586. ทฤษฎีสั่งสมความรู้ (Wisdom Inquiry)


ชีวิตทุกวันนี้ เราต่างพบกับความรีบเร่ง ปัญหารุมเร้าเข้ามาแทบแก้ไม่ทัน บางทีพยายามแก้ แก้แล้วแก้อีก บางครั้ง ก็กลับมาที่เดิมคือปัญหายังมีอยู่อย่างเดิม..และหลายครั้งเมื่อคุณเมื่อคุณแก้ปัญหาได้..คุณก็พบว่า เพียงแค่มี “ความรู้” ในบางเรื่องคุณก็แก้ได้แล้ว บางเรื่องเป็นเส้นผมบังภูเขาด้วย  ...“แค่รู้”  แปลว่าคุณต้องมีความรู้ ... ปัญหาจึงซับซ้อนมาอีกขั้น คือคุณจะหาความรู้ได้จากไหน แน่นอนเท่าที่สังเกตมาหลายปี เรามักหากันเอาเอง ตามบุญตามกรรม ส่วนใหญ่จะเป็นการหาความรู้จากคนไกล้ตัวมากกว่า.. ที่บางครั้งก็มีขีดจำกัด.. วันนี้ผมเลยขอนำเสนอแนวคิดทฤษฎีสั่งสมความรู้ ที่ผมกลั่นกรองจากประสบการณ์ โดยดัดแปลงมาจาก The Theory of Organizational Knowledge Creation ของ Takeuchi และ  Nonaka แต่ผมดัดแปลงและทำให้ง่ายขึ้น ... การหาความรู้ทำได้ด้วยโดยอาศัย Model ข้างล่างนี้ครับ..

                       

แนวทางแรกคือ.. การถามจากคนในวงการเดียวกัน ตัวนี้ส่วนใหญ่คนทำอยู่แล้ว.. แต่บางครั้งก็ไม่ได้คำตอบ เช่นหมอจากฮาวาร์ดคนหนึ่งพยายามค้นหาวิธีการที่คนไข้จะปลอดภัยจากการผ่าตัด คือลดอัตราการตายระหว่างผ่าตัด.. ก็พยายามถามหมอด้วยกัน ศึกษาจากตำราในแวดวงการแพทย์.. ก็ปรับปรุงงานได้ดีลดอัตราการตายได้ระดับหนึ่ง.. ต่อมาท่านไปหาเพื่อนที่เป็นวิศวกรสร้างตึก.. ก็ไปเจอเรื่องมาตรการรักษาความปลอดภัยที่น่าทึ่ง เช่นมีการเช๊คหน้าตาว่าคนขึ้นตึกเป็นใคร.. เลยคิดว่ามาตรการบางเรื่องไม่มีในห้องผ่าตัด..บางครั้งปิดหน้าเข้ามาเป็นสิบยังไม่รู้ว่าเป็นใคร..  ก็เลยเชิญวิศวกรความปลอดภัย (Safety Engineer) มาหารือ และที่สุดก็ได้เช๊คลิส ตรวจสอบความปลอดภัย  หลังจากลองเอามาใช้ในห้องผ่าตัดทั่วโลกหลายแห่ง สามารถลดอัตราการตายระหว่างผ่าตัดลงได้นับ สิบๆ เปอร์เซ๊น  นี่ครับ บางครั้งถามคนในวงการอาจได้ความรู้ที่จำกัด ... เราถามคนนอก ต่างอาชีพเลย..คุณจะเจออะไรที่หลุดกรอบไปจากเดิม.. ขั้นตอนนี้หมายถึงการอ่าน หนังสือ ค้นคว้าแหล่งข้อมูลที่อยู่นอกวงการก็ได้นะครับ

 เอาตัวอย่างไกล้ตัวหน่อย ครั้งหนึ่งผมสอนลูกศิษย์ทำ AI เขาต้องการณณรงค์เรื่องการประหยัดพลังงาน ก็เริ่มให้ทุกคนเล่าเรื่องราวประสบการณ์ดีๆ ในการประหยัดพลังงาน.. นี่เป็นเรื่องความรู้ภายใน.. ก็ได้แนวทางที่น่าสนใจ เช่นมีท่านหนึ่งทำฝ่ายบัญชี แต่ต้องเดินทางไปทำงานหน้างาน แต่เดิมใช้ PC แต่พอมาหน้างาน ออกนอกพื้นที่ก็ค้นพบว่า การใช้โน๊ตบุ๊คนั้นสะดวก แต่ก็มีปัญหาที่เวลาถ่ายโอนข้อมูลกลับมา PC มันเชื่อมต่อกันไม่ได้ ต่อมาก็ไปเรียนรู้จากผู้รู้ในองค์กร ก็ได้วิธีแก้ปัญหา ที่สุดก็ได้แนวทาง จนตอนนี้สามารถใช้โน๊ตบุ๊คก็ทำได้หมดไม่ต้องมี PC ให้ยุ่งยากอีก ตรงนี้เป็นที่มาของการขยายผลว่าจะลด PC ลงเลย นั่นหมายถึงการประหยัดทั้งพลังงานและอุปกรณ์  นี่ไงครับการค้นหาความรู้จากในองค์กร... คราวนี้เนื่องจากคนส่วนใหญ่จะค้นหาความรู้ในองค์กร ผมเลยถามเขาว่าในแผนกมีกี่คน เขาบอกมี 60 คน.. เอาง่ายๆ ผมบอกว่า.. 60 คนนี่ไม่ได้อยู่ตัวคนเดียว มีพี่น้อง มีสามี ภรรยา ที่ทำงานอยู่ต่างสถานที่ นอกจากนี้ยังมีเพื่อน ที่ทำงานอยู่บริษัทต่างๆ หลายแห่งมีวิธีการประหยัดพลังงานดีๆ แน่นอน.. ไม่มากก็น้อย ลองให้ 60 คน นี่ไปถามคนสนิท สักสองคน.. ให้เล่าเรื่องดีๆ เรื่องการประหยัดพลังงานในองค์กรอื่นๆ แล้วเอาเรื่องราวนั้นมาเล่าสู่กันฟัง แค่นี้คุณจะได้เรื่องราว เทคโนโลยีที่อาจนำมาสู่การแก้ปัญหา มากว่าเดิมอีกสองสามเท่าเป็นอย่างน้อย.. จากนั้นพากันเลือกเรื่องดีๆ ไปทดลองขยายผลกัน..

                              

เอาแค่สองเรื่องนี่เราก็รู้มากกว่าเดิมครับ  รู้จนหาทางเลือกได้เลย ส่วนใหญ่ในองค์ จะถามกันแค่วงใน เลยอยู่ในจริงๆ คือในกะลาครับ เลยไม่ไปไหน.. ลองออกนอกคอกบ้างครับ จะเห็นอะไรดีๆ...ลูกศิษย์ผมเป็นช่างกลโรงงาน มีพี่อยู่อีกโรงงานเขาก็บอกว่าติดอะไรก็ไปถามพี่ที่ทำอยู่อีกที่..ผลก็คือเขาได้แนวคิด ได้เทคนิคครับ ไปปรับแต่งเครื่องจักรให้เดินได้ดีมากยิ่งขึ้น.. ดังนั้นเรื่องการถามข้ามอุตสาหกรรม จึงเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นบ่อยๆ อยู่แล้ว.. เอาระดับสูงหน่อย ลูกศิษย์ผมอยู่บริษัทระดับโลก บริษัทต้องการควบรวมกิจการ เขาเป็นผู้ประสาน แต่ไม่ทราบทำอย่างไร ประสบการณ์ในอุตสาหกรรมที่จะไปซื้อกิจการดังกล่าวก็น้อย  ก็เลยโทรไปนัดคุยถามเพื่อนที่ที่เรียนจบ MBA ด้านการเงินมา ซึ่งเธอที่ทำงานอยู่บริษัทเงินทุน...ได้ทุกอย่างเลยครับ คราวนี้ทำงานได้ราบรื่น..  สุโค่ยไหมครับ...

การหาความรู้ประการที่สามนี่ในมุมของผม ถือว่าสุโค่ยเช่นกัน.. นั่นคือการกลับมาหางานตัวเอง แล้วสังเกตรูปแบบ ว่าดีกับไม่ดีต่างกันตรงไหน.. เพราะบางทีถามใครมันก็ยังไม่ไปถึงไหน.. เช่นลูกศิษย์ทำร้านขายรถไถเดินตาม.. มีปัญหาเรื่องการปิดการขาย.. ประมาณว่าอยากปิดการขายเร็ว..ผมเลยถามเขาว่า.. อืม ลองกลับไปตั้งข้อสังเกตสิ.. ว่าลูกค้าที่เราปิดการขายได้เร็ว ต่างจากที่ปิดได้ช้า และปิดไม่ได้เลยนี่.. มันต่างตรงไหน..  ที่สุดเขาก็เริ่มสังเกต.. ลูกค้าที่ปิดการขายได้เร็ว  นั้นมักเป็นผู้ชาย ที่เดินดุ่มๆเข้ามาคนเดียว.. คนพวกนี้เขาหาข้อมูลมาแล้ว แต่ก็มักติดใจอะไรบางอย่าง ถ้าตอบได้ก็วางเงินเลย... ที่สุดนำมาสู่การพัฒนาลานทดลองเครื่องยนต์ เพื่อตอบคำถามด้วยการให้ลองเครื่องซะเลย..  ส่วนที่ปิดการขายได้เร็วน้อยลงมา คือคู่สามีภรรยา ดูเหมือนสามีจะซักมาก ก็ตอบไป ...แต่ภรรยาจะเป็นคนตัดสินใจจริงๆ ว่าจะเอาหรือไม่.. ที่สุดนำมาสู่การจัดโปร ที่ดึงดูดผู้หญิง คือการให้ของแถม... ที่ผู้ชายเองก็งงๆ ว่ามันเกี่ยวกันอย่างไง.  แต่ก็ได้ผลจริง.. สุดท้ายที่ปิดยากมาก คือคนที่มาเป็นครอบครัวใหญ่...ที่สุดก็เริ่มพัฒนาวิธีการคือให้ชมก่อนแล้วนัดมาคุยเดี่ยว หรือคู่ทีหลัง

นี่ไงครับ การสังเกตรูปแบบ (Pattern) แล้วหาความแตกต่างในเชิงบวก (Positive Diviance) ... เป็นอะไรที่คุณต้องหารูปแบบเด่นๆ ขึ้นมา ไม่เกินสามรูปแบบ แล้วหาความแตกต่าง คุณจะได้ความรู้และทางออกไปในเวลาเดียวกัน.. ยากหน่อยครับวิธีนี้แต่ทำมาแล้ว ได้ผล และสร้างความต่าง แปลกใหม่ เอาไปทำจริงก็ประหยัดต้นทุนกว่า.. สุดท้ายการสั่งสมความรู้ที่สำคัญ คือ เอาความรู้จากสามขั้นแรก เลือกที่ชอบสักอย่างสองอย่าง เอาไปทำ เอาแบบไม่ใช้งบประมาณก่อน.. ง่ายสุด.. แล้วดูผลว่าอะไรเปลี่ยนแปลงโดยเราสามารถปรับเปลี่ยนไปได้เรื่อยๆ... เท่าที่เจอมามักดีขึ้น.. เพราะจะว่าไปความรู้ทั้งหมดผ่านการปฏิบัติในภาคสนามมาก่อน.. มันเกิดจริงมาก่อน การขยายผลจึงเป็นไปได้ค่อนข้างจะจริงครับ.. 

                              

 

สรุปแล้วเวลาเจอปัญหา หาจากในคนในวงการหน่อย.. จากนั้นเพิ่มความสุโค่ยด้วยการถามคนนอก... ยังไม่พอลองค้นหา Pattern เอง.. สุดท้ายเลือกเรื่องโดนๆ ไปทำก่อน แล้วดูว่ามันโดนจริงไหม..  แค่นี้คุณและคนของคุณจะมีพลังความรู้เต็มเปี่ยมมากกว่าเดิม อย่างผิดหูผิดตาเลยครับ  แต่ไม่ต้องยึดติดทุกขั้นนะครับ.. ทำสลับไปมาได้ เลือก ทำส่วนใดส่วนหนึ่งของ Model นี้ก็ได้ แต่ที่ต้องทำคือ การเอาไปทำจริงครับ.. จะรู้จริงมากขึ้น..จริงๆ..

 

วันนี้เพียงเล่าให้ฟัง ลองเอาไปพิจารณาดูนะครับ

 

Reference:

Picture 1 was retreived August 17, 2013 from www.aithailand.org  

Picture 2 was retreived August 17, 2013 from http://vimeo.com/62866857

Picture 3 was retreived August 17, 2013 from http://dustn.tv/albert-einstein-on-imagination-vs-knowledge/ 

หมายเลขบันทึก: 545723เขียนเมื่อ 17 สิงหาคม 2013 12:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 สิงหาคม 2013 14:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ขอบคุณค่ะอาจารย์.

ได้เรียนรู้ทฤษฎีการสั่งสมความรู้ ก่อนทานอาหารเที่ยง

จะลองนำไปปรับใช้. และอนุญาตนำไปแบ่งปันให้ทีมงานต่อนะคะ ^___^

ทฤษฎี Wisdom Inquiry ช่วยพัฒนาคนเราให้ก้าวไกล

ขอบคุณมากค่ะอาจารย์

กด like ครับ

อ่านแล้ว มีความสุข แถมทำได้จริงๆด้วย confirm

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท