การใช้สื่อสังคมออนไลน์ในคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา


 

สื่อสังคมออนไลน์ (Online Social Media) เป็นสื่อที่ทรงพลังมหาศาลและมีอิทธิพลต่อสังคมทุกภาคส่วนเป็นอย่างยิ่ง เพราะศักยภาพของสื่อสังคมออนไลน์ สามารถสื่อสารได้อย่างรวดเร็ว และนำเสนอสื่อประสมได้อย่างสมบูรณ์แบบ แต่ด้วยศักยภาพของสื่อ หากมีการจัดระเบียบการใช้งานอย่างเป็นระบบและผู้ใช้เคารพกติกา จะทำให้การใช้สื่อสังคมออนไลน์ทรงพลังนับเท่าทวีคูณ หรือเปรียบเสมือนว่า "คุณธรรม จริยธรรม" การใช้สื่อสังคมออนไลน์ เป็นเสมือนตัวคูณการเพิ่มประสิทธิภาพ 

สภาพการใช้สื่อสังคมออนไลน์ในคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา อาจจัดประเภทของการใช้ได้เป็น ๓ ประเภทของการใช้งาน ประกอบด้วย

ประเภทแรก ใช้เพื่อการสื่อสารในการปฏิบัติงานระหว่างบุคลากร ได้แก่ การสื่อสารระหว่างผู้บริหารกับคณาจารย์ ผู้บริหารกับผู้บริหาร ผู้บริหารกับผู้ปฏิบัติงานในสำนักงาน ระหว่างผู้ปฏิบัติกับผู้ปฏิบัติงานระดับเดียวกัน ซึ่งในส่วนนี้ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวดเร็ว แม่นยำ ถูกต้อง ตัวอย่าง ผู้บริหารเดินทางอยู่ต่างประเทศ สามารถสั่งการ ตัดสินใจประเด็นสำคัญได้ในทันที เห็นภาพ เสียง ทุกอย่างไม่พลาด ประหยัดเวลาไม่ต้องการตัดสินใจ ประหยัดค่าสื่อสารผ่านโทรศัพท์มือถือ 

ประเภทที่สอง ใช้เพื่อการเรียนการสอน ของคณาจารย์ กับนิสิต นักศึกษา ในการสื่อสารเกี่ยวกับการเรียนการสอน การส่งงาน การมอบหมายการบ้าน การแลกเปลี่ยนความคิด การให้คำปรึกษาวิทยานิพนธ์ การเสนอแนะประเด็นงานวิชาการ ทำให้นิสิต นักศึกษา สามารถเข้าถึง คณาจารย์ได้ทุกที ทุกเวลา ดีกว่าการเดินทางไปพบอาจารย์ที่มหาวิทยาลัย ซึ่งบางครั้งก็พลาดเสียเวลาเพราะอาจารย์ติดภารกิจอื่น เข้าถึงตัวได้ยากมาก แต่การเข้าผ่านสื่อสังคมออนไลน์ เข้าถึงประชิดตัว ประชิดความคิดได้อย่างใกล้ชิด

ประเภทที่สาม ใช้เพื่อการวิจัยและพัฒนา มีการพยายามผนวกรวมสื่อสังคมออนไลน์ในการพัฒนาการเรียนการสอน โดยมีงานวิจัยที่คณะศึกษาศาสตร์ กระทำร่วมกับ องค์การยูเนสโก ในการใช้ การเรียนการสอนแบบปัญหาเป็นฐาน (Problem Based Learning) โดยมีการกำหนดปัญหาให้นักเรียนร่วมกันคิด และแลกเปลี่ยนความคิด ความเห็นโดยผ่านสื่อสังคมออนไลน์ นอกจากนั้น ยังมีงานวิทยานิพนธ์นิสิตที่พยายามออกแบบการเรียนการสอนโดยใช้สื่อสังคมออนไลน์  นอกจากนั้น คณะศึกษาศาสตร์ ยังมีการเรียนเชิญ ศาสตราจารย์อาคันตุกะ (Visiting Professor) จากประเทศสหรัฐอเมริกา มาร่วมพัฒนาการเรียนการสอนแบบ Moblie Learing อีกด้วย

สื่อสังคมออนไลน์ ในสถาบันอุดมศึกษา หากส่งเสริมและพัฒนาให้มีทิศทาง จะเกิดประโยชน์มหาศาล หากแต่ว่าปัจจุบัน ยังขาดการส่งเสริมและจัดระบบที่ดี จึงยังมีการใช้สื่อสังคมออนไลน์ ในทางที่ไม่เหมาะสมอยู่บ้าง นอกจากนั้น หากมีการพัฒนาระบบและกฏหมายรองรับการลงนามแบบอีเลคทรอนิคส์ ที่รับรองได้ จะปรับโฉมการบริหารงานในมหาวิทยาลัยให้ครองตัวมากกว่านี้ เพราะปัจจุบันผู้บริหาร (อธิการบดี รองอธิการบดี คณบดี) ตัดสินใจออนไลน์ได้ แต่ลงนามเป็นทางการไม่ได้ การรักษาการต้องมีตัวตน (เป็นๆ) เดินอยู่ในสำนักงาน ซึ่งประเด็นนี้เป็นแนวคิดแบบอนุรักษ์ สมัยใหม่ นั่งส่วนใดของโลกก็ทำงานร่วมกันได้ ประชุมตัดสินใจได้ ลงนามอนุมัติได้ นี่คือสิ่งที่รัฐหรือหน่วยงานระดับนโยบายจำเป็นต้งอพิจารณา

โดยสรุป การใช้สื่อสังคมออนไลน์ ในสถาบันอุดมศึกษา น่าจะมีสภาพการณ์ที่คล้ายคลึงกัน มีการใช้อย่างกว้างขวาง เข้มข้น ใช้ประโยชน์ได้มาก มีส่วนช่วยส่งเสริมประสิทธิภาพการทำงานภาครัฐได้มาก ประหยัดทั้งเวลา ประหยัดทรัพยากรและเพิ่มประสิทธิผลของงานได้อย่างเป็นรูปธรรม.

 

 

หมายเลขบันทึก: 545659เขียนเมื่อ 16 สิงหาคม 2013 17:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 สิงหาคม 2013 17:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

เรียนท่านคณบดี serface มาหรือยังครับท่าน

อาจารย์ได้ลองใช้ ClassStart.org 

บ้างไหมครับ

 

 

      .... ขอบคุณ ... บันทึกดีดีนี้ ... ได้ความรู้มาก ค่ะ ..... 

อาจารย์สบายดีไหมครับ ;)...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท