การออกแบบกับการมองเห็น


          ทุกวันนี้ใครๆ ก็ออกแบบได้  เพียงแต่มีทักษะทางดอมพิวเตอร์และโปรแกรมสำเร็จรูปในการออกแบบ ขอเพียงให้สามารถควบคุมและใช้งานโปรแกรมได้  ไม่ต้องผสมสี ไม่ต้องใช้พู่กัน ไม่ต้องฝึกมือให้นิ่งเพื่อลากเส้นให้เนี๊ยบ  ดังนั้นนักออกแบบยุคนี้จึงไม่เคยเรียน "หลักการออกแบบ"  การทำงานศิลป์ในยุคนี้จึงมักจะใช้คนที่ "ว่าง, อาสา, และทำให้เสร็จ"  เท่านั้น   เมื่อก่อน  คนที่ไม่รู้หลักการออกแบบจะให้คนที่รู้หลักการออกแบบทำให้  ผลงานที่ออกมาก็จะเป็นไปตาม "หลักการออกแบบ"   แต่ยุคนี้  คนที่ไม่รู้หลักการออกแบบจะให้คนที่ "ไม่รู้หลักการออกแบบ"  ทำให้  ผลที่ได้ก็คืองานที่ออกมาไม่เหมาะสมกับการใช้งาน

           หลักการออกแบบ ใช่ว่าจะคำนึงถึงความงามอย่างเดียว แต่หลักการออกแบบต้องคำนึงถึงประโยชน์ใช้สอยด้วย  ตัวอย่าง การออกแบบป้ายโฆษณา ต้องคำนึงถึงการมองเห็นเด่นชัด เป็นหลัก  การใช้สีจึงต้องตัดกัน  ภาษาการออกแบบเรียก contrast  และหลักการ "รูปและพื้น"  เช่น การออกแบบตัวอักษรขาวให้อยู่บนพื้นสีดำ จึงมองเห็นได้ชัดกว่าการออกแบบให้ตัวอักษรดำบนพื้นสีน้ำเงิน เป็นต้น

            ขนาดของตัวอักษรก็มีความสำคัญ  เป็นเรื่องของหลักการมองเห็น ถ้าออกแบบป้ายให้อ่านจากระยะ 20.00 เมตร(ประมาณ 66 ฟุต)   ขนาดความสูงของตัวอักษรต้องไม่น้อยกว่า  5 เซ็นติเมตร (ประมาณ 2 นิ้ว)  เป็นต้น  ดังนั้นหากระยะไกลขึ้นเท่าไร ขนาดของตัวอักษรต้องเพิ่มขึ้นในสัดส่วนที่สอดคล้องกัน  ขอเน้น  ขนาดความสูงของตัวอักษรที่นำมาเป็นหลักนี้ เป็นขนาดต่ำสุดที่ยอมรับได้  แสดงว่าถ้าต้องอ่านจากระยะทาง 20.00 เมตร ขนาดของตัวอักษร 7.5 ซม. ย่อมดีกว่า อักษรขนาด 5 ซม.

           การออกแบบป้ายข้างทางหลวง  ต้องเข้าใจธรรมชาติของคนที่จะอ่านป้ายว่าเขาอยู่ระหว่างการเดินทาง อาจจะเป็นคนขับรถซึ่งไม่มีเวลาจ้องอ่านข้อความหรอก  ดังนั้นการออกแบบข้อความจึงต้องไม่มาก  และให้ตัวอักษรโตพอที่จะอ่านเห็นและทันภายในแว้บเดียวที่เหลือบไปเห็น  ซึ่งป้ายที่อยู่ไกลออกไปและมีขาดใหญ่พอจึงจะมองเห็นชัดกว่าป้ายที่อยู่ชิดขอบทาง ขับรถผ่าภายในเสี้ยววินาทีและอ่านไม่ทัน  ซึ่งแปลว่าสื่อความหมายไม่ได้  ถ้าหากข้อจำกัดให้ติดป้ายขนาดเล็ก จึงต้องหาทางออกให้ติดป้ายจำนวนมากๆ  โดยให้ข้อความโตพอและแยกจากกันก็จะยิ่งดี  คงเคยเห็นป้ายเชิญชวนทอดผ้าป่าของชาวบ้านที่ติดข้างถนน  ที่เขาแยกข้อความคำว่า ขอเชิญ  ทอดกฐิน  ณ วัด  ..... โดยปักป้ายให้ห่างกันประมาณ 50-100 เมตร ให้คนขับรถอ่านได้ทัน

            ที่เขียนบทความนี้เพราะทุกวันนี้เห็นการออกแบบขอเด็กยุคใหม่แล้ว ไม่ค่อยได้นึกถึง "การมองเห็น" เท่าไร  สักแต่ว่าเลือกฟ้อนต์ได้  ทำพื้นหลังด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ได้  แล้วเอาไฟล์ไปสั่งพิมพ์ด้วยไวนีล  เป็นอันเสร็จ  พอเอาไปติดตั้ง  สวยดีแต่ "มองไม่เห็นและอ่านไม่ออก"  

หมายเลขบันทึก: 542536เขียนเมื่อ 16 กรกฎาคม 2013 11:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 กรกฎาคม 2013 11:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

.... การอ่านป้าย .... ระหว่างการเดินทาง .... อาจจะเป็นคนขับรถ....ซึ่งไม่มีเวลาจ้องอ่านข้อความ.....แต่ถ้าอ่านก็....อันตรายมากๆๆ นะคะ ..... รถมีมากมายเพิ่มขึ้นทุกๆ วัน .... การออกแบบต้อง คำนึกถึง..... "การมองเห็น" และการมองเห็นแบบ....ไม่อันตราย นะคะ .....

ขอบคุณบทความดีดีนี้ค่ะ

ขอบคุณบันทึกดีมีประโยชน์มากนะคะ...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท