยะยาว
.
การศึกษานี้พบว่า เด็กที่นอนไม่พอ เพิ่มเสี่ยงผลการเรียนต่ำลง
.
เด็กที่ผลการเรียนต่ำลง เพิ่มเสี่ยงต่อการเรียนไม่จบการศึกษาภาคบังคับ (dropout)
.
บราซิลแบ่งเกรดจาก 0-10 โดยถือว่า ถ้าได้ 5 ขึ้นไป ถือว่าสอบผ่าน
.
เด็กที่มีปัญหาการสอนสอบภาษาโปรตุเกสได้เกรดต่ำลงดังนี้
.
(1). ภาษาโปรตุเกส = 6.6 ต่ำกว่าเด็กที่ไม่มีปัญหาการนอน (7.1%)
.
(2). คำนวณ-คณิตศาสตร์ = 6.3 ต่ำกว่าเด็กที่ไม่มีปัญหาการนอน (7.1%)
.
.
ผู้ใหญ่ส่วนใหญ่ต้องการนอน 7-8 ชั่วโมง/คืน

เด็ก-วัยรุ่นส่วนใหญ่ต้องการนอน 8-9 ชั่วโมง/คืน
.
วัยรุ่นส่วนหนึ่งมีแบบแผนการนอนแบบ "นกฮูก" คือ นอนดึก-ตื่นสาย มากกว่าผู้ใหญ่ส่วนใหญ่ที่มีแบบแผนการนอนแบบ "แม่ไก่" คือ นอนไม่ดึก-ตื่นเช้า
.
การนอนให้พอ และไม่นอนดึกเกินไป เป็นการลงทุนเล็กๆ เพื่อผลใหญ่ๆ ในชีวิตของคนเรา
.
.
ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ
.

 > [ Twitter ]

  • ขอขอบพระคุณ / Thank Reuters source > http://www.reuters.com/article/2013/08/16/us-health-poor-sleep-idUSBRE97F0UA20130816 > Sleep Medicine, online July 8, 2013.
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์. 17 สิงหาคม 56. ยินดีให้ท่านนำบทความไปใช้ได้ โดยอ้างที่มา และไม่จำเป็นต้องขออนุญาต... ขอบคุณครับ > CC: BY-NC-ND.
  • ข้อมูล ทั้งหมดเป็นไปเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค; ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูง จำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้
 
หมายเลขบันทึก: 545729เขียนเมื่อ 17 สิงหาคม 2013 13:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 สิงหาคม 2013 13:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท