หลักการ Coaching, Mentoring, และ Counseling สำหรับครู


หลังจากอ่าน cc mail ของ "ผู้ใหญ่" ที่ให้โอกาสผมท่านหนึ่ง ผมเกิดแรงบันดาลใจที่จะ "ถอดบทเรียน" เชิงสังเคราะห์ จากประสบการณ์ทำงานภาคสนามในเขตพื้นที่ ทั้งบทบาทประสานเครือข่าย LLEN บทบาทการขับเคลื่อน PLC  และบทบาทนักวิชาการ ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา 

ผม สืบค้นด้วย google เกี่ยวกับ การฝึก(Coaching) การเป็นพี่เลี้ยง (Mentoring) และ การให้คำปรึกษา (Counseling) พบข้อมูลมากล้นเว็บไซต์ แต่ส่วนใหญ่หรือเกือบทั้งหมด มีฐานบนงานบริษัทเศรษฐกิจ ที่เน้นคิดและทำเพื่อแข่งขันสู่ความสำเร็จและชนะ (Win)

คำที่อยู่ในระดับเดียวกันที่น่าสนใจอีกคำคือ Teamwork สำหรับครู Teamwork คือ ชุมชนเรียนรู้ครูเพื่อศิษย์ (PLC) ที่ครูแต่ละคนเป็นกัลยาณมิตรของกันและกัน  ผมมองว่า ในการทำงานกับครู การ Coaching, Mentoring, และ Counseling ไม่ควรแยกส่วนออกจากกันว่า ครูควรเป็นโค๊ช ผอ.เป็นพี่เลี้ยง นักวิชาการเป็นที่ปรึกษา ฯลฯ แต่ทุกคน ควรเป็นกันลยาณมิตร(KanlayanaMittree) ต่อกัน และเลือกทำบทบาท Coaching, Mentoring, และ Counseling ตามแต่ศักยภาพ ตามแต่โอกาส กาละและเทสะ ตามประสบการณ์ของตนเอง ให้เหมาะสม

โดยมีหลักเน้นดังภาพ 


Coaching___Mentoring.bmp

เพื่อนนักปฏิบัติผู้อ่าน โปรดลองพิจารณาผ่านโสตเปรียบสี ว่าแต่ละบทบาทมีความแตกต่าง สอดคล้องอย่างไร ตามแต่ใจท่านเถิด...

แล้วท่านคิดอย่างไร......


หมายเลขบันทึก: 544158เขียนเมื่อ 31 กรกฎาคม 2013 01:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 สิงหาคม 2013 16:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ขอบคุณท่านอาจารย์..ฤทธิไกร  ที่ให้ความรู้แชร์ประสพการณ์และแลกเปลี่ยนเรียนรู้สิ่งใหม่ๆที่ดี..ทำให้กิดชุมชนเรียนรู้ครูเพื่อศิษย์ (PLC) ของ สพป.มค.3

อาจารย์ครับผมเห็นด้วยอย่างยิ่งครับ........เพราะผมมองว่าหลักการ "ช่องเจ็ดสี"....ฮ่าๆ(มีเจ็ดช่อง)  สามารถตอบโจทย์แนวทางการดำเนินงานของครูได้ครบเลยครับ หากครูรู้ว่าเมื่อไหร่เราจะเป็น  Coacher, เวลาใหนจะ Mentoring, และโอกาสใดจะ Counseling ตามสถานะการและโอกาส และการที่จะทำให้ครูเข้าใจบทบาททั้งสามอย่างและเลือกใช้ได้ถูกที่ถูกเวลา และเหมาะสมตามโอกาสนั้น มันต้องมาจากประสบการณ์การเรียนรู้ของครู ดังนั้นจุดสำคัญที่จะทำให้ครูเกิดพลังและแรงบันดาลใจ คือ ในส่วนที่ อินเตอร์เซคชั่นทั้งสามส่วนของภาพนั้น ผมเข้าใจว่าเป็นประสบการณ์ของคุณครูที่ได้จากการฟัง ถาม อ่าน คิด บวกกับจิตวิญญาณของครูที่จะทำเพื่อเด็กใช่หรือเปล่าครับ  ดังนั้นผมจึงคิดว่า ประสบการณ์ + จิตวิญญาณของครู จะทำให้เกิดการนำหลักการ 

Coaching, Mentoring, และ Counseling มาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

ใช่เลยครับ ท่านอาจารย์ โรงเรียนบ้านหนองกุง

ดีใจที่แม้ว่าจะนำเสนอเพียงแค่ภาพ ไม่ได้เขียนอธิายละเอียด แต่ท่านอาจารย์เข้าใจตรงกัน "เป๊ะ" เลยครับ

เห็นด้วยอย่างยิ่งครับ เนื่องจากเป็นรื่องของ ประสบการณ์+จิตวิญญาณ ของครูแต่ละคน จึงต้องแลกเปลี่ยนกันบ่อยๆ ครับ

ผมติดตามอ่านบันทึกของท่านอาจารย์แล้วน่าสนใจมากเลย

ไม่ทราบว่าถ้าจะนำมาปรับใช้ที่โรงเรียนบ้าง

เราควรเริ่มต้นอย่างไร..

อยากขอความเมตตาจากท่านแนะนำหน่อยครับ

เรียน อ.บินหลาดง ครับ ผมเสนอว่า ททท.  ทำทันทีเลยครับ  ผมคิดว่า สิ่งสำคัญที่สุดการตั้งใจว่าเราจะทำเพื่อลูกศิษย์ ... แล้วเริ่มคิดทำด้วยตนเองเลยครับ เกิดผลอย่างไรมาแลกเปลี่ยนกันครับ  ...  ผมจัดเวทีครูเพื่อศิษย์อีสานทุกปีครับ ช่วงกันายนของทุกปี   ... 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท