ความกลัว


เมื่อปรากฏว่า ความกลัว เป็นภัย แก่ความผาสุก เช่นนี้แล้ว บัดนี้ เราก็มาถึง ข้อปัญหาว่า เราจะเอา ชนะความกลัว ได้อย่างไร

          ด้วยความคิดที่ว่า ทำไมเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในระดับตำบล หลาย ๆ คนจึงไม่ค่อยที่จะกล้าแสดงออก (ข้อสังเกตจากที่ประชุมเรื่องคนพิการ "อำเภอแห่งหนึ่ง เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา") กลัวอะไร? เป็นคำถามที่ผมอยากได้คำตอบเพื่อนำไปคิดขบวนการจัดการกับลักษณะอย่างนี้ ด้วยเชื่อว่าหากเราไม่กลัวแล้ว เราจะทำในสิ่งที่เกิดปัญญาได้อีกมาก จึงลองสืบค้นดูใน Google ด้วยคำสำคัญ (Keyword) และพบดังนี้ รายการที่ 11 - 20 จากผลการค้นหาทั้งหมดประมาณ 34 รายการของคำค้น ความกลัว พุทธทาส (0.43 วินาที)

          จากนั้นก็นั่งอ่านไปเรื่อย ๆ มาสะดุดตรงที่...ความกลัว จากบทความธรรมะ ลานธรรมจักร ซึ่งก็เหมือนกับการได้บทสรุปสำหรับสิ่งที่ค้นหามาเกือบทั้งมด ต้องยอมรับว่าธรรมะจากท่านพุทธทาสภิกขุ ไม่เคยเก่าเลย ทันสมัยอยู่เสมอ ตัวอย่างความหมายของธรรมะที่ท่านเคยได้สั่งสอนไว้ว่าหมายถึงอะไร "ธรรมะ เป็นสิ่งที่ต้องศึกษาค้นคว้าและเข้าถึงโดยวิถีทางอย่างวิทยาศาสตร์ มิใช่โดยทาง ตรรกะ -นยะ -คณิตศาสตร์ -หรือฟิโลโซฟี่ ที่ต้องใช้สมมติฐาน (HYPOTHESIS) หากแต่ต้องใช้ปัญญาโดยตรง ที่รู้สึกอยู่ในจิต เป็นวัตถุสำหรับศึกษาพิสูจน์ทดลอง" เท่าที่ผมเคยจดไว้จากหนังสือของท่านนะครับ
          ความกลัว เป็นสิ่งที่มีอำนาจมากสิ่งหนึ่ง ในบรรดาสิ่งที่ทำลายความสุข สำราญ หรือ รบกวนประสาทของมนุษย์ เป็นอย่างยิ่ง ความกลัวนี้ ย่อมมีลักษณะและพิษสง มากน้อยกว่ากัน เป็นขั้นๆ ตามความรู้สึก อันสูงต่ำ ของจิต เด็ก ๆ สร้างภาพ ของสิ่งที่น่ากลัว ขึ้นในใจ ตามที่ผู้ใหญ่ นำมาขู่ หรือได้ยิน เขาเล่า เรื่อง อันน่ากลัว เกี่ยวกับผี เป็นต้น สืบ ๆ กันมา แล้วก็กลัว เอาจริงๆ จนเป็นผู้ใหญ่ ความกลัวนั้น ก็ไม่หมดสิ้นไป ความกลัว เป็นสัญชาตญาณ อันหนึ่งของมนุษย์ เหมือนกันหมด แต่ว่า วัตถุที่กลัว นั่นแหละต่างกัน ตามแต่เรื่องราว ที่ตนรับ เข้าไว้ในสมอง วัตถุอันเป็น ที่ตั้งของความกลัว ที่กลัว กันเป็น ส่วนมาก นั้น โดยมาก หาใช่วัตถุ ที่มีตัวตน จริงจัง อะไรไม่ มันเป็น เพียงสิ่งที่ใจ สร้างขึ้น สำหรับกลัว เท่านั้น ส่วนที่เป็น ตัวตน จริงๆ นั้น ไม่ได้ ทำให้เรา กลัว นาน หรือ มากเท่า สิ่งที่ใจ สร้างขึ้นเอง มันมักเป็น เรื่องเป็นราว ลุล่วงไปเสียในไม่ช้านัก บางที เราไม่ทันนึก กลัว ด้วยซ้ำไป เรื่องนั้นก็ได้มาถึงเรา เป็นไปตามเรื่อง ของมัน และ ผ่านพ้นไปแล้ว มันจึงมิได้ ทรมานจิต ของมนุษย์มาก เท่าเรื่อง หลอก ๆ ที่ใจสร้างขึ้นเอง 
          เมื่อปรากฏว่า ความกลัว เป็นภัย แก่ความผาสุก เช่นนี้แล้ว บัดนี้ เราก็มาถึง ข้อปัญหาว่า เราจะเอา ชนะความกลัว ได้อย่างไร สืบไป เพราะเหตุว่า การที่ทราบแต่เพียงว่า ความกลัว เป็นภัย ของความผาสุกนั้น เรายังได้รับผลดีจากความรู้นั้น น้อยเกินไป เราอาจปัดเป่า ความกลัวออกไปเสียจากจิต โดยววิธีต่างๆ กัน แต่เมื่อจะสรุปความ ขึ้นเป็นหลักสำคัญๆ แล้ว อย่างน้อย เราจะได้สามประการ คือ
          ๑. สร้างความเชื่ออย่างเต็มที่ ในสิ่งที่ยึดเอาเป็นที่พึ่ง
          ๒. ส่งใจไปเสียในที่อื่น ผูกมัดไว้กับสิ่งอื่น
          ๓. ตัดต้นเหตุ ของความกลัวนั้นๆ เสีย
                                        พุทธทาสภิกขุ
                                     ๑ สิงหาคม ๒๔๗๙
ที่มา : จาก หนังสือ ชุมนุมเรื่องสั้น พุทธทาสภิกขุ พิมพ์ ครั้งที่ ๔ พ.ศ. ๒๕๓๘
          โดย สำนักพิมพ์สุขภาพใจ
ที่มาภาพประกอบจาก จังหูดอทคอม

หมายเลขบันทึก: 5416เขียนเมื่อ 15 ตุลาคม 2005 20:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มีนาคม 2015 08:30 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (18)
      ทำอยากนะค่ะ...ให้หายกลัว!!! เหมือนที่ "แดจังจึง" ให้ คห.ว่า "ใจเป็นสิ่งสำคัญ" แล้ว "ชายขอบ" ไม่กลัวอะไรเลยเหรอ!!!
     เมื่อเจอกับสภาพแห่งความกลัว ผมจะตอบตัวเองว่าที่กลัวนั่นนะคืออะไร แล้วจะเดินเข้าไปหาด้วยท่าทีที่เป็นมิตร จริงใจ หากเขา (สิ่งที่เป็นต้นเหตุนั้น) ไม่หนีไปไหนเสียก่อน ก็จะถามคำถามเดียวว่า "มาทำให้ผมรู้สึกกลัวทำไม"
     เช่นกรณีที่มีคนกลัวผีถามผมว่ากลัวผีจะทำยังไง ผมก็จะบอกว่าลุกขึ้นมองให้เห็น หากไม่เห็นให้เดินออกไปดู (อย่คลุมโปง) หากเขา (ผี) อยู่ให้เห็นให้เจอ ให้ถามว่า "มาทำให้ผมรู้สึกกลัวทำไม" แต่ในชีวิตผมจริง ๆ หาเท่าไหร่ก็ยังไม่เคยเจอ
    โดยสรุปใช้ "สติ" จัดการกับ "ความกลัว" ครับ อย่างมีสติ

     โดยปกติก็จะเป็นคนที่ไม่กลัวอะไรหรอก!! มองโลกในแง่ดีมากๆ ด้วยซ้ำไป แต่บางเรื่องบางราวมันมาเร็วไปเร็วเกินความคาดหมาย มันเลยฝังใจ...จึงทำให้เกิดความกลัว...เคยถามน่ะ...(ถามใจตัวเอง) ว่า "ทำไมถึงกลัว" ก็ได้คำตอบ แต่มันก็ยังกลัว!!! 
     ที่ใช้ คือ "ปลง" มองว่าทุกอย่างคือสสาร ไม่มีตัวตน ไม่ยึดติด สุดท้ายมันก็ช่วยให้ความกลัวค่อย ๆ หายไป...

     "ปลง" สำหรับในมุมมองของผมก็เป็นขั้นสุดท้ายที่ตัดสินใจเลือกไงครับ หลังจากที่ในปัจจุบันทันด่วนนั้นได้ใช้ "สติ" เป็นตัวระงับไว้แล้ว ผมคิดอย่างนี้นะครับ (ยิ้ม ๆ)

       ถูกต้องค่ะ...มันเป็นขั้นตอนสุดท้าย...ในเมื่อไม่มีทางให้เราเลือก...สุดท้ายก็ต้อง "ปลง" (ก่อนที่มันจะ..ไหม้)
     ยิ้ม ๆ เลยครับ อย่าลืมใช้ที่จับก่อน "ปลง" ด้วย จะร้อนมือ แล้วรีบวางบนที่รองดี ๆ นะครับด้วยความระมัดระวัง (อย่าหลาว ๆ...ฮา)

ความกลัวทางกายภาพไม่ทรมานใจเท่ากลัวการเปลี่ยนแปลง

กลัวความรัก ความสุขจะเปลี่ยนหมดไป

กลัวชีวิตที่อุดมสมบูรณ์จะกลายเป็นยากจน

กลัวความเพียบพร้อมจะกลายเป็นความขาดแคลน

ฯลฯ

ความกลัวนั้นก็จะนำมาซึ่งความโลภ ความหลง ละเว้นเสียได้จะดีและถ้าเข้าใจในไตรลักษณ์ ความกลัวก็จะบรรเทาลง

ความกลัวบางอย่างก็ไม่เกิดแต่ถูกเกลี้ยกล่อมจากสังคมรอบข้างให้กลัว เช่นกลัวเจ้านาย เพราะถูกสอนตั้งแต่อนุบาลให้กลัวครูที่มีอำนาจ เป็นต้น อย่างนี้ ถ้าเข้าใจสิทธิหน้าที่ และการอดทน ก็จะละลายความกลัวไปได้

 

      "ไร้นามพูดถูก" เจ็บกายไม่เท่าเจ็บใจ 
      บางครั้งบางคราว ในการใช้ชีวิตเราก็ (หลาว ๆ) จริงอย่างที่ว่า มันจึงนำมาซึ่งความทุกข์ ความกลัว เพราะความ (หลาว ๆ) ที่ไร้สติยั้งคิด สงสัยต้องเอาหลักไตรลักษณ์เข้าช่วย "อนิจจตา  ทุกขตา  อนัตตตา" สาธุ!!!

คุณไร้นาม

     กลัว 1 คือติดตัวมาแล้วตั้งแต่เกิด
     กลัว 2 คือถูกสอนให้กลัวในภายหลัง
     ทั้งกลัว 1 และ 2 มองว่ามีทั้งคุณและโทษ ฉะนั้นจึงต้องมีแต่พอดี และ สมดุล

คุณ vij

     หลาว ๆ = ความไม่ระมัดระวัง, ไม่สำรวม, ความประมาท พอได้ไหมครับ (กลัวมิตรภาคอื่น ๆ จะงง)

      "OK" หลาว ๆ (ชับปึด) ค่ะ  (คนใต้แท้ ๆ) พ่อแม่อยู่สงขลาเกิดและเติบโตที่นั้น (สงขลา) บ้าง ที่นี่ (ยะลา) บ้าง หรือเรียกอีกอย่างว่า (สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ) = สงขลาบ้านอยู่ใกล้ทะเล ส่วนยะลาไม่มีทะเลให้อยู่ "You Know ?"
ความ"กลัว"...คืออะไร... ความกลัวคือสิ่งที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน...มาก-น้อยขึ้นอยู่กับภูมิของแต่ละคน หากปล่อยไว้อย่างเนิ่นนาน...ความกลัวก็จะแปรเปลี่ยนเป็น...โรค"กลัว"เกิดขึ้น แต่หากกลัวน้อยๆ...ก็อาจพอที่จะทำให้เกิดความรำคาญเกิดขึ้นในจิตใจและการดำเนิน"ชีวิต"ของเราได้ ... "มนุษย์"เรามักกลัว...กลัวในสิ่งที่มองไม่เห็นอย่างเด่นชัด กลัวในมโนภาพที่ตนเองสร้างขึ้น "มโนภาพ"ที่สร้างขึ้นนั้นก็มักจะมาจากพลังความคิดเชิง"ลบ"... ยิ่งหากใครมีพลังนี้มากเท่าใด..มโนภาพ...แห่งความกลัวนั้น..ก็จะยิ่งเพิ่มมากขึ้น... หากเมื่อใดก็ตาม..เราได้รู้เหตุที่มา...ที่ไป...และเดินเข้าไป"เผชิญ"... ความกลัวที่ว่า...ก็จะไม่ใช่ความกลัว... สูดลมหายใจเข้าลึกๆ...และเผชิญ...และจะรู้ว่า.."มโนภาพ"ดังกล่าว..ก็จะสลายหายไป เหลือไว้แต่ความว่างเปล่า...ที่มองไม่เห็นอะไร...มาแทนที่

     ขอทำ Link กับบทกวี กวีนิพนธ์ชิ้นสุดท้าย: THE LAST POEM ที่ Dr.Ka-poom นำมาบันทึกไว้ครับ
     และนี่เป็น คห.ที่ผมได้เคยให้ไว้ที่บันทึกนี้
          "ครับอย่างปฏิเสธเลยครับว่าไม่มีความกลัว เพราะ ความกลัว เป็นสิ่งที่มีในปกติ ในธรรม(ชาติ) หากเมื่อได้เรียนรู้อย่างเชี่ยวชาญ เราก็ทำได้เพียงการเผชิญหน้าอย่างทรนงกับความกลัวเท่านั้น ความกลัวหาได้หลีกหนีไปไหนเลย แล้วใครจะผ่านมันไปได้หรือไม่อย่างไร ก็อยู่ที่จิต...ใจของคน คน ๆ นั้นเอง เท่านั้น แม้จะได้รับแรงใจจากใครมากมายสักเท่าไหร่ก็ตาม"

     คุณ "ชายขอบ" และ คุณ "Ka-poom" ปิดท้ายได้ยอดเยี่ยมค่ะ สรุปว่า ทุกคนมีความกลัวแล้วแต่จะมากหรือน้อย ขึ้นอยู่ที่จิตใจของคน ๆ นั้น

คุณ vij

     เหมือนถูกถามว่ารู้ไหม...("You Know ?") ที่ยะลาก็มีทะเล "ทะเลบนภูเขา" ไม่ใช่เหรอครับ (เพิ่งนึกได้) สมัยเรียนที่นั่นเกือบได้ไป / ยังไม่ได้ปิดนะครับ เปิดไว้เพื่อเติมเต็มตลอด (ไม่เคยเต็มแก้ว...ยิ้ม)

Dr.Ka-poom

     ความกลัวคือสิ่งที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน หากปล่อยไว้อย่างเนิ่นนาน...ความกลัวก็จะแปรเปลี่ยนเป็น...โรค (หวาดระแวง) ได้ไหม เพราะระแวงว่าจะสูญเสียไปไงครับ

       "ความกลัว" มันเกิดขึ้นอีกแล้วค่ะ ซึ่งเราก็ไม่อาจระงับหรือหยุดมันได้ ณ ขณะนี้เวลานี้ "กลัวว่า...คนอื่นจะเข้าใจผิด" กับจุดประสงค์ของการเข้ามา ณ ที่ตรงนี้ 
        ยังคงไม่เข้าใจ "เพราะเราอาจจะตัวเล็กไป" สำหรับที่นี่กระมังค่ะ  และไม่ได้ทันสมัยทางเทคโนโลยีคอมฯ สักเท่าไรหรอก
        เมื่อความกลัวเกิด ความเสียใจก็ตามมา...ใช่ใหมค่ะ
  • อย่าคิดว่าบางครั้งเราทำไมต้องสนใจคนอื่นมากนักจน"กลัวว่า...คนอื่นจะเข้าใจผิด"
  • ใช่ไหมครับคุณชายขอบ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท