"แม่" ..วันนี้



24   กันยายน  2555  แม่มีอาการเจ็บหน้าอกมาก เวลาประมาณ 2 นาฬิกาน้องพาเข้ารพ.ธนบุรี หมอให้ยาและน้ำเกลือแม่หลับได้จนสว่าง  แม่อยู่ รพ.ธนบุรีถึงเช้าวันที่ 26 ซึ่งเป็นวันที่หมอจากรพ.ศิริราชนัดฟังผลจากการเอ๊กซเรย์จากรพ.ชุมพร  พบก้อนเนื้อที่ปอด ผลการวินิจปฉัยก้อนเนื้อแม่เป็นมะเร็งที่คอและปอดระยะที่  4 ตอนนี้แม่เจ็บหน้าอกมาก  กินอาหารยากกลืนลำบาก  สงสารแม่มากแต่ไม่รู้จะช่วยอย่ใงไร แม่เป็นคนฉลาดคงสงสัยว่าตัวเองเป็นอะไร  เพราะป้าและน้ามาเยี่ยม  จากวันนั้นแม่ต้องเดินทางไปรพ.ศิริราชตามหมอนัด มะเร็งคงต้องอยู่อย่างนั้น เพราะแม่อายุ 80  แล้ว และไม่แข็งแรง หมอจะให้ยาตามอาการปัจจุบันที่เป็น เช่น ไอ ก็ให้ยาแก้ไอ  ปวด ให้ยาแก้ปวด  แม่อยู่อย่างนั้น

                                  

20  มิถุนายน  2556  แม่มีอาการหอบต้องเข้าโรงพยาบาลชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ ต้องเข้าเฝือกที่มือเพราะแม่ล้ม กระดูกที่นิ้วแตก นอนพักที่ตึกหมอพร เตียงคนป่วยหนัก"อยู่ในความดูแลของพยาบาลอย่างใกล้ชิด"  วันที่  21  มิถุนายน  2556  แม่ย้ายเข้าห้องพิเศษ ห้อง 307 ตึกเฉลิมพระเกียรติ แม่อยู่ถึงวันที่  26  มิถุนายน 2556

                                   

                      

คืนวันที่ 26  มิถุนายน  2556  แม่ต้องกลับเข้าโรงพยาบาลอีกครั้ง อาการหนักกว่าครั้งที่แล้ว  05.00 น. เช้าวันที่ 27  มิถุนายน  2556 แม่ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ  และให้อาหารทางสายยาง ตึกหมอพรเตียงใกล้พยาบาลที่สุด แม่อยู่รพ.ถึงวันที่ 5  กรกฎาคม  2556 แม่มีอาการดีขึ้น หมออนุญาตให้กลับบ้านได้ ..แต่แม่ไม่เหมือนเดิมแล้ว หมอบอกว่าโรคมะเร็งวางไว้ก่อน  ตอนนี้แม่เป็นโรคเส้นเลือดในสมองตีบ ทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง  แม่จำอะไรไม่ค่อยได้ ซึม เหม่อ นิ่ง เฉย ไม่มีเสียงพูด

                                       

ทำความรู้จักโรคเส้นเลือดฝอยตีบตัน

โรคเส้นเลือดฝอยตีบตัน

โรคเส้นเลือดฝอยตีบตันจะมีอาการแตกต่างจากโรคหลอดเลือดสมองประเภทอื่น คือ มักจะเกิดอาการแขนขาอ่อนแรงและความรู้สึกชาแต่เพียงอย่างเดียว  ปัจจุบัน โรคเส้นเลือดฝอยตีบตันสามารถตรวจพบได้ล่วงหน้าด้วยเครื่อง MRI ก่อนที่อาการของโรคจะกำเริบ ซึ่งเราเรียกผู้ป่วยกลุ่มนี้ว่า "โรคเส้นเลือดฝอยตีบตันที่ไม่แสดงอาการ" หรือ "โรคเส้นเลือดฝอยตีบตันแฝง" ซึ่งหากได้รับการรักษาตั้งแต่แรก ก็สามารถป้องกันไม่ให้โรคแสดงอาการได้สาเหตุของโรคเส้นเลือดฝอยตีบตัน

สาเหตุหลักเกิดจากผนังหลอดเลือดแดงเกิดภาวะแข็งตัว โดยมีปัจจัยหลักคือโรคความดันโลหิตสูง และปัจจัยรองคือโรคเบาหวาน โรคไขมันในเส้นเลือด และการสูบบุหรี่ เป็นต้นเกิดขึ้นเวลาใดสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ทั้งในเวลาที่กำลังออกกำลังกายหรือพักผ่อนนอนหลับภาวะของหลอดเลือดจะเกิดขึ้นที่เส้นเลือดฝอยในสมองส่วนลึก โดยผนังหลอดเลือดจะเกิดภาวะแข็งตัว ทำให้ผนังหลอดเลือดหนาขึ้น และแคบลงจนตีบตันอาการแตกต่างกับโรคหลอดเลือดสมองประเภทอื่นๆ คือจะเกิดเฉพาะอาการแขนขาอ่อนแรงครึ่งซีก และอาการชาเท่านั้น โดยไม่เกิดอาการแทรกซ้อนอย่างอื่นที่รุนแรง เช่น สูญเสียการใช้ภาษา การรับรู้ การมองเห็นซีกเดียว หรือการหมดสติ เป็นต้น อาการโดยรวมจึงค่อนข้างเบา และส่วนใหญ่มักจะฟื้นฟูได้ดี เว้นแต่ในกรณีที่เกิดการตีบตันในหลายจุดโดยไม่รู้ตัว อาจเกิดอาการสมองเสื่อมได้ (Vascular dementia)อาการกำเริบของโรคหลอดเลือดสมอง

อาการกำเริบของโรคหลอดเลือดสมอง มักเกิดจากการที่ความดันโลหิตสูงขึ้นอย่างฉับพลัน  ผู้ที่ป่วยเป็นโรคหลอดเลือดสมอง ส่วนใหญ่มักจะมีลักษณะนิสัยเป็น "คนไม่ชอบแพ้" หรือ "คนขยัน" ซึ่งคนที่ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงก็มักจะมีลักษณะนิสัยเช่นนี้เหมือนกัน  เมื่อจิตใจเกิดความตึงเครียดหรือกระวนกระวาย ร่างกายจะขับฮอร์โมนชื่อ แคทีโคลามีน (Catecholamine) ซึ่งประกอบด้วยอะดรีนาลิน ออกมาในกระแสเลือด ทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น  จึงหมายความว่า คนที่มีลักษณะนิสัยไม่ชอบยอมแพ้หรือเป็นคนขยัน มักจะมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคความดันโลหิตสูง และโรคหลอดเลือดสมองมากขึ้น

การป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง จึงควรขจัดความกระวนกระวายและอารมณ์ฉุนเฉียวในชีวิตประจำออกไปให้มากที่สุด  หากเริ่มมีความรู้สึกกระวนกระวาย ก็ควรออกกำลังกายหรือทำงานอดิเรกเพื่อให้จิตใจผ่อนคลาย โดยควรหาวิธีกำจัดความเครียดตามสไตล์ของแต่ละคน  ความดันโลหิตสูงไม่ได้มีสาเหตุเฉพาะความเครียดเท่านั้น แต่ยังเกิดจากอุณหภูมิอีกด้วย การกระทบกับความเย็นในทันทีทันใด หรืออุณหภูมิภายนอกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จะทำให้หลอดเลือดหดตัว และความดันโลหิตสูงขึ้น จึงควรระวังการใช้ชีวิตประจำวันไม่ให้อุณหภูมิภายนอกมีการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วนัก

นอกจากนี้ การกลั้นปัสสาวะเป็นเวลานานๆ ก็จะทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้นด้วย และเมื่อถ่ายปัสสาวะ ความดันก็จะลดลงอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดอาการหน้ามืดวิงเวียนเกิดขึ้น

ความดันโลหิตที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เป็นชนวนที่ทำให้อาการของโรคหลอดเลือดสมองกำเริบ จึงควรระมัดระวังไว้ด้วยอาการของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองสมองทำหน้าที่ควบคุมสมรรถนะต่างๆ ของร่างกาย เช่น การเคลื่อนไหวของแขนขา การมอง การฟัง การพูด เป็นต้น

ปัจจุบัน เทคโนโลยีทางการแพทย์สามารถเข้าใจได้เกือบสมบูรณ์แล้วว่า สมองส่วนไหนมีหน้าที่กลไกอย่างไร 

เมื่อป่วยเป็นโรคหลอดเลือดสมอง อาการของผู้ป่วยแต่ละรายจะแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับว่ารอยโรคเกิดขึ้นบริเวณตำแหน่งใดของสมอง

อาการบกพร่องบางอย่างอาจสามารถฟื้นฟูให้กลับมาดีหรือใกล้เคียงกับปกติได้ แต่อาการบางอย่างก็อาจจะเหลือติดตัวเป็นความบกพร่องพิการไปตลอดชีวิต ขึ้นอยู่กับพยาธิสภาพของโรค ระยะเวลาที่เริ่มได้รับการรักษา ระยะเวลาที่เริ่มทำการบำบัดฟื้นฟู วิธีที่ทำการบำบัดฟื้นฟู และปัจจัยอื่นๆอีกมาก จึงพยากรณ์ได้ยากว่าผู้ป่วยแต่ละรายจะมีการฟื้นฟูอาการบกพร่องต่างๆ ได้มากน้อยเพียงใด  แต่ที่สำคัญคือ ผู้ป่วยควรยอมรับว่าสภาพและอาการของผู้ป่วยแต่ละรายไม่เหมือนกัน จึงไม่ควรเปรียบเทียบอาการกับผู้ป่วยรายอื่น เพราะอาจจะไม่มีประโยชน์ หรืออาจทำให้เกิดความวิตกกังวลหรือหดหู่ซึมเศร้าจนเกินเหตุ

อาการทั่วไปที่เกิดจากโรคหลอดเลือดสมอง มีดังนี้

อาการแขนขาอ่อนแรง

ร่างกายครึ่งซีกซ้ายหรือขวาซีกใดซีกหนึ่งจะอ่อนแรง (อัมพฤกษ์อัมพาตครึ่งซีก) ซึ่งเป็นอาการที่พบเห็นได้มากที่สุดในบรรดาอาการต่างๆที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองทั้งหลาย   อาการอ่อนแรงครึ่งซีก มักเกิดขึ้นพร้อมกับอาการกล้ามเนื้อเกร็งด้วย เช่น กล้ามเนื้อบางมัดอาจะหดเกร็งและขยับโดยที่สมองไม่ได้สั่งการ หรือนิ้วมืออาจจิกเกร็งโดยไม่รู้สึกตัว ซึ่งต้องค่อยๆคลายออกทีละนิ้ว และต้องใช้แรงอย่างมากในการที่จะกางมือออกมาได้ หรืออาการที่นิ้วเท้าจิกเกร็งลงไปในรองเท้า เป็นต้น   นอกจากนี้ ยังมีลักษณะพิเศษอีกอย่างหนึ่ง คือเมื่อขยับอวัยวะส่วนหนึ่ง ก็จะทำให้อวัยวะอีกส่วนหนึ่งมีอาการเกร็งเกิดขึ้น เป็นต้น   การบำบัดฟื้นฟู นอกจากจะต้องทำกายภาพบำบัดและกิจกรรมบำบัดเพื่อฟื้นฟูอาการอ่อนแรงแล้ว อาจใช้ยาเพื่อช่วยลดอาการเกร็งควบคู่กันไปด้วยบกพร่องในการรับความรู้สึกทางผิวหนัง     พบเห็นมากในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง โดยส่วนใหญ่จะเป็นอาการชาครึ่งซีก และเป็นในซึกเดียวกันกับที่แขนขาอ่อนแรง

ผู้ป่วยที่มีอาการชา จะเกิดความบกพร่องในการรับความรู้สึกที่ผิวหนัง เช่น การสัมผัส ความเจ็บปวด ความร้อน น้อยลงหรือช้าลงกว่าปกติ แต่ในผู้ป่วยบางรายอาจเกิดอาการชาขึ้นพร้อมกับความรู้สึกเจ็บปวด  อาการชาจะแตกต่างจากอาการแขนขาอ่อนแรง คือ มักจะเกิดตามมาภายหลังจากที่ป่วยไปแล้วเป็นเวลาหนึ่ง ซึ่งต่างกับอาการแขนขาอ่อนแรง ซึ่งจะเกิดขึ้นในทันทีที่ป่วย   นอกจากนี้ อาการชาอาจเปลี่ยนแปลงไปตามฤดูกาลและสภาพร่างกายของผู้ป่วยได้อีกด้วย   อาการชาหรืออาการเจ็บปวดนี้ หากเกิดต่อเนื่องเป็นเวลานานๆ จะทำให้ผู้ป่วยเกิดความเจ็บปวด กระวนกระวาย และกลัดกลุ้ม  อาการชาเป็นอาการที่บำบัดรักษาให้หายขาดได้ยาก และไม่มีวิธีบำบัดรักษาที่ได้ผลดีที่สุด

ปากเบี้ยว

เป็นอาการที่มักเกิดขึ้นในช่วงแรก แล้วจะค่อยๆทุเลาลง แต่หากผ่านไปเกินกว่า 1 เดือนแล้วอาการยังไม่ดีขึ้น ก็อาจจะฟื้นฟูสภาพให้ดีขึ้นกว่านั้นได้ยาก

การบกพร่องด้านภาษา  มี 2 ประเภทคือ บกพร่องในการใช้ภาษา และบกพร่องในการเปล่งเสียง

การบกพร่องในการใช้ภาษา ส่วนใหญ่จะเกิดในกรณีที่เป็นโรคในสมองซีกซ้าย (คือเป็นอัมพาตซีกขวา) ผู้ป่วยอาจไม่เพียงแต่จะไม่สามารถพูดได้แล้ว แต่ยังอาจสูญเสียความสามารถในการฟัง การอ่าน และการเข้าใจภาษา ควบคู่ไปด้วย

การบกพร่องทางภาษาแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ ประเภทคือ

เข้าใจสิ่งที่ฟังจากฝ่ายตรงข้าม แต่ไม่สามารถพูดสิ่งที่ต้องการพูดได้ ซึ่งผู้ป่วยส่วนใหญ่จะลำบากในการเริ่มอ้าปากพูดคำแรก และสามารถพูดได้อย่างแคล่วคล่อง แต่ฟังสิ่งที่ฝ่ายตรงข้ามไม่เข้าใจหรือค้นหาคำตอบไม่ได้ จึงพูดจาสับสนจับต้นชนปลายไม่ได้นอกจากนี้ยังมีอาการบกพร่องในการใช้คำศัพท์ บกพร่องในการพูดทวนซ้ำ หรืออาจบกพร่องในทุกๆด้าน ทั้งการพูดฟังอ่านเขียนด้วย    ผู้ป่วยที่มีอาการบกพร่องทางภาษา แม้จะสูญเสียความสามารถในการใช้ภาษา แต่ยังมีสติปัญญาเป็นปกติ ญาติและผู้ดูแลจึงต้องมีความเข้าใจในจุดนี้ด้วย

ส่วนการบกพร่องในการเปล่งเสียง เป็นการบกพร่องในการควบคุมกล้ามเนื้อที่ใช้ในการพูด เช่น ลิ้น ลำคอ และริมฝีปาก  ผู้ป่วยจะสามารถรับฟังและเข้าใจได้ตามปกติ แต่อาจจะพูดไม่ได้เลย หรือพูดได้แต่ไม่สามารถควบคุมการเปล่งเสียงได้อย่างถูกต้อง จึงพูดไม่ชัด พูดตะกุกตะกัก พูดติดๆขัดๆ ไม่สามารถเปล่งเสียงซ้ำๆได้อย่างราบรื่น หรือพูดอ้อแอ้แบบคนเมา เป็นต้น นอกจากนี้ผู้ป่วยที่มีความบกพร่องในการเปล่งเสียงบางราย อาจจะไม่สามารถรับทราบความผิดปกติได้ด้วยตนเอง จึงทำให้การบำบัดฟื้นฟูทำได้ลำบากยิ่งขึ้นบกพร่องในการกลืนกินอาหารและดื่มน้ำ

ผู้ป่วยในระยะเฉียบพลัน (1-2 สัปดาห์แรก) ประมาณ 60% จะมีอาการบกพร่องในการกลืนกิน แต่อาการจะค่อยๆดีขึ้นเองภายใน 2 สัปดาห์   ยกเว้นในกรณีที่มีอาการหนัก หรือเคยเป็นโรคหลอดเลือดสมองมาแล้วทั้ง 2 ข้าง อาจเกิดอาการบกพร่องในการกลืนกินนี้ติดตัวตลอดไป

ผู้ป่วยที่เกิความบกพร่อง จะไม่สามารถกลืนกินอาหารได้ หรือดื่มน้ำได้ โดยเศษอาหารอาจหลุดเข้าไปในหลอดลม และเกิดการสำลัก

ผู้ป่วยบางรายอาจไม่สามารถกลืนน้ำลายได้ จึงอมน้ำลายไว้ในปาก ทำให้มีน้ำลายออกมามากยิ่งขึ้น และเกิดการสำลักน้ำลาย

การที่เศษอาหารหลุดเข้าไปในช่องลมหรือการสำลักน้ำลาย จะทำให้เชื้อแบคทีเรียในช่องปากหรือที่ติดมากับอาหารหลุดรอดเข้าไปถึงปอด ทำให้ปอดอักเสบ และเป็นสาเหตุการเสียชีวิตมากที่สุดของผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคหลอดเลือดสมอง

ผู้ป่วยที่มีปัญหากลืนกิน จึงต้องใช้ความระมัดระวังในการรับประทานอาหาร โดยจะต้องบ้วนปากให้สะอาดก่อนการรับประทานอาหารทุกครั้ง และญาติควรช่วยนวดบริเวณหน้าและบริเวณปากของผู้ป่วย ซึ่งจะช่วยให้กลืนกินได้คล่องขึ้น และควรจัดให้ผู้ป่วยอยู่ในท่านั่งที่มั่นคง โดยไม่ควรให้อยู่ในท่านอน เนื่องการทานอาหารในท่านอน จะทำให้เศษอาหารมีโอกาสหลุดลอดเข้าไปในหลอดลมได้มากยิ่งขึ้น

ระหว่างที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล ผู้ป่วยจะได้รับการฝึกเพื่อฟื้นฟูสรรถภาพการกลืนกินดังกล่าว แต่จะไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้เป็นปกติ ดังนั้นหลังจากกลับบ้าน ญาติและผู้ดูแลจึงต้องให้ความระมัดระวังในเรื่องนี้มากเป็นพิเศษในกรณีที่มีผู้ป่วยมีอาการบกพร่องอย่างรุนแรง และไม่สามารถรับประทานอาหารทางปากได้ จะต้องใช้วิธีให้สารอาหารทางสายยาง ผ่านทางรูจมูก หรือเจาะรูที่หน้าท้องแทน

อาการบวม

ผู้ป่วยหลอดเลือดสมองที่มีอาการอ่อนแรงครึ่งซีก จะมีอาการแขนขาบวม ซึ่งเกิดจากการที่ไม่สามารถขยับแขนขาเพื่อออกกำลังกายได้ อาการแขนขาบวมของผู้ป่วยแต่ละรายจะมากน้อยไม่เท่ากัน ซึ่งหากได้ทำกายภาพบำบัดโดยการเคลื่อนไหวแขนขา อาการบวมก็จะค่อยๆทุเลาไปเอง  แต่หากผู้ป่วยยังไม่สามารถขยับแขนขา ผู้ดูแลหรือคนในครอบครัวก็สามารถช่วยบีบนวดเพื่อลดอาการบวมได้ การบีบนวดให้บีบนวดจากด้านที่อยู่ไกลจากหัวใจไปยังด้านที่อยู่ใกล้หัวใจ เช่น ถ้ามีอาการเท้าบวม ก็ให้เริ่มบีบนวดตั้งแต่ปลายนิ้วเท้าไล่ขึ้นไปจนถึงข้อเท้า หรือถึงหัวเข่า เป็นต้น  นอกจากนี้ยังสามารถป้องกันอาการเท้าบวมได้ด้วยวิธีอื่นอีก เช่น การนอนในท่าที่ยกขาให้สูงกว่าลำตัว การประคบด้วยน้ำอุ่น การไม่นั่งห้อยขาเป็นเวลานานๆ หรือสวมถุงน่องที่ตึงๆ เป็นต้น

การบกพร่องในการขับถ่าย

อาการบกพร่องพิการอีกอย่างหนึ่งที่มักจะเหลือค้างอยู่ของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง คือการควบคุมการถ่ายปัสสาวะ คือ ไม่สามารถกลั้นปัสสาวะได้นาน และปัสสาวะบ่อย อีกทั้งยังอาจมีอาการปัสสาวะเล็ดควบคู่ไปด้วย เนื่องจากไม่สามารถกลั้นปัสสาวะได้  การปัสสาวะบ่อยสามารถรักษาได้โดยการให้ยา Anticholinergic แต่ในกรณีผู้ป่วยเป็นชายวัยกลางคนหรือวัยสูงอายุ อาจทำให้ต่อมลูกหมากโตและปัสสาวะไม่ออก จึงต้องใช้ยาตามคำสั่งแพทย์โดยเคร่งครัด  กรณีที่ผู้ป่วยมีอาการหลงลืมรุนแรง อาจไม่สามารถสื่อสารความต้องการปัสสาวะได้ จึงต้องพาผู้ป่วยไปเข้าห้องน้ำเป็นเวลาอย่างสม่ำเสมอ หรือต้องใช้ผ้าอ้อมสำหรับผู้ใหญ่แทน

การบกพร่องในการมองเห็น

อาการบกพร่องนี้อาจจะเกิดขึ้นในช่วงแรกที่มีอาการป่วย และอาจค่อยดีขึ้นเองตามลำดับ แต่หากไม่ดีขึ้นก็จะบำบัดฟื้นฟูให้กลับสู่สภาพเดิมได้ยาก  อาการที่พบเห็นบ่อยคือ มองเห็นซีกเดียว คือไม่ว่าจะมองด้วยตาขวา ตาซ้าย หรือด้วยตาทั้ง 2 ข้าง ก็จะมองเห็นสิ่งที่อยู่ด้านหน้าเพียงซีกซ้ายหรือซีกขวา ซีกใดซีกหนึ่งเท่านั้น ผู้ป่วยบางรายอาจมองไม่เห็นเพียง 1/4 ของภาพปกติ แต่ในบางรายที่มีอาการหนัก อาจจะมองเห็นเพียงเสี้ยวเดียว คือ 1/4 ของภาพปกติเท่านั้น  ผู้ป่วยบางราย อาจมีอาการที่เห็นภาพซ้อน ซึ่งเกิดจากตาทั้ง 2 ข้างขยับเคลื่อนที่ไม่สอดคล้องกัน แต่หากมองด้วยตาข้างเดียวก็จะเห็นเป็นภาพปกติ โดยอาการบกพร่องทางสายตานี้ จะเกิดขึ้นในซีกเดียวกันกับที่แขนขาอ่อนแรง

เวียนศีรษะ

มีอาการวิงเวียน บ้านหมุน หรือสูญเสียการทรงตัว หากอาการเวียนศีรษะเกิดขึ้นพร้อมกับอาการอื่น ให้สันนิษฐานว่าเป็นโรคหลอดเลือดสมอง

บกพร่องในการเคลื่อนไหว

คือการที่ไม่สามารถควบคุมการเคลื่อนไหวของแขนขาได้อย่างถูกต้อง แม้ว่าแขนขาข้างนั้นจะไม่ได้มีอาการชาหรือเป็นอัมพาตครึ่งซีกก็ตาม เช่น เดินเซ หรือเคลื่อนไหวไม่กระฉับกระเฉง หรือนั่งโอนเอนไปมา หรือยืนทรงตัวนิ่งๆ ไม่ได้ คล้ายกับคนเมา หรือแม้กระทั่งการไม่สามารถสวมใส่เสื้อผ้าหรือถอดเสื้อผ้าได้อย่างถูกต้องด้วย เป็นต้น

หลงลืม

มีอาการหลงลืมเกิดขึ้นโดยทันทีทันใด หากค่อยๆมีอาการหลงลืมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ อาจป่วยเป็นโรคสมองเสื่อมหรือโรคอัลซไฮเมอร์ แต่อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงอาจป่วยเป็นโรคความจำเสื่อม Binswanger's disease ซึ่งมีอาการค่อยเป็นค่อยไปด้วย จึงควรรับการตรวจจากแพทย์ว่ามีอาการของโรคหลอดเลือดสมองด้วยหรือไม่

การบกพร่องในการรับรู้

คือไม่สามารถแยกแยะสิ่งของหรือเรื่องราวได้อย่างถูกต้อง เช่น ไม่สามารถแยะด้านซ้ายขวา สิ่งของ หรือแม้กระทั่งชื่อของนิ้วทั้ง 5 นิ้ว เป็นต้น และยังไม่สามารถคำนวณตัวเลขง่ายๆ อีกด้วย  การบกพร่องในการรับรู้ทางสายตา เช่น การไม่รับรู้หรือไม่สนใจสิ่งที่มองเห็นทางซีกซ้าย คือผู้ป่วยสามารถมองเห็นภาพทางซีกซ้ายตามปกติ แต่สมองไม่แปรสัญญาณภาพนั้นให้ผู้ป่วยรับรู้หรือเข้าใจ จึงทำให้ผู้ป่วยเมินเฉยไม่สนใจสิ่งดังกล่าว และเป็นปัญหาในการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การเดินชนของที่อยู่ทางด้านซ้าย หรือการไม่รับประทานอาหารที่วางอยู่ทางซ้าย หรือการดูทีวีแล้วไม่รับรู้ข้อมูลในครึ่งซีกซ้าย เป็นต้น  การบกพร่องในการรับรู้ทางสายตาแตกต่างจากอาการบกพร่องในการมองไม่เห็นครึ่งซีกที่กล่าวไปแล้วข้างต้น ซึ่งกรณีนั้นเป็นการมองไม่เห็นภาพทางครึ่งซีกซ้ายเลย  การบกพร่องในการรับรู้อาการป่วย คือการไม่รับรู้ว่าตนเองป่วยเป็นอัมพาตครึ่งซีก และยืนยันว่าเป็นปกติดี เป็นต้น

ปวดศีรษะ

ผู้ป่วยโรคเส้นเลือดสมองตีบตัน มักไม่ค่อยมีอาการปวดศีรษะ เว้นแต่ในกรณีที่มีอาการสมองบวมและความดันในกระโหลกศีรษะสูงขึ้น จึงจะมีอาการปวดศีรษะและอาเจียน  หากมีอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรง ให้สันนิษฐานว่าไม่ใช่อาการของโรคเส้นเลือดในสมองตีบตัน แต่เป็นอาการของโรคเลือดออกใต้ชั้นเยื่อหุ้มสมองมากกว่า

โรคซึมเศร้า (Major depressive disorder) 

 ผู้ป่วยบางรายอาจป่วยเป็นโรคซึมเศร้าภายหลังจากที่ป่วยเป็นโรคสมองไปแล้วเป็นระยะเวลาหนึ่ง ผู้ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าอาจสูญเสียความมุ่งมั่นในการทำการบำบัดฟื้นฟู จะพยายามหลบหนีสภาพความจริงใน และบางรายอาจคิดสั้นและไม่ต้องการมีชีวิตอีกต่อไป   ญาติจึงต้องหมั่นสังเกตุ และหากสงสัยว่าผู้ป่วยป่วยเป็นโรคซึมเศร้า ควรปรึกษาจิตแพทย์และรับประทานแก้โรคซึมเศร้า พร้อมกับทำการบำบัดฟื้นฟูต่อไป

อาการฟุ้งซ่านเวลากลางคืน

มีอาการฟุ้งซ่าน ตะโกนโหวกเหวง พูดจาคนเดียว ในยามวิกาล ซึ่งจะทำให้คนในครอบครัวและผู้ดูแลไม่ได้พักผ่อนตอนกลางคืนอย่างเพียงพอ จึงควรขอรับคำปรึกษาจากแพทย์

นอนไม่หลับ

มักเกิดจากการใช้ชีวิตสลับกันในเวลากลางวันและกลางคืน คือในตอนกลางวัน มักจะนอนหลับ เพราะไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้ จึงควรให้ผู้ป่วยได้ออกกำลังกายในตอนกลางวัน หรือใช้ยานอนหลับช่วย

การนอนไม่หลับ อาจมีสาเหตุเกิดจากการหยุดหายใจขณะนอนหลับ (Sleep Apnea Syndrome) ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่มีอาการหยุดหายใจขณะนอนหลับ หรือนอนกรนเสียงดัง จึงควรปรึกษาแพทย์ด้วย

ทีมา http://rehab2554.alotspace.com/stroke.php


วันที่  29  กรกฎาคม  2556 แม่ไปพบหมอที่รพ.ชุมพรตามนัด  หมอให้ยานอนหลับเพราะแม่ไม่หลับไม่นอน ทำให้สุขภาพแย่ลง  ทุกวันนี้แม่ในวัย 81  ปี  สุขภาพไม่ดีเลย  ลูกทุกคนพยามดูแลอย่างเต็มที่ และดีที่สุด ....ทุก ๆ วันได้เห็นหน้าแม่  ได้เห็นรอยยิ้่มก็ปลื้มและชื่นใจที่สุดแล้ว

                                     ในโอกาสวันแม่นี้  ......ดอกไม้ให้แม่ด้วยความรัก  และบูชาจากลูกทุกคน
                                          
หมายเลขบันทึก: 545011เขียนเมื่อ 8 สิงหาคม 2013 21:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 พฤศจิกายน 2013 20:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

-สวัสดีครับ..

-เป็นกำลังใจให้นะครับ..

-คิดถึงแม่จัง..

ยามแม่กำลังป่วย ดู mv นี้แล้วน้ำตาไหลไม่รู้ตัว เป็นความจริงในขณะนี้

 

กำลังใจของคนดูแลเป็นสิ่งสำคัญค่ะ ขอเอาใจช่วยครูแอ๋ม ให้ทำหน้าที่ได้ดีที่สุดนะคะ

รักของแม่  รักไม่มีข้อแม้ รักกว่าชีวิตตัวเอง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท