การบริหารความเสี่ยง


เราต้องเติมเต็มความรู้.... ในตัวเราอยู่เสมอๆๆ นะคะ ... เป็นการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong learning)


                     

  ความเสี่ยง (Risk) คือ โอกาสที่จะประสบความสูญเสีย หรือ...สิ่งที่ไม่พึงประสงค์

  การบริหารความเสี่ยง (Risk Management ....  สามารถทำได้ โดย การการควบคุมความเสี่ยง (Risk Control) .... ซึ่งเป็นความพยายามที่จะหยุด หรือ ลดความเสียหายซึ่งสามารถทำได้โดยการใช้ กลยุทธ์ 5 ประการได้แก่

  1. การหลีกเลี่ยงความเสี่ยง (Risk Avoidance) คือ การที่บุคคล หรือ องค์กร ยุติการทำหน้าที่บางอย่างที่มีความเสี่ยงสูง  เช่นการที่สูติแพทย์ยุติการทำคลอด
  2. การผ่องถ่ายความเสี่ยง (Risk Transfer) คือ การที่มอบหมายให้บุคคล หรือ องค์กรอื่นมาทำหน้าที่ที่มีความเสี่ยงแทนเรา เช่น การส่งผู้ป่วยไปตรวจที่มีความเชี่ยวชาญกว่า.... เป็นการผ่องถ่ายความเสี่ยงต่อการวินิจฉัย ที่อาจผิดพลาด (ตรวจแทนเรานะคะ)
  3. การป้องกันความเสี่ยง (Risk Prevention) คือ การใช้มาตรการต่างๆ เพื่อลดโอกาสที่จะเกิดอุบัติเหตุ หรือ ความเสียหาย เช่น การป้องกันอุบัติเหตุ การใช้วัสดุทนไฟและการฝึกซ้อมเมื่อเกิดอัคคีภัย
  4. การลดความสูญเสีย (Loss Reduction) คือ กลยุทธ์ที่ใช้เมื่อเกิดความเสียหายขึ้นแล้ว เช่นการสอบสวนและการบันทึกหลักฐานที่สมบูรณ์เพื่อลดภาวการณ์ชดใช้  การให้ข้อมูลที่สมบูรณ์ และตรงไปตรงมา เพื่อลดความสูญเสีย โดยการดูแลผู้ที่ได้รับบาดเจ็บหรือประสบปัญหาด้วยความใส่ใจ
  5. การแบ่งแยกความเสี่ยง (Risk Segregation) เป็นการกระจายความเสี่ยงออกไป ในรูปแบบต่างๆ หรือการมีระบบสำรอง เช่น เครื่องกำเนิดไฟฟ้าสำรอง


      สิ่งเหล่านี้ไม่สามารถลดความเสี่ยงในตัวได้..แต่...เมื่อรวมๆ กันแล้วทำให้ผลกระทบต่อองค์กร.... ลดลง” ….


             


                     

                   


      เมื่อวันที่ 24-26 มิ. ย. 2556 ผู้เขียนได้ไปประชุมเชิงปฏิบัติการ โครงการ ส่งเสริมสุขภาพทารกแรกเกิด – 2 ปี เขตพื้นที่ เครือข่ายบริการ ที่ 5 โรงแรมเมธาวลัย ที่ อ. ชะอำ ..... ในการเรียนรู้ครั้งนี้ ....สามารถนำความรู้ที่ได้ไปประชุมมาเพื่อคัดกรองความเสี่ยงของเด็กจากปัญหาต่างๆ ได้นะคะ เช่น


      การพัฒนาการล้าช้า ซึ่งสามารถวัดได้ ในด้านต่างๆ ได้แก่

     1.  ด้านการเคลื่อนไหว (Gross Motor)

     2.  ด้านการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กและสติปัญญา (Fine Motor)

     3.  ด้านการเข้าใจภาษา (Receptive Language)

     4.  ด้านการใช้ภาษา (Expressive Language)

    5.  ด้านการช่วยเหลือตัวเองและสังคม (Personal and Social Help)


                 

                     

                      

           การฝึกปฏิบัติในครั้งนี้ ได้เรียนรู้การใช้เครื่องมือในการคัดกรองสุขภาพเด็ก แรกเิกิด - 2 ปี หลายตัวค่ะ ....  ได้แก่ อนามัย 55 และ TDSI (Thai Development Skills Inventory for Children Birth to Five Years: TDSI) ....  เป็นการเรียนรู้เชิงลึกไปอีกรูปแบบหนึ่งนะคะ .... เราต้องเติมเต็มความรู้ ในตัวเราอยู่เสมอๆๆ นะคะ ... เป็นการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong learning) 


      

                    


               ขอบคุณมากที่ท่านให้เกียรติอ่านบทความนี้นะคะ


  
หมายเลขบันทึก: 540803เขียนเมื่อ 28 มิถุนายน 2013 16:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 กรกฎาคม 2013 15:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

ลูกสาวอาจารย์สวยหวานทั้งคู่เลยค่ะ ดูภาพแล้วครอบครัวอบอุ่นน่ารักจังค่ะ!

ในอนาคตต้องมีภาพเพิ่มมีอีกสองบุคคลข้างๆ

ครอบครัวเก่ง อบอุ่น สมบูรณ์แบบ :)

 

ชื่นชมจริงๆ ค่ะ ที่ "Dr.Ple" เข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาตนเอง เพื่อนำไปพัฒนาองค์กรอย่างไม่หยุดนิ่ง ตามปรัชญา "Lifelong learning"

และชื่นชมที่ครอบครัวของ "Dr.Ple" คงจะได้มีการบริหารความเสี่ยงเป็นอย่างดี จึงไม่มีอะไรเป็นปัจจัยเสี่ยง เห็นได้จากภาพนี้ ที่คุณพ่อดูจะมีความสุขที่สุด...ยิ้มแก้มปริเลยนะคะ

             

สวัสดีครับ Dr. Ple

เข้ามาอ่านที่นี่ได้แนวคิดหรือทฤษฎีสองอย่างเลย คือ การบริหารความเสี่ยงกับการพัฒนาเด็กเล็กก่อนอนุบาล ผมก็พึ่งรู้เหมือนกันว่าตนเองก็ได้มีการแบ่งแยกความเสี่ยงด้วยเหมือนกัน ที่ร้านก็มี UPS สำรองไฟเวลาไฟฟ้าดับก็ยังสามารถใช้งานคอมพิวเตอร์ได้โดยเครื่องไม่ดับ และมีถังดับเพลิงก็คงจะเข้ากับข้อการป้องกันความเสี่ยงได้ใช่ไหมครับ ขอบคุณความรู้ดีๆ ที่มีมาให้ได้อ่านเรื่อย ๆ 

หวัดดีจ้ะพี่หมอเปิ้น  อยากได้เครื่องมือคัดกรองสุขภาพเด็ก แรกเกิด - 2 ปี จ้ะ  

ทำไงดี  ?

สวัสดีคุณ หมอ เปิ้น 

บันทึกนี้ ได้รับรู้เครื่องมือหลายตัว ในการบริหารความเสี่ยง

ความรู้ที่รู้มาจากอาจารย์ ต้องเติมเพิ่มให้ทันต่อโรคภัยเสมอ

พี่เปิ่ลมีลูกสาวน่ารักนะครับ อิอิ  ชื่นชมในความรักและความอบอุ่นในครอบครัวจริงๆ อาจไม่ตรงกับจุดประสงค์ของบทความเท่าไหร่ 5555+

ภาพปิดบันทึก เยี่ยมยอดค่ะ

-สวัสดีครับพี่หมอ..

-สบายดีนะครับ...

-ตามมาเพิ่มเติมความรู้เรื่องการบริหารความเสี่ยงครับ...

-เมื่อวานดูรายการ"เมืองเรืองแสง"ทาง Thai pbs เขานำเสนอเรื่องราวของ"ประโยชน์จากต้นตาล"ใน"อำเภอบ้านลาด" 

-ดูรายการแล้วคิดถึงพี่หมอขึ้นมา..5555

-เห็นเขานำ"จาวตาลเชื่อมไปทอด" และบอกว่ามีที่ บ้านลาด ที่เดียว....

-คุณติ๊ิกชีโร่ เป็นคนดำเนินรายการและชิมเมนูนี้ด้วย...

-ยิ่งเห็นเขาทำขนมตาลของโปรดอีก...โอย ๆ 

-หิว ๆ ครับพี่หมอ....


ขอบคุณค่ะพี่เปิ้น   ได้ใช้ที่โรงพยาบาลแน่ ๆ ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท