เข้าชมพิพิธภัณฑ์ฟรีทุกวันอาทิตย์


มาใช้เวลาว่างในวันอาทิตย์เรียนรู้เรื่องราวในอดีตกับพิพิธภัณฑ์กันดีกว่าค่ะ

          มีข่าวดีมาบอกค่ะ  ตามที่รัฐบาลได้มีนโยบายเสริมสร้างสถาบันครอบครัวให้เข้มแข็ง  โดยกำหนดให้ทุกวันอาทิตย์เป็นวันครอบครัว  เพื่อให้สมาชิกในครอบครัวได้ร่วมกันทำกิจกรรม  อันจะก่อให้เกิดความอบอุ่นในครอบครัว  และเพื่อเป็นการสนับสนุนนโยบายดังกล่าว  กรมศิลปากรจึงเห็นควรงดเก็บค่าเข้าชมโบราณสถาน  อุทยานประวัติศาสตร์  และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ  สำหรับคนสัญชาติไทยที่พาครอบครัวมาเข้าชมในวันอาทิตย์ทุกสัปดาห์ค่ะ
          พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ  ชุมพร  ซึ่งเป็นหน่วยงานหนึ่งในกรมศิลปากร จึงขอเชิญชวนเพื่อนๆ  พาครอบครัวมาเที่ยวพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ  ชุมพร ในวันอาทิตย์  โดยไม่เสียค่าเข้าชมได้ตั้งแต่วันที่  16  ตุลาคม - 25  ธันวาคม  2548  ค่ะ  แล้วพบกันนะคะ

หมายเลขบันทึก: 5432เขียนเมื่อ 16 ตุลาคม 2005 13:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 14:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

การจะเก็บค่าเข้าชมหรือไม่ ค่าเข้าชมพิพิธภัณฑ์ก็ถูกมากอยู่แล้ว จนไม่คุ้มการต้นทุนในการดำเนินการ ดังนั้นการไม่เก็บค่าเข้าชมก็ไม่มีผลต่อพิพิธภัณฑ์เท่าใดนัก จะไม่เก็บค่าเข้าชมเสียเลยก็ได้แต่การที่รัฐพยายามให้พิพิธภัณฑ์ออกนอกระบบ และพึ่งตนเองให้ได้นั้น จะไม่เก็บค่าชมพิพิธภัณฑ์ไม่ได้แล้ว ทั้งยังควรเก็บค่าเข้าชมให้สูงขึ้นเพื่อให้คุ้มกับต้นทุนด้วย ยิ่งวันอาทิตย์เป็นวันที่มีรายได้จากการเข้าชมสูงสุด  การไม่เก็บค่าเข้าชมยิ่งทำให้การพึ่งตนเองของพิพิธภัณฑ์นั้นเป็นไปไม่ได้เอาเสียเลย  นี่เป็นเรื่องการขัดกันของนโยบายของรัฐที่เกิดขึ้นบ่อยๆ เป็นธรรมดา    นอกจากนี้ ยังไม่มีเหตุผลที่เชื่อได้ว่า  การไม่เก็บค่าเข้าชมจะดึงดูดคนเข้าพิพิธภัณฑ์มากขึ้น เนื่องจากค่าเข้าชมเดิมก็ถูกมากอยู่แล้ว  จึงไม่เป็นการลดต้นทุนของผู้เข้าชมได้มากพอจะจูงใจให้เขาเลือกมาชมพิพิธภัณฑ์แทนที่อื่น  ด้วยผู้เข้าชมทุกคนที่จะเข้าชมเขามีค่าใช้จ่ายที่จะต้องจ่ายอยู่แล้ว อย่าง ค่ารถโดยสาร ค่าน้ำมัน ฯลฯ  กระทรวงวัฒนธรรมและกรมศิลปากรจึงต้องเลือกที่จะอุดหนุนพิพิธภัณฑ์ต่อไป แล้วไม่เก็บค่าเข้าชม   หรือเก็บในราคาถูก  หรือเลือกที่จะให้พิพิธภัณฑ์พึ่งตนเองให้ได้ แล้วให้แต่ละแห่งเก็บค่าเข้าชมที่สะท้อนต้นทุนการผลิตที่แท้จริง อย่าทำอย่าง งูๆปลาๆ เช่นในขณะที่ให้งบประมาณรายจ่ายในการลงทุนหรือดำเนินการพิพิธภัณฑ์น้อยมาก                                      อย่างเดียวที่จะได้ คือ เสียงชื่นชมรัฐบาลเท่านั้น  โดยปล่อยให้ข้าราชการ เฉพาะอย่างยิ่งกรมศิลปากรต้องทำงานอย่างลำบากยากเย็นต่อไป

 

ขอแก้ไขข้อความที่พิมพ์ผิด ดังนี้

จาก " การจะเก็บค่าเข้าชมหรือไม่ ค่าเข้าชมพิพิธภัณฑ์ก็ถูกมากอยู่แล้ว จนไม่คุ้มการต้นทุนในการดำเนินการ . . ."

เป็น " การจะเก็บค่าเข้าชมหรือไม่ ค่าเข้าชมพิพิธภัณฑ์ก็ถูกมากอยู่แล้ว จนไม่คุ้มกับต้นทุนในการดำเนินการ . . ."

เมื่อกรมศิลปากรตัดสินใจที่จะสนองนโยบายรัฐบาล ก็จะต้องกลับมาพิจารณาถึงข้อเท็จจริงในเรื่องงบประมาณของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติด้วย โดยเฉพาะพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ตั้งอยู่ในต่างจังหวัด อย่าปล่อยให้ตกอยู่ในชะตากรรมแบบที่ ผอ.สพช.บอกว่าก็ขึ้นอยู่กับการบริหารงานของแต่ละพิพิธภัณฑ์นี่สะท้อนให้เห็นวิสัยทัศน์ของ ผอ.สพช.ว่าเป็นเช่นใด

ดูเรื่อง ตราประจำเมืองชุมพรและตราประจำตำแหน่ง   ได้ที่      บล็อก ประวัติศาสตร์ไทย  ชุมชนบล็อก ประวัติศาสตร์  หรือที่ thaihistory.gotoknow.org  โดยตรง

ดูข้อมูลเรื่อง ตราประจำเมืองชุมพร และตราประจำตำแหน่ง  เพิ่มเติมได้ที่บล็อกประวัติศาสตร์ไทย ชุมชนบล็อกประวัติศาสตร์หรือที่ thaihistory.gotoknow.org  โดยตรง ซึ่งหากค้นคว้าข้อมูลอะไรได้ ก็จะพิมพ์เพิ่มเติมในข้อคิดเห็น

แม้ห้องจัดแสดงแสงและเสียงเรื่องพายุเกย์ จะดึงดูดความสนใจของประชาชนได้มาก  แต่ต้นทุนในการบำรุงรักษาอุปกรณ์ค่อนข้างสูง ขณะที่ให้คุณค่า/ความรู้แก่ผู้เข้าชมไม่มากนัก และสิ่งที่จัดแสดงนั้น ก็ไม่สะท้อนความเป็นพิพิธภัณฑ์ประจำเมืองเท่าใดนัก  อยาก พช.ชุมพร เสนอกรม ขออนุมัติเปลี่ยนแปลงห้องจ้ดแสดงดังกล่าว  ส่วนจะให้จัดแสดงอะไรนั้น ควรศึกษาข้อมูลให้ละเอียดชัดเจน รวมทั้ง ต้องฟังความเห็นของชาวชุมพรด้วย

คำถามพื้นๆ ที่เรามักมองข้ามไป อย่างเช่น ถามว่า ผู้ชมได้อะไรจากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้าง  อะไรเป็นแรงจูงใจให้แต่ละคนเข้าชมพิพิธภัณฑ์    และ พิพิธภัณฑ์ได้ให้อะไรแก่ผู้ชมบ้าง นับเป็นคำถามที่สำคัญที่พิพิธภัณฑ์จะต้องตระหนักและแสวงหาคำตอบอยู่เสมอ     เพราะคำตอบของคำถามเหล่านี้ จะช่วยให้พิพิธภัณฑ์พัฒนาไปในทิศทางทีเหมาะสมและเกิดประโยชน์แก่สังคม

 

เห็นด้วยกับคุณพี่ชายนะคะ  ที่เขียนได้ประทับใจมาก โดนใจจริงๆ  สภาพของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ของกรมศิลปากร  มีคู่แข่ง หรือคิดว่าไม่มีก็ตาม  เช่น  พิพิธภัณฑ์ของเอกชน ของมหาวิทยาลัย  หรือของท้องถิ่น  ที่เค้าทำพิพิธภัณฑ์ที่อาจจะดีกว่า  น่าสนใจกว่า บัตรเข้าชมก็แพงกว่า  แต่ทำไมคนถึงสนใจอยากจะเข้านักหนา  บางพิพิธภัณฑ์ค่าเข้าชมถึง ๒๐๐ บาท    คนยังยอมเสียเลย และพูดถึงตลอดว่าถ้ามีโอกาสก็ยังอยากไปชมอีก   อยากให้ผู้บริหารของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ทุกระดับหันมาปรับปรุงพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติของตนเองให้จริงจังมากยิ่งขึ้น  ไม่ใช่เพียงแต่อ้างว่าไม่มีงบประมาณ
เห็นด้วยกับความคิดเห็นของพี่ชายและพี่สาวค่ะ  แต่มีบางอย่างที่แตกต่างออกไป  คือ  พิพิธภัณฑ์ของเอกชนและพิพิธภัณฑ์ของรัฐมีจุดประสงค์ต่างกัน  อย่าเพิ่งค้านนะคะ  ที่มาแสดงความคิดเห็นอย่างนี้ไม่ใช่เข้าข้างกรมศิลปากรแต่มองสภาพความเป็นจริงอย่างที่มันควรจะเป็นมากกว่า  พิพิธภัณฑ์ของเอกชนอยู่ในสภาพที่ต้องเลี้ยงตนเองให้ได้  มุ่งทำพิพิธภัณฑ์โดยเป็นไปในลักษณะของธุรกิจมากกว่า  (แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าพิพิธภัณฑ์เอกชนจะมุ่งหวังกำไรทุกแห่งนะคะ)   ในขณะที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ  ซึ่งเป็นของรัฐมีจุดประสงค์ในการจัดตั้งโดยมิได้หวังผลกำไร  ถึงแม้ปัจจุบันจะมีการเปลี่ยนแปลงมากขึ้นในเรื่องการบริหารแต่ก็ยังยึดจุดประสงค์อันนี้อยู่  ค่าเข้าชมถึงได้ไม่สูง  เพื่อให้คนทุกระดับสามารถเข้ามาศึกษาหาความรู้ได้  และในกรณีที่พิพิธภัณฑ์เอกชนเก็บค่าเข้าชมแพงกว่าแต่มีคนเข้าชมมากกว่านั้น  ต้องดูว่าพิพิธภัณฑ์เหล่านั้นเป็นพิพิธภัณฑ์ที่จัดแสดงเรื่องราวอะไร  มีจุดเด่นอะไรที่มาดึงดูดความสนใจ  และตั้งอยู่ในสถานที่ใด  เรื่องการแข่งขันในปัจจุบันเป็นเรื่องที่น่ายินดีค่ะ  การมีพิพิธภัณฑ์เอกชน  หรือตามโรงเรียน  และสถานศึกษามากขึ้นนับเป็นนิมิตหมายที่ดีในวงการพิพิธภัณฑ์  ใครที่มีใจรักและมีกำลังทรัพย์กำลังสมองและมีโอกาสทำพิพิธภัณฑ์ก็ถือเป็นเรื่องดีมากๆ ค่ะ (แต่ปัจจุบันพิพิธภัณฑ์เอกชนบางแห่งก็ประสบปัญหาเดียวกับพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเหมือนกันค่ะ  อย่างเช่น  พิพิธภัณฑ์เด็ก  เป็นต้นค่ะ)   การแข่งขันต่างๆ จะให้พิพิธภัณฑ์ทั้งของเอกชนและรัฐมีการตื่นตัวมากขึ้น สำหรับเรื่องการเข้าชมพิพิธภัณฑ์ขึ้นอยู่กับตัวผู้ชมเองด้วยค่ะว่าจะมีความทราบซึ้งในเรื่องที่จัดแสดงมากแค่ไหน  บางครั้งอาจไม่ได้สนใจเรื่องราวที่จัดแสดงก็มีค่ะ  มาเพราะมีในโปรแกรมทัวร์  หรือแวะมาเพราะไม่รู้จะไปที่ไหน  การที่จะทำให้คนไทยเข้าชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติมากขึ้น  คงไม่ได้ขึ้นอยู่กับการทำงานของกรมศิลปกรเพียงอย่างเดี่ยว  แต่ต้องเป็นความร่วมมือร่วมใจกันทุกฝ่ายถึงจะได้ผลค่ะ  ปัจจุบันนี้เวลาไปชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ  จะมีความรู้สึกว่าสงสารคนที่ตั้งใจทำงาน (ไม่รวมคนที่ดีแต่พูดนะคะ) เนื่องจากทุกพิพิธภัณฑ์ได้พยายามนำเสนอเรื่องราวที่เป็นความรู้  ทั้งที่เป็นทางตรงและทางอ้อม  รวมทั้งบางพิพิธภัณฑ์มีงบประมาณในการก่อสร้างและจัดแสดงไม่น้อยเลยที่เดียว  แต่เป็นที่น่าเสียดายที่คนส่วนใหญ่ให้ความสำคัญในเรื่องราวทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีว่าเป็นเรื่องล้าสมัย  ดูแล้วก็ผ่านเลยไป  เรื่องนี้ต้องปลูกฝังกันตั้งแต่เด็ก  ในบทเรียน  ต้องปลูกฝังทัศนคติตั้งแต่แรก  รวมทั้งพ่อแม่ก็ต้องสอนลูกหลานให้เห็นความสำคัญด้วย  ถ้าพ่อแม่ไม่สนใจเด็กก็คงไม่ซาบซึ้งใช่ไหมค่ะ  ที่ออกความเห็นอย่างนี้อาจจะทำให้พี่ชายและพี่สาวคิดว่าน้องคนเล็กเข้าข้างกรมศิลปากรก็ได้  แต่ไม่เป็นไรค่ะ  กรมศิลปากรก็ควรจะมีการปรับปรุงตัวเองในหลายๆ เรื่องเหมือนกัน  แต่ก็ขอเป็นกำลังใจให้คนที่ตั้งใจทำงานต่อไป  และหวังว่ากรมศิลปากรคงยังไม่สิ้นคนดี  ส่วนคนดีมีความสามารถก็อย่าเพิ่งหนีหายไปไหนนะคะ  ยังมีเรื่องที่ต้องอาศัยความร่วมมือจากคนดีๆ เหล่านี้อีกมากค่ะ     
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท