เรื่องเล่ากับการเรียนรู้(Narrative Medicine Workshop through Stories)


ผู้เขียนเรียนรู้นอกระบบ มาตลอด เป็นการเรียนแบบ"ครูพักกจักจำ" เป็นการเรียน ที่ยังไม่พร้อม และเป็นการทำไปเรียนไป ซึ่งเล่าไว้ในบันทึกเก่าๆว่า เปรียบเหมือน การ "หัดในไถ"ในการเรียนรู้ และเป็นการ "หายในปี่"

    

  

     ผู้เขียนเรียนรู้นอกระบบ มาตลอด เป็นการเรียนแบบ"ครูพักลักจำ" เป็นการเรียน

ที่ยังไม่พร้อม และเป็นการทำไปเรียนไป ซึ่งเล่าไว้ในบันทึกเก่าๆว่า  เปรียบเหมือน

การ "หัดในไถ"ในการเรียนรู้ และเป็นการ  "หายใจในปี่" 

       ในการทำงาน  ในการเขียนบันทึกผ่านGotoKnow ก็ไม่มีหลักเกณฑ์ หลักการ

อะไร เขียนเพราะอยากเล่าเป็นแรงผลักดัน เมื่อมีโอกาสเรียนรู้ ในเรื่องที่สนใจหรือ

อยากรู้ ก็จะพยายามหาความรู้จากเวทีที่มีเรื่องอยากรู้อยากเรียน  แม้หลายครั้งหลาย

หน ต้องเป็นคนนอกรายการ  นอกโค้วต้า หรือนอกกลุ่มเป้าหมาย ก็ไม่ละอายที่จะ

เข้าไปเรียนรู้ด้วยความอยากรู้เป็นที่ตั้ง......


จินตนาการจากการดูหนัง ออกมาบอกตัวตนคุณยาย



         ในเวที"โครงการอบรมปฎิบัติการเวชปฎิบัติเรื่องเล่ากับการเรียนรู้ ที่ทาง 

สรพ.ได้จัดขึ้นเมื่อวันที่  9 - 12 กรกฎาคม 2556 ที่ผ่านมาพียงเห็นชื่อวิทยากรก็ยับยั้ง

ความอยากรู้ไว้ไม่อยู่นั้นคือครูแห่งการเรียนรู้ชั้นเทพ  คุณ หมอโกมาตร มีศาสตร์ และ

ศิลป์ ทั้งการเขียน และพูด ฟังท่านมาหลายเวที มีเรื่องใหม่ๆมานำเสนอทุกเวที สองวัน

ที่ไปเรียนรู้เรื่องการเรื่องเล่า ได้ซึมซับวิธีการจัดเวที  ที่ไม่ให้เวลามาตัวจำกัดการเรียน

รู้ ในทุกขั้นตอนกระบวนการ ผู้เรียนรู้ใช้เวลาได้เต็มที่ในการแลกเปลี่ยนปรึกษากันใน

วง พี่เลี้ยงก็ผ่านกระบวนการ"ปล่อยไปตามจินต์" ไม่โต้แย้ง ไม่ซักถามแต่คอยเติมเต็ม

ให้กำลังใจ ทำให้ คนเล่าเรื่อง  อยากเล่า  คนเขียนเรื่องอยากเขียน  แล้วคนในวงก็วิ

พากษ์กันเอง ซึ่งเป็น บรรยากาศ"ผลัดกันเขียน  เวียนกันอ่าน  วานกันชม" เป็นการเริ่ม

ต้นที่ดี  ที่ได้เขียนตามจินตนาการ  


จินตนาการผู้กองบรรยายได้หลายบรรทัด


        อาจารย์ ได้ ฉายหนัง  เรื่อง "อาคันตุกะยามวิกาล" แล้วให้แต่ละกลุ่ม ภายใต้ 

กติกา การสร้างฉาก/ การแนะนำตัวละคร / ปมขัดแย้งของเรื่อง/  การคลี่คลาย 

ให้ผู้เข้าอบรมเขียนบรรยายหนังที่ได้ดู ทุกคนสามารถเขียนบรรยาย ต่อเชื่อมเรื่องหนัง

ที่ได้ดูอย่างสอดคล้อง  แล้วให้แต่ละกลุ่ม บรรยายลักษณะตัวครในหนังที่ดูชม แบ่ง

เป็น กลุ่มคุณยาย กลุ่มผู้ร้าย กลุ่มตำรวจหรือผู้กอง ซึ่งแต่ละกลุ่ม บรรยายได้

สนุกสนานกว่าการบรรยายเป็นรายคน ..... 


เห็นเพียงภาพไม่ต้องอ่านคำบรรยายก็บอกความหมายว่า นี้คือโจรผู้ร้ายในหนังที่ได้ดู


       ในการเข้าร่วมเวทีที่ผู้เขียนได้ไปประชุมในหลายองค์กร หลายแห่งในช่วงบ่าย 

ถือกันว่าเป็นชั่วโมงปราบเซียน แต่นี้เป็นภาคกลางคืน ผู้เข้าร่วมประชุมอยู่เต็ม อยู่ครบ 

และร่วมกิจกรรมด้วยความสุข(สังเกตุจากรอยยิ้มและเสียงหัวเราะ)  คืนที่สองที่ผู้เขียน

ได้เข้าร่วมเรียนรู้อีก เป็นอะไรที่พิเศษสุดในชีวิต ขณะที่แต่ละกลุ่ม  ฝึกเขียนเรื่องเล่า

ประทับใจ  อาจารย์ก็ กล่อมให้ผ่อนคลายด้วยเสียง เม้าท์ออแกน(หีบเพลงปาก) 

นับเป็นความสุขที่ได้มาเรียนรู้เรื่องเล่าที่มีคุณค่ายิ่งของผู้เขียน........

        "เรื่องเล่ามีบทบาทสำคัญในการเยียวยาความเจ็บป่วยเพราะช่วยให้เราเรียนรู้

และเข้าใจการบริการสุขภาพในแง่ศิลปของการเยียวยา โรคที่ต้องการความเข้าใจใน

ชีวิต และละเอียดอ่อนต่อความเป็นมนุษย์  โดยเฉพาะภารกิจที่ท้าทายวงการสุขภาพ

ในปัจจุบันนั้น  แตกต่างออกไปจากภารกิจในทศวรรษก่อนๆ  เพราะไม่เพียงเป็นภารกิจ

ที่หนักแสยหนัก แต่ยังต้องการความละเอียดอ่อน ซึ่งไม่สามารถบรรลุได้  หาก

ปราศจากพลังแห่งจินตนาการและแรงบันดาลใจจากเรื่องเล่า"

    (ความตอนหนึ่งจากเอกสารแนะนำโครงการเรื่องเล่ากับการเรียนรู้)

 วันนี้ในการเขียนผู้เขียนเป็นศิษย์มีครูในการเขียนเรื่องเล่าแล้ว  แม้จะเป็นศิษย์นอก

กลุ่มเป้าหมาย ก็ถือว่าได้กราบขอเป็นศิษย์แล้ว เพราะแอบลงทะเบียนเข้าประชุมไว้

แล้ว......

ขอบคุณ  สรพ.ที่จัดเวทีพัฒนาคน พัฒนาคุณภาพ 

ขอบคุณอาจารย์ หมอโกมาตร  จึงเสถียรทรัพย์อาจารย์เรื่องเล่า

ขอบคุณน้อง อ้อย รัตา สมบูรณ์ รพ ปากพะยูน ที่เอื้อเฟื้อห้องพัก 

ขอบคุณน้องเอ๋เบญมาศ บุญเรืองขาว รพ ป่าพยอม ที่ให้คูปองอาหาร  

ขอบคุณเพื่อนนักเรียนรู้เรื่องเล่าทุกคนทั้ง 10 กลุ่ม 

และขอบคุณ ตัวเองที่น้ำยังไม่เต็มแก้ว


กลุ่มนี้นับพี่น้องกันแล้ว มาจาก รพ เกาะยาวชัยพัฒน์ พังงา บ้านเกิด ลุงวอ


 

กลุ่มนี้คิดไม่ตกว่าจะเขียนเรื่องอะไรดี  พี่เลี้ยงช่วยหน่อย



กลุ่มนี้ น้องแหม่มจากวังน้ำเขียว เล่าชะตากรรมคนไข้แล้วทนทายาด ขาหักทั้งสามครั้ง


กลุ่มนี้ หรรษาสุดๆ น้องผู้ชาย นำเสนอได้ใจ ได้แรงอกมากๆ


น้องผู้หญิงเล่าเรื่องไปเก็บข้อมูลทำวิจัยที่เขมรมาสู่กันฟัง 


หมายเลขบันทึก: 543636เขียนเมื่อ 25 กรกฎาคม 2013 23:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 กรกฎาคม 2013 13:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (15)

"ครูพักกจักจำ" (ครูพักลักจำ) หรือเปล่าคะ

คนในวงก็วิพากพ์ (วิพากษ์)

ด้วยความเคารพค่ะ (รักหรอกจึงบอกให้)

 

ขอบคุณครับท่านวอญ่า ที่นำเรื่องเล่าดีๆมาแบ่งปัน

ขอบคุณบังหีมที่เขียนเล่าเรื่องคะ

 

 

......  สรพ.ที่จัดเวทีพัฒนาคน .... พัฒนาคุณภาพ .... สรพ.สุดยอดเรื่องคุณภาพ ทุกมิติ ทุกๆ ด้านอยู่แล้ว นะคะ .... โดยเฉพาระ ท่านอาจารย์หมอ โกมาตร  จึงเสถียรทรัพย์ ..... ขอบคุณนะคะ ท่านวอญ่า นำเรื่องราวดีดีมาฝาก นะคะ

ต้องเปลี่ยนชื่อท่านแล้วค่ะ

"ท่านวอญ่าอินเตอร์" ค่ะ 

 

สุขใจกับเดือนรอมฏอนนะคะ 

เรียนน้องครูอิง....ขอบคุณอย่างมากที่มาเป็นนายภาษาให้ จับคำเขียนผิดมาทำให้เขียนถูก 

ทุกครั้งที่บันทึก อ่านทวนรอบสองรอบแต่ก็หลงสายตา ไป

เพราะอย่างนี้ คนเขียนหนังสือ จึงต้องอาศัยคนอ่านพิสูจน์ อักษร

นี้คือความงามของบ้านแห่งโกทูโนว์ ที่ช่วยกันแนะช่วยกันนำ ช่วยกันเติมให้ความสมบูรณ์ในบันทึก...

ขอบคุณ จังหู

ขอบคุณท่านเขียวที่เข้ามาให้กำลังใจ  

วันที่29 สมาคมชาวนาและเกษตรกรไทย

รวมกับสภาเกษตรและกลุ่มเกษตร จะประชุมร่วมกับอธิบดีกรมการค้าที่กระทรวงพานิชย์

เพื่อหาต้นทุนที่แท้จริงของราคาข้าวแต่ละภาค

ยินดียิ่งกับป๋ววอญ่าที่เข้ามาร่วมเรียนรู้ครับ ป๋าครับอย่างลืมมาร่วมงาน SHA havesting นะครับ..

สวัสดีครับ น้อง ก้ามปู 

วันที่ 29 หากไม่ติดภารกิจสำคัญ จะไปเรียนรู้งานประกวดCQI และเรื่องเล่าของ  รพ.เขาชัยสนด้วย

เอาดอกก้ามปูมาฝาก

ว่านก้ามปู /คมขวาน /ดาวดึงส์/ พันมหา (ว่านหลายชื่อ)

เรียนคุณหมอเปิ้ล 

สรพ.จัดเวทีที่ไหน หากมีโอกาส มักไม่พลาดไปร่วม แม้ใช้งบส่วนตัวก็ยินดี เพราะเป็นการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ

สวัสดี น้อง อรสลามัตดาตัง เดือน รอมมาฎอน อัลการีมครับผม

สวัสดีครับ คุณลูกหมู พบกันที่รามาการ์เด้นท์ 13 สิงหาคมนี้น่ะครับ

ขอบคุณมากค่ะวอญ่าท่านผู้เฒ่า มีเรื่องเล่าดีๆอีกละ

สวัสดีคุณ ระพี ได้หลักการหลักเกณฑ์ ในการเขียนเรื่องเล่าจาก หมอโกมาตรมากเลย

ขอบคุณค่ะ พี่ได้ถือโอกาสเรียนรู้ไปกับบันทึกนี้ด้วย

อ่านซะสองรอบ ยินดีกับน้องวอญ่าด้วยที่ได้พบกูรูแห่งจิตวิญาณ

ขอบคุณมากๆค่ะ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท