Polanyi กล่าวว่า "Knowledge" เป็นเพียง Tacit Knowledge ไม่มี Explicit Knowledge


ดิฉันเขียนความหมายของ Information กับ Knowledge แบบคร่าวๆ ที่พอสร้างความสับสนเล็กน้อย ไว้ที่ http://gotoknow.org/archive/2005/10/14/15/21/29/e5369 ในบล็อก Tutorial.gotoknow.org

แต่เวลามานั่งคิดเองและพยายามทำความเข้าใจกับนักคิดทั้งหลายไม่ว่าจะเป็น Polanyi หรือ Bohm ก็จะเห็นถึงความแตกต่างที่ชัดแจ้งของ Information กับ Knowledge ("What I know") ก็เลยขอมาเขียนแยกไว้ใน Think.gotoknow.org ดีกว่า เพื่อแกว่งความคิดของตัวเองให้ฟุ้งซ่านได้มากกว่า เพราะดิฉันวาง Theme ของบล็อกไว้ต่างกันกับ Tutorial.gotoknow.org 

ดิฉันอยากเขียนความคิดที่กำลังเป็นถกเถียงกันมากมายของนักคิดทั่วโลกเกี่ยวกับ Knowledge ไว้ในบล็อกนี้ดีกว่าคะ เพราะในบล็อก Think.gotoknow.org เป็นที่ที่ดิฉันใช้รวบรวมความคิดเห็นส่วนตัวและอาจไม่ตรงกับผู้อ่านท่านอื่น ซึ่งดีคะ! เราจะได้มีความคิดเห็นที่แตกต่าง

...........................


ตามความหมายของ Knowledge โดย Polanyi แล้วละก็ Explicit Knowledge ไม่มีด้วยซ้ำคะ มีแต่ Tacit Knowledge หมายความว่า ถ้า Knowledge ถูกเขียนออกมาก็จะเป็น Information แต่เมื่อ Information ถูกตีความในกลไกทางความคิดก็จะเป็น "What I know"

แต่แล้ว Nonaka ก็มาแปลคำว่า Tacit ซึ่งแปลว่า "Hidden" เป็น Implicit เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น ซึ่งแปลว่า"Contained in the nature of something though not readily apparent" หรือ "Implied or understood though not directly expressed" ก็เลยมี Explicit Knowledge เกิดขึ้น ซึ่งเป็นคำตรงกันข้ามกับ Implicit Knowledge คนเราก็เลยเข้าใจว่า Information คือ Explicit Knowledge

นักวิจัยในระดับโลกทั้งหลายทางด้าน Information Science ไม่ยอมรับความหมายของ Knowledge โดย Nonaka นะคะ แต่ด้วยความง่ายของความหมายนี่เอง Knowledge ตามฉบับของ Nonaka ก็เลยโด่งดังขึ้นเรื่อยๆ พร้อมๆ กับ Trend ขององค์กรและบริษัทด้าน IT ในการเปลี่ยนคำว่า Information Management  เป็น Knowledge Management ตามที่เขียนไว้ในบทความ "The Nonsense of Knowledge Management" คะ

แต่สำหรับดิฉันแล้ว หัวปลาหรือเป้าหมายในการสอนนักศึกษาและการพูดคุยให้องค์กรต่างๆ ด้าน KM คือ กระตุ้นให้เริ่มจัดการ "ความรู้" ตามความหมายของ Nonaka ดูจะเข้าใจง่ายได้และจะได้เริ่มลงมือปฏิบัติจัดการข้อมูลข่าวสารเทคนิคการทำงานและประสบการณ์อย่างเป็นระบบ

ดังนั้น ดิฉันก็เลยไม่ยึดติดในความหมายคะ อะไรก็ได้ที่คนทั่วไปเข้าใจได้ง่าย แล้วแต่ใครจะเชื่อว่าอย่างไร แม้ว่าในหัวสมองตัวเองนั้น ยังไม่อยากหยุดตีความคำว่า "What I know" ตามต้นตำรับโดย Philosopher ที่ชื่อว่า Polanyi

...............................

ตามความคิด ความรู้สึก ของคุณดูขณะอ่านหรือเปล่าคะว่าเป็นอย่างไร "คุณคิดอะไรอยู่?" นั่นแหละคือ "Knowing" ส่วนดิฉันเขียนไปคิดไปทำความเข้าใจไปเสนอความคิดไปเรื่อยๆ คะ สนุกดี :)

จันทวรรณ

หมายเลขบันทึก: 5436เขียนเมื่อ 16 ตุลาคม 2005 12:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 สิงหาคม 2013 10:32 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท