CYP_Model


ในการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เราใช้ชื่อโมเดลเราว่า CHK_3PBL Model


         ท่านรองผู้อำนวยการผิน ศรีโยวงศ์ให้ข้อเสนอแนะว่า เราเลิกใช้ CHK. แล้วนะ(ข้าพเจ้าเชยอีกแล้ว)

     เราใช้ CYP เมื่อ 5 ปีมานี้เอง 

    ดังนั้นจากโมเดลจักรยานของเรา CHK_3PBL Model  เปลี่ยนมาเป็นCYP_Model ด้วยการให้ความหมายดังต่อไปนี้

CYP_ Model

C = coach ครูเปลี่ยนบทบาทจากสอนไปเป็น ครูฝึก หรือผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้

                   เน้นการเรียนรู้ด้วยการปฎิบัติ

ได้นำบทสังเคราะห์จาก ดร.ฤทธิไกรดังนี้ค่ะ

              Coaching จากสอนไปเป็น ครูฝึก หรือผู้อำนวยความสะดวกสามารถบอกจุดอ่อน เป้าหมายคือประสิทธิภาพ เน้นรายละเอียดของการปฏิบัติ ใกล้ชิด ติดตาม ต่อเนื่อง คิดเชิงวิพากษ์ เทคนิค เคล็ดลับ ทักษะ ฝึกเพื่อให้รู้จักความพอประมาณ ทำให้เป็น

               Counseling ครูให้คำปรึกษาบอกจุดเปลี่ยน เป้าหมายคือพัฒนาจิตใจ เน้นรายละเอียดของความรู้สึก เน้นคำถามประเภท “เมื่อไหร่ มีผลอย่างไร” ชี้มุมมองใหม่ พิจารณาไตร่ตรองแบบองค์รวม เน้นการคิดบวกความจริง เหตุการณ์ จิตวิญญาณ ปัญญาญาณช่วยให้ภูมิคุ้มกัน ให้แก้ปัญหาเป็น

              Mentoring ผอ.เป็นพี่เลี้ยง สามารถบอกจุดเด่นเป้าหมายในการพัฒนาศักยภาพคน เน้นรายละเอียดของการคิด เน้นคำถามประเภท “ทำไม เพราะเหตุใด” กำกับทิศ ให้สิทธิ์ปรึกษา ให้เวลาถาม เน้นคิดสร้างสรรค์ ทฤษฎี หลักการ ความรู้ ประสบการณ์ เป็นพี่เลี้ยง ให้ได้เรียน รู้เหตุผล ให้คิดเป็น

Y = Young นักเรียนรุ่นใหม่ ต้องมี 3 เก่ง คือ เก่งสื่อสาร  เก่งคิด  และเก่งชีวิต 

                  1.  เก่งสื่อสาร คือผู้เรียนมีทักษะการอ่านและการฟังเป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้ และใช้ทักษะการพูดและการเขียน เป็นเครื่องมือในการนำเสนอความรู้และนวัตกรรมที่สร้างขึ้น

                    2.  เก่งคิด คือ ผู้เรียนรู้จักเชื่อมโยงประสบการณ์ใหม่กับความรู้เดิม มีการความคิดอย่างมีวิจารณญาณ  การตัดสินใจและการสร้างองค์ความรู้ใหม่ ที่นอกกรอบและเป็นอิสระ

                   3.  เก่งชีวิต คือ ผู้เรียนปฏิบัติกิจกรรมที่สร้างปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่นๆ ในโรงเรียน  สังคมและชุมชน  สามารถสร้างทางเลือก ตัดสินใจ ปรับเปลี่ยนและควบคุมกระบวนการเรียนรู้ต่างๆ ด้วยตนเอง  มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม  และมีปัญญาพิจารณาได้ด้วยว่าจะแก้ไขปัญหานั้นได้หลักเหตุผลและปัญญาอย่างไร

P = Process ใช้ 3 PBL เป็นเครื่องมือในกระบวนการเรียนรู้ ได้แก่

                   Pattern-based Learning (การพัฒนาการเรียนรู้ในรูปแบบ) เน้นการพัฒนาทักษะการคิด โดยใช้สื่อและแบบฟอร์มต่างๆ เป็นเครื่องมือช่วยในการ ถอดบทเรียน (สะท้อน ทบทวน แลกเปลี่ยน ระดมสมอง)

                   Project-based Learning (การพัฒนาการเรียนรู้ด้วยกิจกรรม/โครงการ) เน้นการ "ถอดบทเรียน" จากโครงการหรือกิจกรรม ที่ทำร่วมกัน โดยอาจเป็นกิจกรรมที่ครูเป็นผู้ออกแบบ กิจกรรมที่ทางโรงเรียนดำเนินการเป็นประจำทุกปี หรือกิจกรรมใดๆ ที่นักเรียนทำภายในโรงเรียน เช่น กิจกรรมลูกเสือ กิจกรรมชุมนุม ชมรม เป็นต้น  รวมทั้ง กิจกรรมการเรียนการสอนต่างๆ ที่ครูเป็นผู้นำพา  ทุกกิจกรรมจะต้องมีการ สร้างโอกาสให้นักเรียนได้ "ถอดบทเรียน" (ทำ  BAR, DAR, AAR) ก่อนทำ ระหว่างทำ และหลังทำ.... นักเรียนจะได้ฝึกทักษะการคิดและทักษะการทำงานตามวงจรคุณภาพ (PDCA, Plan, Do, Check, Act) 

                   Problem-based Learning (การพัฒนาการเรียนรู้บนฐานปัญหา) เน้น "การเรียนรู้ด้วยตนเอง" ของนักเรียน นักเรียนจะเป็นผู้ คิด ทำ และนำเสนอ ครูเป็นเพียงผู้อำนวย และช่วยเหลือแนะนำเพื่อเสริมแรงบันดาลใจเป็นหลัก PBL ที่ถูกต้องจะทำให้นักเรียนเกิด ทักษะในศตวรรษที่ 21 และพวกเขาจะเรียนอย่างมีความสุขสนุกที่ได้เรียน


คำสำคัญ (Tags): #CYP_ Model#ปศพพ.
หมายเลขบันทึก: 543870เขียนเมื่อ 28 กรกฎาคม 2013 10:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 กรกฎาคม 2013 06:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ผมชอบ ตัว Process หรือ กระบวนการขับเคลื่อนฯ  ด้วย 3PBL ครับ แต่คิดว่า C ที่แทนคำว่า Coach  อาจไม่ครอบคลุม ครูไทยสมัยนี้ ที่ต้องทั้ง Coaching, Counseling, Mentoring, Facilitate, Friend, Father-Mother ซึ่งทั้งหมดนี้ แทนด้วยคำว่า Kanlayanamittree  หรือ KM

ส่วนคำว่า Young ยังไม่สื่อถึงคำว่า เก่งสื่อสาร เก่งคิด และเก่งชีวิต  (ความหมายของเก่งชีวิตที่ให้ ไปซ้อนทับกับเก่งสื่อสาร อาจเปลี่ยนสื่อสารเป็น เก่งเทคโนโลยีสารสนเทศ)

ขอบคุณ อ.ต๋อย เป็นอย่างยิ่ง เป็น Kanlayanamittree ที่แท้จริง  จะนำลงสู่การปฏิบัติเพื่อความยั่งยืน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท