แท็บเอ๋ย...แท็บเล็ต


   นโยบายการแจกแท็บเล็ตนับเป็นนโยบายที่น่าสนใจ แต่เมื่อได้แท็บเล็ตมาอยู่ในมือ การบริหารจัดการในเทคโนโลยีจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ เปิดเทอมใหม่กันอีกคราหลังจากผ่านพ้นนโยบาย One Tablet Per Child ไปแล้ว ผู้ปกครองและอดีต อนุบาล 2 ตัวน้อยๆจึงตั้งตารอการมีแท็บเล็ต(รุ่น ๒ )ในครอบครองอย่างใจจดใจจ่อ ทว่าแม้จนถึงปัจจุบันซึ่งกำลังจะก้าวเข้าสู่เดือนสิงหาคมแล้วก็ยังคงมีเพียงแค่ข่าวการประมูลแท็บเล็ตซึ่งทำให้แท็บเล็ตป. ๑ ยังไม่ถึงมือเด็กน้อย
     หลังจากการไปเป็นวิทยากรอบรมแท็บเล็ต ทำให้เกิดมุมมองการบริหารจัดการเทคโนโลยีที่แตกต่างออกไป ทางเขตพื้นที่รับนโยบายในการลงApplication ของนักเรียนป. ๒ มาสู่เครื่องที่เดิมเคยมีข้อมูลของป. ๑ อยู่ในเครื่อง ในลักษณะการลงApplication ของนักเรียนป. ๒ นั้นจำเป็นที่จะต้องลบข้อมูลของชั้นป. ๑ ทิ้งไป เนื่องมาจากพื้นที่ของเครื่อง Tablet ชั้นป. ๑ นั้นมีจำนวนจำกัดเพียง 6.37 GB ต่อเครื่องเท่านั้น ซึ่งข้อมูลของชั้นป.๑เก่านั้นมีอยู่ 5.50 GB ในขณะที่ข้อมูลใหม่ในการลงApplication ของนักเรียนป. ๒ นั้นมีข้อมูลอยู่ที่ความจุ 6.12 GB ซึ่งถ้าเราเอาของใหม่ใส่ลงไปคงเป็นไปไม่ได้แน่ สิ่งเดียวที่จะทำได้คือการลบข้อมูลเก่าป. ๑ ทิ้งไปแต่ในเมื่อแผน ๒๐๐ วันของชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ทั้งเทอม ๑และ๒ ก็พร้อมเสร็จแล้วการที่จะล้างข้อมูลเก่าป.๑ ทิ้งไปคงเสียดายแย่ (เพราะแผนมาแต่เทคโนโลยีคู่แผนก็หายไปเสียแล้ว) 
      เมื่อได้ระดมความคิดกับคุณครูป.๑และป.๒ (....ซึ่งเป็นคนเดียวกัน 555+) แล้วจึงเสนอท่านผอ.ว่าจะลงแท็บเล็ตเนื้อหาใหม่ป. ๒ เพียงครึ่งเดียว ส่วนอีกครึ่งคงความรู้ของป.๑ไว้เพื่อใช้บูรณาการการเรียนการสอนไปกับแผน ๒๐๐ วันที่ทางสพฐ.ใจดีจัดมาให้ในรูปเล่มสวยงามน่าใช้ต่อไป เวลาใช้แท็บเล็ตหากไม่พอจำนวนเด็กๆ ก็จะใช้โปรแกรมช่วยซึ่งสามารถลงผ่านคอมพิวเตอร์ให้แสดงผลได้เช่นเดียวกับแท็บเล็ตแทน ทำให้หน้าจอแท็บเล็ตปรากฏที่หน้าจอคอมของครูซึ่งใหญ่+อ่านง่าย+เห็นได้ทั่วถึง ทำให้เด็กๆสามารถเรียนรู้ร่วมไปกับเราได้ แม้จะไม่ได้สัมผัสเทคโนโลยีโดยตรงแต่ก็สามารถเรียนรู้ไปได้ไม่ยากนัก
       ความเป็นมือใหม่ก็ยังไม่รู้ว่าสิ่งที่ทดลองทำนั้นจะสัมฤทธิ์ผลมากน้อยเพียงใด และจะผิดถูกประการใดยังไม่รู้ แต่ก็เป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเท่าที่พอจะนึกออกกันในวันนี้...เพื่อให้เด็กน้อยทั้งสองชั้นมีรอยยิ้ม ได้สัมผัสแท็บเล็ตของแต่ละชั้นไม่ต้องแย่งกัน เช่นยามเราเด็กๆข้าพเจ้ามักจะมีสโลแกนว่า...กินไม่แบ่งจะติดคอ! เพราะขนมมีน้อย ต้องแบ่งกันกินนะเออ ^________^”


หมายเลขบันทึก: 543640เขียนเมื่อ 26 กรกฎาคม 2013 00:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 กรกฎาคม 2013 00:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

ที่โรงเรียนก็ร่วมด้วยช่วยกันสู้อยู่ค่ะ คนละไม้คนละมือ
ขอบคุณนะคะ คุณ Wasawat

ขอเป็นหนึ่งกำลังใจนะคะ...

ดีครับมีทางออกที่ดี ไม่ต้องสูญเสียทรัพยากรไป

ผมสงสัยว่าแท็ปเล็ตที่แจกให้ ป1

เวลาขึ้นป2 ก็ติดตัวไปจนจบ ป6หรือเปล่าครับ

แล้วคนที่เขาป1ใหม่ก็แจกใหม่ หรือเปล่าครับ

 

"ของแจก...มักมี..สารพิษ..เจือปน..อยู่เยอะแยะ.."..เสพกัน..อย่างไม่ระมัดระวัง...เอ้ออ..และเอ๋อ..จะเป็นโรคที่เด็กๆจะเป็นกันได้มั้งงง.รวมทั้งผู้ควบคุมอ้ะ..อิอิ...."(ยายธี)

แท๊บเล็ต..เป็นหนึ่งในโครงการประชานิยมของรัฐบาล

ที่ขาดการประชาพิจารณ์ ขาดงานวิจัยรองรับ และปัจจุบัน

ขาดการบริหารจัดการที่ดี..นับวัน..กำลังจะเป็นปัญหาที่สำคัญทางการศึกษาของชาติ

และแน่นอน..เมื่อรัฐบาลชุดใหม่เข้ามา.แท็บเล็ต ก็จะเป็นซากวัสดุ ที่นักการเมืองวางเฉยไม่ให้ความสำคัญ...และไปเล่นเรื่องอื่น ที่ได้เงิน และได้คะแนน ต่อไป

เอ่อ ระเหย ลอยมา ลอยมา แล้วก็ลอยไป.........

 

ดร.พจนา -ขอบคุณค่ะที่เป็นกำลังใจให้

คุณยง - จริงๆแล้วแท็บเล็ตนี่ขึ้นอยู่กับMOUของโรงเรียนแต่ละที่นะคะ บางที่ติดตัวตาม ID 13 หลักเด็กเลย แต่บางที่ก็ไม่ได้ตามเด็กมาค่ะ อย่างที่โรงเรียนก็เป็นการแก้ปัญหาไปพลางๆก่อนค่ะเพราะรอของป. 1 ที่กำลังจะได้เท่านั้น เมื่อป. 1  มาแน่ๆก็จะทำการลงของป. 2 ต่อไปให้ครบทั้งชุดเพื่อให้เด็กได้เรียนครบทุกคนค่ะ

คุณยายธี- ขอบคุณนะคะ สงสัยหนูจะต้องระวัง ของแจกเหมือนกันค่ะ (เชื่อฟังยายธีไว้ไม่เสียหาย) ใช่ไหมคะ ^___^

ผอ.ชยันต์-เขียนเป็นเพลงพวงมาลัยเลยค่ะ ^______^

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท