ภาวะผู้นำทางวิชาการ
ภาวะผู้นำ (Leadership) หมายถึง กระบวนการหรือพฤติกรรมการใช้อิทธิพลเพื่อควบคุม สั่งการ เกลี้ยกล่อม จูงใจ ให้ผู้ตามหรือกลุ่ม ปฏิบัติตามเพื่อการบรรลุเป้าหมาย หรือความเป็นผู้นำ
ภาวะผู้นำ คือคุณสมบัติ เช่น สติปัญญา ความดีงาม ความรู้ ความสามารถของบุคคลที่ชักนำให้คนทั้งหลายมาประสานกัน และพากันไปสู่จุดมุ่งหมายที่ดีงาม คุณสมบัติของผู้นำมีหลายอย่าง หลายด้าน ผู้นำจะต้องมีความสามารถในการปฏิบัติต่อสิ่งเหล่านั้นให้ถูกต้องและได้ผลดี โดยมีองค์ประกอบ คือ ตัวผู้นำ ผู้ตาม จุดหมาย หลักการและวิธีการ สิ่งที่จะทำ และสถานการณ์
ผู้นำจะต้องพัฒนาตนเองให้มีคุณสมบัติที่จะทำให้เป็นผู้พร้อมที่จะปฏิบัติ ต่อสิ่งเหล่านั้นได้อย่างถูกต้องบังเกิดผลดี ภาวะผู้นำ สามารถจำแนกออกได้ 2 ลักษณะ คือ ในลักษณะของการใช้อำนาจบังคับ กำกับควบคุมเพื่อให้ผู้ตามเกิดพฤติกรรมตามที่ตนต้องการ เพื่อการบรรลุเป้าหมาย ส่วนอีกลักษณะหนึ่งก็คือ การใช้สัมพันธภาพที่ดีระหว่างผู้นำกับผู้ตามสร้างความเป็นกันเองเพื่อ กระตุ้น จูงใจ ให้ผู้ตามเต็มใจที่จะมีส่วนร่วม หรือมีพฤติกรรมที่พึงประสงค์ เพื่อการบรรลุเป้าหมายเช่นเดียวกัน
การบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ กำหนดแนวทางการบริหารจัดการหลักสูตร 7 ภารกิจ (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. 2550 : 228 - 232)
1. การเตรียมความพร้อมของสถานศึกษา
2. การจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา
3. การวางแผนดำเนินการใช้หลักสูตร
4. การดำเนินการบริหารหลักสูตร ดำเนินการใช้หลักสูตรเป็นไปตามภารกิจที่ 2 และภารกิจที่ 3
5. การนิเทศ กำกับ ติดตาม ประเมินผล
6. การสรุปผลการดำเนินงานของสถานศึกษา สถานศึกษาสรุปผลการดำเนินงานและเขียนรายงาน มีการสรุปผลการดำเนินงานของสถานศึกษาที่ชัดเจน เป็นระบบ ชัดเจน
7. การปรับปรุงพัฒนากระบวนการบริหารจัดการหลักสูตร
ผู้บริหารสถานศึกษามีบทบาทสำคัญในการบริหารจัดการด้านหลักสูตร ดังนี้ (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. 2555 : 33 - 34)
1. วางแผนปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตร
2. ประเมินความเหมาะสม และคุณภาพของโครงการการพัฒนาหลักสูตร
3. อำนวยการให้เป็นไปตามนโยบาย และปรัชญาของการศึกษาและหลักสูตร
4. อำนวยการในการพัฒนาวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในหลักสูตร
5. ใช้ข้อมูลจากการวิจัยและส่งเสริมการวิจัยในโรงเรียน
6. ประสานงานกับบุคคลอื่น ในการจัดหลักสูตรการเรียนการสอน
7. ทำงานร่วมกับผู้นิเทศในการใช้หลักสูตร ให้สัมพันธ์กับผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ าย
8. เตรียมผู้มีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตร
9. อำนวยความสะดวกในเรื่องเวลา และที่ปรึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตร
10. ช่วยเหลือครูโดยใช้เทคนิคการแนะแนว และที่ปรึกษาเกี่ยวกับการใช้หลักสูตร
11. จัดองค์กร และอำนวยการโครงการที่เกี่ยวกับการจัดบริการทางการศึกษาที่จัดขึ้นเป็นพิเศษ
12. แนะนำเกี่ยวกับการใช้หลักสูตรให้ชุมชนเข้าใจ
13. ส่งเสริมการติดต่อ การประสานงานกับโรงเรียนเดียวกันในการพัฒนาหลักสูตร
ด้านหลักสูตรและการนำหลักสูตรไปใช้ ผู้บริหารควรมีการแนะนำให้ความรู้และสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับหลักสูตรและ การใช้หลักสูตร ควรมีการจัดเตรียม/จัดหาเอกสารประกอบหลักสูตร ส่งเสริมให้ครูจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้ตรงกับจุดมุ่งหมายของหลักสูตร ควรมีการกำหนดนโยบายและแผนงานวิชาการของโรงเรียนไว้ตลอดปีการศึกษา (เนตรทราย บัลลังก์ปัทมา 2551 : ออนไลน์)
สรุปได้ว่าผู้บริหารต้องมีภาวะผู้นำในการบริหารจัดการหลักสูตร ทั้งการวางแผน การอำนวยการ อำนวยความสะดวก ประสานงานกับองค์กรต่าง ๆ
กระบวนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ พระ ราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม หมวดที่ 4 ว่าด้วยแนวการจัดการศึกษา มาตรา 22 ได้กล่าวถึงแนวทางในการจัดการศึกษาไว้ว่า “การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนา ตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด” การจัดการเรียนรู้ของครูจึงต้องยึดหลักการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียน เป็นสำคัญ ครูต้องเปลี่ยนบทบาทจากผู้สอนเป็นผู้แนะนำให้ความรู้ โดยสนับสนุนสื่อและแหล่งเรียนรู้
บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษา ในฐานะเป็นผู้นำในการบริหารจัดการเรียนการสอนเน้นผู้เรียน เป็นสำคัญ มีดังนี้ (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. 2555 : 35)
1. จะต้องเปิดโอกาสให้ครูรู้จักปัญหา ความต้องการและพฤติกรรมของนักเรียนที่สอนเป็นอย่างดี
2. จะต้องช่วยให้นักเรียนได้รับความเสมอภาคทุกคน
3. จะต้องเหมาะสมกับจุดมุ่งหมายของสถานศึกษา
4. จะต้องส่งเสริมให้นักเรียนดำรงชีวิตร่วมกับเพื่อนในหมู่คณะได้อย่างมีความอบอุ่นและมีความสุข
5. จะต้องเปิดโอกาสให้เกิดการฝึกฝนการอยู่ร่วมกันของนักเรียนในระบอบประชาธิปไตยอย่างมากที่สุด
6. จะต้องช่วยให้เกิดบูรณาการประสบการณ์ทั้งมวลของนักเรียน
7. จะต้องกระตุ้นให้ครู ได้ให้ความสนใจกับการพัฒนาการทุก ๆ ด้านของนักเรียน
8. จะต้องยืดหยุ่นให้เหมาะสมกับความต้องการ และความสนใจของนักเรียน
9. จะต้องส่งเสริมสมรรถภาพในการสอนของครูให้ดียิ่งขึ้น
สรุปได้ว่าผู้บริหารต้องมีภาวะผู้นำในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียน เป็นสำคัญ และส่งเสริมให้ครูจัดการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
การสร้างพลังเครือข่ายความร่วมมือเพื่อปฏิรูปการเรียนรู้ การดำเนินการความร่วมมือทางเครือข่ายที่แท้จริงนั้น ควรมีการดำเนินการดังนี้
1. มีการสร้างความไว้วางใจกันและกันของสมาชิกภายในเครือข่าย ในการดำเนินการทางเครือข่ายสิ่งแรกที่ต้องมี คือ ความไว้เนื้อเชื่อใจซึ่งกันและกัน (Trust)
2. มีการแลกเปลี่ยนโครงการและการรับรู้ข้อมูลข่าวสารร่วมกัน หรือการจัดกิจกรรมประชุม/สัมมนาร่วมกัน ทำให้รู้จักซึ่งกันและกันมากขึ้น รู้ว่าสมาชิกแต่ละคนเป็นอย่างไร มีปัญหาอะไร แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร และองค์ความรู้ซึ่งกันและกัน สร้างความใกล้ชิดสนิทสนม ทำให้เกิดการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ควรมีการพบปะกันอย่างน้อยปีละ 3 ครั้ง ในแต่ละครั้งของการพบปะกันจะต้องมีสมาชิกใหม่ ๆ เข้ามาร่วมกิจกรรม/สัมมนาด้วยเสมอ เพื่อเพิ่มสมาชิกในเครือข่าย
3. การใช้ทรัพยากรร่วมกัน เป็นการทำงานร่วมกันโดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด ทั้งในด้านมีการจัดสรร/จัดหางบประมาณ อาจใช้วิธีการตั้งโครงการร่วมกัน แล้วนำไปจัดสรรงบประมาณจากหน่วยงานตนเอง เป็นการประสานการใช้งบประมาณอย่างชาญฉลาด เป็นใช้งบประมาณร่วมกัน รวมทั้งการใช้ทรัพยากรบุคคลทำงานร่วมกัน เช่น ใช้ผู้เชี่ยวชาญในแต่ละด้านเพื่อพัฒนาโครงการร่วมกัน เป็นต้น
4. มีวิธีการประสานการทำงาน เพื่อให้การดำเนินงานของระบบเครือข่ายเป็นไปด้วยดีมีประสิทธิภาพ เช่น ประสานการจัดกิจกรรมร่วมกัน การใช้ทรัพยากรร่วมกัน การแลกเปลี่ยนบุคลากรซึ่งกันและกัน และการแก้ไขปัญหาอุปสรรคร่วมกัน เป็นต้น
กระบวนการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ในสถานศึกษา องค์การเรียนรู้ (Learning Organization) (ออนไลน์) เป็นแนวคิดในการพัฒนาองค์การโดยเน้นการพัฒนาการเรียนรู้สภาวะของการเป็นผู้ นำในองค์การ (Leadership) และการเรียนรู้ร่วมกัน ของคนในองค์การ (Team Learning) เพื่อให้เกิดการถ่ายทอดแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ประสบการณ์ และทักษะร่วมกัน และพัฒนาองค์การอย่างต่อเนื่องทันต่อสภาวะการเปลี่ยนแปลงและการแข่งขัน มีกระบวนการทำงานที่มีประสิทธิภาพและมีผลการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิผล โดยมีการเชื่อมโยงรูปแบบของการทำงานเป็นทีม (Team working) สร้างกระบวนการในการเรียนรู้และสร้างความเข้าใจเตรียมรับกับความเปลี่ยนแปลง เปิดโอกาสให้ทีมทำงานและมีการให้อำนาจในการตัดสินใจ (Empowerment) เพื่อเป็นการส่งเสริมให้เกิดบรรยากาศของการคิดริเริ่ม (Initiative) และการสร้างนวัตกรรม (Innovation) ซึ่งจะทำให้เกิดองค์การที่เข้มแข็ง พร้อมเผชิญกับสภาวะการแข่งขัน
หัวใจของการสร้าง Learning Organization อยู่ที่การสร้างวินัย 5 ประการในรูปของการนำไปปฏิบัติ ของบุคคล ทีม และองค์การอย่างต่อเนื่อง วินัย 5 ประการ มีดังนี้
1. Personnal Mastery : มุ่งสู่ความเป็นเลิศ และรอบรู้
2. MentalModel มีรูปแบบวิธีการคิดและมุมมองที่เปิดกว้าง
3. Shared Vission การสร้างวิสัยทัศน์องค์การ เป็นความมุ่งหวังขององค์การที่ทุกคนต้องร่วมกันปฏิบัติ
4. Team Learn การเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม
5. System Thinking มีความคิดความเข้าใจเชิงระบบ
สรุปได้ว่าองค์กรแห่งการเรียนรู้เน้นการพัฒนาการเรียนรู้สภาวะของการเป็นผู้ นำในองค์การ และการเรียนรู้ร่วมกันของคนในองค์การ ส่งเสริมให้เกิดการถ่ายทอดแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ และทักษะร่วมกัน มีกระบวนการทำงานที่มีประสิทธิภาพและมีผลการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิผล
จากที่กล่าวมาจะเห็นไว้ว่า ผู้บริหารต้องเป็นผู้ที่มีภาวะผู้นำทางวิชา เป็นผู้นำในการบริหารจัดการหลักสูตรซึ่งถือเป็นหัวใจของการจัดการเรียนการ สอนที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ เป็นผู้นำในการการสร้างพลังเครือข่าย ความร่วมมือเพื่อปฏิรูปการเรียนรู้ และเป็นผู้นำในการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ในสถานศึกษา
อุดมการณ์ในการบริหารจัดการสถานศึกษาสู่การปฏิบัติ
3.1 ผู้นำด้านคุณธรรม จริยธรรมและการปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี
ผู้บริหารต้องมีคุณธรรมขั้นพื้นฐาน 8 ประการของกระทรวงศึกษาธิการ คือ ขยัน ประหยัด ซื่อสัตย์ มีวินัย สุภาพ สะอาด สามัคคี มีน้ำใจ เพื่อเป็นผู้นำในการพัฒนาคุณธรรมพื้นฐานสู่ครู บุคลากรทางการศึกษา นักเรียน ชุมชน การดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ผู้บริหารต้องยึดมั่นใน พรหมวิหาร 4 เป็นหลักธรรมของผู้ใหญ่(ผู้บังคับบัญชา)
ที่ควรถือปฏิบัติ 4 ประการ เมตตา (ความรักใคร่
ปราถนาจะให้ผู้อื่นมีความสุข) กรุณา (ความสงสาร คิดช่วยเหลือผู้อื่นให้พ้นทุกข์) มุทิตา (ความพลอยยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดีมีสุข)
อุเบกขา (วางตนเป็นกลาง ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ เมื่อผู้อื่นถึงวิบัติ มีทุกข์)ผู้บริหารต้องมีธรรมะของผู้นำวิชาการ ครองใจคน สร้างมนุษยสัมพันธ์ด้วยสังคหวัตถุ
4
ทาน- การให้ ปิยวาจา- การมีวาจางาม อัตถจริยา - ทำประโยชน์ให้เพื่อนร่วมงาน สมานัตตถา- ปฏิบัติตนคงเส้นคงวา
3.2 วินัยและจรรยาบรรณวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษา
จรรยาบรรณต่ออาชีพ ต้องมีความรักและศรัทธาต่อวิชาชีพครู ธำรงและปกป้องวิชาชีพ พัฒนาองค์ความรู้ในวิชาชีพ สร้างองค์กรวิชาชีพให้แข็งแกร่งสมาชิกในวงวิชาชีพ ร่วมมือในกิจกรรมขององค์กรวิชาชีพ ตั้งใจถ่ายทอดวิชาการ รักและเข้าใจเพื่อนร่วมงาน ผู้ใต้บังคับบัญชาและศิษย์ ส่งเสริมการเรียนรู้แก่ครูและนักเรียน ไม่แสวงหาประโยชน์จากผู้เรียน ทำตนเป็นแบบอย่างที่ดี ให้เกียรติผู้ร่วมงานและผู้เรียน อบรมบ่มนิสัย ช่วยเหลือศิษย์ผู้เรียน
3.3 การมีจิตสำนึก ความมุ่งมั่น การสร้างศรัทธา และมีอุดมการณ์ในวิชาชีพ
จากการศึกษาเอกสารและประสบการณ์นการสร้างจิตสำนึก ความมุ่งมั่น การสร้างศรัทธา และมีอุดมการณ์ในวิชาชีพ ผู้บริหารมีบทบาทสำคัญในการเป็นแบบอย่างแก่ผู้ใต้บังคับบัญชาและนักเรียน การปฏิบัติตนเป็นแบบอย่าง เช่น การตรงต่อเวลา การไปถึงโรงเรียนแต่เช้า การแต่งกายสุภาพ การดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การยึดมั่นในคุณธรรม จริยธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริต รักและศรัทธาในวิชาชีพ
บรรณานุกรม
การสร้างเครือข่าย (Networking). สมัยใหม่. (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก http;//med.md.kku.ac.th/site_data/ mykku_med/...//Networking.doc เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2555.
กัลยาณี สูงสมบัติ. บทบาทผู้บริหาร ผู้นำสมัยใหม่. (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก http://uhost.rmutp.ac.th/
kanlayanee.so/L4/4-1-3.htm เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2555.
เครือข่ายความร่วมมือระหว่างสถาบันในยุคโลกาภิวัฒน์. http://dtad.dti.or.th/index.php?option=
com_content&view=article&id=126:network&catid=8:special-article&Itemid=10
เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2555.
นคร ตังคะพิภพ (2549) การระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน.เพชรบุรี: โรงเรียนเบญจม
เทพอุทิศ.
เนตรทราย บัลลังก์ปัทมา. (2551). บริหารงานวิชาการ...ให้เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง. (ออนไลน์) เข้าถึงได้จากhttp://www.gotoknow.org/blogs/posts/205609. เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2555.
ประชุม โพธิกุล. การวางแผนกลยุทธ์เชิงประยุกต์. สถาบันพัฒนาผู้บริหารการศึกษา ).(ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก http://www.moe.go.th/wijai/strategic%20applies.htm เมื่อวันที่14 กรกฎาคม 2555
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (2532) องค์การสาธารณประโยชน์. นนทบุรี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัย ธรรมาธิราช.
เมธินี จิตติชานนท์. การบริหารงานโดยมุ่งผลสัมฤทธิ์(Results Based Management) (ออนไลน์) เข้าถึงได้ จาก http://iad.dopa.go.th/subject/RBM.doc เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2555.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กระทรวงศึกษาธิการ. (2554). แนวการจัดการเรียนรู้สู่ประชาคม อาเซียน ระดับประถมศึกษา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
. (2555). ใบความรู้ รหัส UTQ-2301: การพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการ (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก
http://www.utqonline.com (วันที่16 กรกฎาคม 2555)
สำนักบริหารงานการมัธยมศึกษาตอนปลาย, กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). คู่มือการสร้างเครือข่ายร่วมพัฒนาและการส่งเสริมศักยภาพผู้เรียน. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
อรทัย ศักดิ์สูง. การประเมินโครงการ. (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก http://www.moe.go.th/wijai/project.htm เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2555.
องค์กรแห่งการเรียนรู้(Learning Organization).(ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก http://www.bloggang.com/
mainblog.php?id=wbj&month=07-12-2007&group=29&gblog=11 เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม
2555.
ผู้นำทางวิชาการคือ ผู้ำที่นำองค์ความรู้ต่างๆ มาทำให้ง่ายต่อความเข้าใจ เอาไปใช้ได้จริง องค์ความรู้ยากๆ เข้าไม่ถึงค่ะ