นีโม...เด็กไม่มีเส้น หายมะเร็งแล้ว


.

.

นีโม... ปลาการ์ตูนตัวน้อย จากภาพยนต์แอนิเมชันของค่ายพิกซาร์ ปี 2546, ภาพยนต์ข้างบนนี้เป็นโฆษณาเชิญชวนให้เด็กทั่วโลกฝึก และซ้อมว่ายน้ำ

สำนักข่าวรอยเตอร์ตีพิมพ์เรื่อง "รักษา(มะเร็งเม็ดเลือดขาว / ลิวคีเมีย)น้องนีโม สู่งานวิจัยใหม่", ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ

.

ภาพที่ 1: โรงแรมแห่งหนึ่งมีจุดขาย คือ ทัวร์ทางน้ำ ไปให้อาหารหมู

.

ภาพที่ 2: นี่ครับ... น้องนีโม

.

ภาพที่ 3: น้องนีโมหน้าซื่อๆ ลองดูไปที่ลูกตามันสิ

.

คุณจอร์จ โกวด์เนอร์ มีสัตว์เลี้ยงแบบว่าน่ารักๆ 6 ตัว เป็นหมูทั้งหมด

ทว่า... น้องนีโมวัย 4 ขวบ หนัก 331 กิโลกรัม มีท่าท่างเปลี่ยนไป

คือ อยู่ๆ ก็หยุดกินอาหาร และหยุดแช่โคลน (ของชอบของน้องๆ)

ท่านจึงพานีโมขึ้นรถ 2 ชั่วโมงไปที่โรงพยาบาล "คูหา (Cornell University Hospital for Animals / คูฮ่า)" ของมหาวิทยาลัยคอร์แนวล์
.

ผลการตรวจพบว่า น้องนีโมเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาว หรือลิวคีเมียชนิดบีเซวล์ (B-cell lymphoma)

อาจารย์หมอที่นั่นบอกว่า ไม่เคยรักษามะเร็งในหมูมาก่อนเลย

คุณโกวด์เนอร์เลยบอกหมอว่า น่าจะลองรักษาน้อง

โดยใช้ประสบการณ์จากการรักษาน้องหมาและคนรวมกัน

.

ที่สำคัญ คือ แพงเท่าไรก็จ่ายได้

4 เดือนผ่านไป... นีโมก็หาย นับเป็นสัตว์ตัวใหญ่ที่สุดที่ผ่านการรักษามะเร็งสำเร็จ

อ.ดร.เอมิลี บาร์เรวล์ แพทย์ประจำบ้านที่ดูแลรักษาน้องบอกว่า

การให้ยาเคมีบำบัดหมูยากกว่าคนมาก โดยเฉพาะหมูไม่ใช่ "เด็กเส้น"

.

การจะหาเส้นเลือดหมูแต่ละเส้นทำได้ยากมากๆ

ขาก็หนา ไม่เห็นเส้นเลือดง่าย แถมยังอาจนอนทับตอนกลางคืน

คอก็ใหญ่ หนังก็หนา ชั้นไขมันใต้ผิวหนังก็หนา

ทำให้หาเส้นได้ยาก

.

ทว่า... อาจารย์หมอจากคอร์แนวล์ก็พัฒนาวิธีจัดการกับพวก "ไม่มีเส้น" จนได้

หลักการ คือ ผ่าบริเวณหลังหูน้อง (ดมยาสลบ)

นำพอร์ท หรือแท่นสำหรับแทงเข็ม (vascular access port) ขนาดเล็ก

ต่อเข้ากับเส้นเลือดดำที่คอ (jugular vein)

.

แล้วเย็บปิด คล้ายกับที่ทำในคนไข้ฟอกไต

พอร์ท หรือแท่นสำหรับแทงเข็มได้หลายครั้ง มีใช้มาก่อนในน้องหมา และคน

ตอนนี้น้องนีโมอยู่ในระยะมะเร็งสงบดี (remission) ไม่มีอาการ

ตอนนี้ทาง รพ.คูหา หรือ รพ.คูฮ่า กำลังคิดสตางค์อยู่

.

ค่ายาสำหรับสัตว์ขนาดน้องโกลเดน รีทรีฟเวอร์ เฉลี่ย = 4,500 ดอลลาร์ฯ​ = 135,000 บาท

คาดว่า ค่ายาน้องนีโมน่าจะตกประมาณ​ 7-8 เท่า, เฉลี่ย 7.5 เท่า = 1,012,500 บาท

นี่ยังไม่ทราบว่า ทาง รพ.จะคิดค่าหมอ ค่าหัตถการหรือค่าลงมือทำ เช่น ค่าให้ยา ค่าทำทางต่อเส้นเลือด ฯลฯ หรือไม่

เรื่องที่รู้ตอนนี้ คือ รพ.ได้หน้า,...

.

อาจารย์หลายๆ ท่านจะได้ผลงานวิจัย

ซึ่งอาจจะได้ดิบได้ดีเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์, รองศาสตราจารย์อะไรกัน

ทางคุณโกวด์เนอร์ก็พอใจที่น้องกลับมากินอะไรอร่อยๆ ได้อีก

นี่เป็นข่าวดีสำหรับน้องนีโมตัวน้อยๆ

.

คนเราควรเตรียมตัวให้เป็น "เด็กเส้น" ไว้บ้าง

อย่างน้อยเวลาไปเจาะเลือดตรวจโน่นนี่, ไปบริจาคเลือด, หรือไปรักษาโรคจะทำให้หาเส้นเลือดได้ง่ายขึ้น

วิธีการทำตัวเป็น "เด็กเส้น" ที่ง่ายๆ คือ

หาที่บีบมือ (hand grip) มา, ใช้ผ้าหุ้ม เพื่อกระจายน้ำหนัก (ลดเสี่ยงนิ้วล็อค)

.

แล้วบีบ 10 ครั้ง 3 เซ็ต วันเว้นวัน

จะใช้วิธีฝึกแบบ "ฟาร์เมอร์ วอล์ค (Farmer's walk)" ก็ได้

คือ หาของหนักหน่อย เลือกที่จับให้ใหญ่ ใช้ผ้าหุ้ม เพื่อกระจายน้ำหนัก

เช่น ลูกต้มน้ำหนัก กระเป๋าเดินทาง ฯลฯ มาถือ ห้อยแขนลง แล้วเดินออกกำลังกาย

.

ไม่นาน... จะเริ่มเป็นเด็กเส้น

ไปไหนก็มีเส้น

จะเจาะเลือด หาเส้นอะไร

เป็นดีทั้งนั้น

.

ที่ดีที่สุด คือ เวลาป่วยหนัก อุบัติเหตุ หรือช็อคอะไรนี่

คน "เส้นใหญ่ (หาเส้นง่าย)" มีโอกาสรอดสูงกว่า

เพราะยิ่งหาเส้นได้เร็ว

เร็วกว่าตรงนี้... อาจจะหมายถึงชีวิต(รอด)

.

ทุกวันนี้ผู้บริจาคเลือดประจำมีสิทธิ์สมัครเข้าคิวบริจาคไขกระดูก

คุณสมบัติข้อหนึ่ง คือ ต้องเป็น "เด็กเส้น"

"เส้น" ที่อื่นก็ไม่ได้ ต้องมีเส้นเลือดดำตรงกลาง ด้านหน้าข้อศอกที่เห็นชัด และใหญ่พอ

ประเทศไหนมี "เด็กเส้น" แบบนี้มากๆ... ประเทศนั้นจะได้เปรียบในการแข่งขันกับนานาชาติครับ


หมายเลขบันทึก: 543631เขียนเมื่อ 25 กรกฎาคม 2013 21:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 กรกฎาคม 2013 22:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เป็นกำลังใจให้ค่ะ

ขอบคุณมากนะคะ ที่กรุณาแบ่งปันเรื่องราวดีๆ ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท