ทำเวทีกระบวนการให้เป็นการพัฒนาเชิงระเบียบวิธีวิจัยและจัดการศึกษา


. ประเด็นการพูดคุย : แผนยุทธศาสตร์และแผนแม่บท สร้างความเป็นมหาวิทยาลัยวิจัยของท้องถิ่น ของมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตอำนาจเจริญ

๒. องค์ประกอบและโครงสร้างการพูดคุยของเวที : Provincial Community-University Dialogue

    กลุ่มผู้เข้าร่วม เป็นผู้นำหลายสาขาและมีบทบาทสำคัญของประเทศ ทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่น ประมาณ ๘๐ คน ประกอบด้วย

     (๑) มหาวิทยาลัยมหิดล ประกอบด้วย นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล ผู้บริหาร อันประกอบด้วยคณบดีและผู้อำนวยการจากคณะและสถาบันต่างๆของมหาวิทยาลัยมหิดล รองอธิการบดีวิทยาเขต กรรมการสภาคณาจารย์และกรรมการคณะทำงานที่เกี่ยวข้อง ผู้อำนวยการและผู้บริหารระดับปฏิบัติการ 
      (๒) มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตอำนาจเจริญ
      (๓) ผู้ว่าราชการจังหวัดอำนาจเจริญ
      (๔) สภาองค์กรชุมชน จังหวัดอำนาจเจริญและเครือข่าย
      (๓) นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด จังหวัดอำนาจเจริญ
      (๕) ผู้นำชุมชนและเครือข่ายภาคประชาสังคม
      (๖) กองทุนและหน่วยสนับสนุนการดำเนินงานเชิงยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาสุขภาพและการพัฒนาสังคม

๓. ประเด็นสำคัญเพื่อวิเคราะห์และออกแบบระเบียบวิธีเชิงกระบวนการ

       เงื่อนไขสำคัญเพื่อถือเป็นหลักออกแบบระเบียบวิธีเชิงกระบวนการ ให้เวทีได้พลังความมีส่วนร่วม ที่เกิดจากพลังของความเป็นพลเมือง มีความเป็นเจ้าของส่วนรวมเท่าเทียมกันบนความเป็นตัวของตัวเองและมีความเท่าเทียมเสมอภาคกัน
       (๑) Restructural and Balancing
             Complexity and Multi-Level of Power Relationships

             โครงสร้างท้องถิ่นกับสากลและโลกาภิวัตน์ กับแนวดิ่งและแนวราบ ต้องมีความพอดี หากมุ่งความสำเร็จผ่านการขับเคลื่อนโครงสร้างเชิงอำนาจที่เร็วไป โดยขาดการจัดเตรียมและจัดวางการมีส่วนร่วมของชุมชนในพื้นที่และหน่วนปฏิบัติการ ก็จะทำให้ได้รับการสนับสนุน โดยไม่ทันที่จะดำเนินการด้วยตนเองได้ ทำให้เกิดแรงกดดันและปัญหา มากกว่าจะเป็นความสำเร็จ
       (๒) Design and Balancing
             Practice and Social Reality VS Level of Communication to public

             การทำและเรียนรู้ กับการสื่อสารกับสังคม ต้องมีความพอดี หากสื่อสารมุ่งสร้างภาพความสำเร็จมากเกินความเป็นจริง ก็จะส่งผลกระทบต่อกลไกปฏิบัติการ หากน้อยไป ก็จะเกิดแรงกดดันและขาดแรงสนับสนุนทางสังคม
       (๓)  Integration and Balancing
              Expectation VS Building up Capacity to Achieve Goals
              การสร้างคนและเสริมกำลังปฏิบัติ กับความคาดหวังต่างๆ ต้องมีความสมดุลและพอดีกัน หากดำเนินงานและสร้างประเด็นที่นำไปสู่ความคาดหวังมาก แต่ไม่มีมีมิติสร้างคนและพัฒนาศักยภาพการจัดการต่างๆ ก็จะทำให้กลุ่มดำเนินการต้องประสบกับอุปสรรคปัญหา ไม่สามารถสนองตอบต่อความคาดหวังต่างๆได้ทัน คนทำงานเกิดแรงกดดันเกินศักยภาพและเกินกำลังความสามารถที่ปฏิบัติด้วยการพึ่งตนเองได้ในระยะยาว เสียโอกาสในการสร้างกำลังคน และก่อให้เกิดความสูญเสียในการดำเนินงานที่ต้องการ

๔. มิติเชิงกระบวนการ : ขับเคลื่อนความเป็นชุมชนขึ้นในหมู่ผู้นำทางวิชาการ ผู้นำทางความคิด ผู้นำทางสังคม และผู้นำของท้องถิ่น ให้เกิดความเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายความร่วมมือและส่งเสริมเกื้อหนุนกัน ผ่านการร่วมสร้างแนวคิด ความหมาย และความมีประเด็นความร่วมกันในเชิงยุทธศาสตร์ระดับต่างๆ เพื่อมุ่งไปข้างหน้า ด้วยการนั่งสนทนาเป็นกลุ่มแบบพหุภาคีและสหวิทยาการ (Multi-Sectoral and Cross- Disciplines Dialogue)

๕. กระบวนการทำงานที่สำคัญ
    (๑) ทำงานข้อมูลในพื้นที่ร่วมกันหลายระดับ เพื่อวิเคราะห์และสังเคราะห์ประเด็นสำหรับออกแบบกระบวนการเวที 
    (๒) เตรียมเสริมพลัง Informed Participants เป็นรายกรณี :
          ทีมวิจัยและทีมทำกระบวนการเวที ทำงานข้อมูลผ่านเวทีชุมชนในพื้นที่แบบต่าง ๆ จากนั้น เดินสนทนาเป็นรายบุคคลกับผู้นำของภาคีต่างๆที่สำคัญ ประกอบด้วย ผู้ว่าราชการจังหวัด นายก อบจ ผู้ประสานงานเครือข่ายสภาองค์กรชุมชน ราษฎรอาวุโสของจังหวัด 
    (๓) สร้างทีมกระบวนการของวิทยาเขตอำนาจเจริญ
    (๔) ประชุมทางไกลร่วมกันระหว่างหน่วยจัดการวิชาการที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กองแผนงาน มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตอำนาจเจริญ ทีมวิชาการ และทีมจัดกระบวนการ
    (๕) ซักซ้อมทีม ในทุกขั้นตอนที่ดำเนินการและในทุกขั้นตอนที่มีการเปลี่ยนแปลง
    (๖) เตรียมสื่อ เอกสาร 
    (๗) ออกแบบเวทีและแนวการจัดองค์ประกอบทุกมิติของเวที
    (๘) ดำเนินการจัดเตรียมทุกระบบ
    (๙) ตรวจสอบและซักซ้อมครั้งสุดท้าย เย็นก่อนวันเริ่มจัดสัมมนา

          

          

          

๖. ผลลัพธ์และสิ่งที่ก่อเกิด

           ด้วยการออกแบบกระบวนการ และดำเนินการการจัดองค์ประกอบต่างๆให้ครอบคลุมสิ่งที่สำคัญหลายมิติ ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ต้องการ ขณะเดียวกัน ก็ทำให้มีความหมายและมีนัยสำคัญ สะท้อนสถานการณ์และประเด็นเชิงสังคม ที่กระบวนการเวที จะสามารถทำให้เกิดกระบวนการที่ให้ประสบการณ์ทางสังคมอย่างซับซ้อนไปด้วย ซึ่งประสบการณ์ตรงในลักษณะดังกล่าว ทีมวิจัย ทีมผู้สังเกตการณ์ และนักวิจัยผู้จัดกระบวนการ จะสามารถใช้เป็นประสบการณ์ตั้งต้นสำหรับใช้อ้างอิงไปสู่หัวข้อและประเด็นส่วนรวม เพื่อวิเคราะห์ อภิปราย และนำกระบวนการให้เกิดการพูดคุยสื่อสารเป็นกลุ่มได้ 

         ทำให้เวทีบรรลุวัตถุประสงค์ที่ต้องการ ได้ข้อมูล ผลสรุปและข้อเสนอแนะเบื้องต้น ที่จะนำไปใช้วางแผนและพัฒนาระบบบริหารจัดการ ตลอดจนขับเคลื่อนการดำเนินการต่างๆที่ต้องการร่วมกันต่อไป

..................................................................................................................................................................

Field note : การออกแบบกระบวนการเชิงระเบียบวิธี
Case 
: เวทีสัมมนาแผนยุทธศาสตร์สร้างความเป็น'มหาวิทยาลัยวิจัยของท้องถิ่น' มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตอำนาจเจริญ 
Date : ๓๐ มิถุนายน - ๑ กรกฎาคม ๒๕๕๖ 
Place : โรงแรมรอยัลเจมส์ จังหวัดนครปฐม 
Proponent and Implementator : มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตอำนาจเจริญ และจังหวัดอำนาจเจริญ
Conceptual Design and Process Facilitator : ผู้ช่วยศาสตราจารย์วิรัตน์ คำศรีจันทร์ นักวิชาการอิสระ
Project Director :  
ผู้ช่วยศาสตราจารย์นคร เหมะ รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตอำนาจเจริญ
Coordinator : ดร.จตุรงค์ จันทร์สี่ทิศ ผู้ช่วยอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตอำนาจเจริญ

หมายเลขบันทึก: 541111เขียนเมื่อ 2 กรกฎาคม 2013 05:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 กันยายน 2013 22:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

โอโหอาจารย์ชัดเจนมากๆ มีระบบชัดเจนจริงๆๆ

ไม่ทราบว่าอาจารย์มานครปฐม อดพบเลย

อาจารย์สบายดีนะครับ ทำงานหนักแล้วก็อย่าลุยแดดลุยฝนมาก รักษาสุขภาพครับ 


สวัสดีค่ะอาจารย์วิรัตน์...ไม่ได้อ่านบันทึกดีๆของอาจารย์นานแล้วนะคะ...ขอบคุณค่ะ

ขอบพระคุณทุกท่านที่เข้ามาเยือนครับ อาจารยฺ ดร.โอ๋-อโณ อาจารย์ขจิต อาจารย์ ดร.พจนา และท่าน ผอ.ชยันต์ครับ

สวัสดีครับอาจารย์ดร.พจนาครับ
ขอบพระคุณอาจารย์เช่นกันครับ กำลังตะลุยปรับหลายๆอย่างในบ้านน่ะครับ สำหรับให้เป็นที่ใช้ทำงานเล็กๆน้อยๆทั้งของตนเองและของคนทำงานในแนวที่เดินทำงานไปด้วยกัน ที่คิดว่ามาใช้ได้น่ะครับ ใช้วิธีทำด้วยตนเองเป็นหลัก เอาเรื่องเหมือนกันครับ 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท