เปิดหัวใจสร้างสุข(happy ba)กับผลึกความคิดอาจารย์ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม และความคิดไร้กรอบ ของคุณลูกหมูเต้นระบำ…



"ผมว่ามนุษย์มีหางนี่แปลกนะ

                                             ที่แปลกกว่านั้นมันเสียบปลั๊กกับต้นไม้ได้  มันเหมือนมีเส้นประสาทอยู่"

  

                                                                                  อ.ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม

                                                                                          4 กพ. 2553 

                                        (เป็นคำพูดของอาจารย์ เมื่อการประชุมคณะกรรมการสภาองค์กรชุมชน ที่พอช.)



คุณลูกหมู  เขียนไว้ว่า…

จากประโยคของอาจารย์เรื่องหนังอวตารนี่เอง  "ผมก็มานึกเอาเองว่าหากเรามีหางที่สามารถเชื่อมต่อสื่อสารกันได้  รับรู้ความรู้สึกระหว่างกันบ้างก็น่าจะดี เพราะบางครั้งการที่เราไม่สามารถรับรู้ความรู้สึกคนอื่นได้ สิ่งนั้นเองก็ทำให้คนอื่นก็ไม่เข้าใจเราเองเช่นกัน"    เพราะคิดว่าหนังเรื่องนี้แม้แต่อาจารย์เองก็สนใจต้องมีอะไรดีแน่




คำพูดของอาจารย์ไพบูลย์ ที่ท่านพูดไว้ เมื่อ  ประมาณ  3 ปีที่แล้ว  ซึ่งข้าพเจ้าดูสีหน้าและแววตาของท่านจากภาพที่คุณลูกหมูถ่ายไว้แล้ว  รับรู้ได้ว่า....... ท่านกำลังแสดง "ความรู้ฝังลึก" ที่มีอยู่ในตัวของท่าน ผ่านถ้อยคำที่แสนง่าย สั้นๆ   แต่ทว่า…แอบแฝงแง่คิดที่กว้างยังกะห้วงมหาสมุทร ไว้ให้ผู้คนที่เข้ามานั่งฟังท่านพูด  ได้เก็บถ้อยคำเหล่านี้นำกลับไปคิดกันแบบฝุ่นตลบเลยทีเดียว ด้วยความอยากรู้ว่า………  "ทำไมท่านถึงพูดเช่นนั้น"  


วันนี้ ขอถอดบทเรียนจากประโยคทอง 2 ประโยค ที่อาจารย์ไพบูลย์ และคุณลูกหมู ได้กรุณาทิ้งไว้ให้ข้าพเจ้านำมาคิด วิเคาระห์ในแบบฉบับลูกชาวสวนคนหนึ่ง


อาจารย์ไพบูลย์ท่าน…เผื่อแผ่ประสบการณ์ที่ผ่านมาในชีวิตของท่าน  ท่านอยากแลกเปลี่ยนความคิดของท่าน ด้วยความคิดที่หลากหลายของผู้ฟัง เกิดคำตอบ  เชิงใฝ่รู้ต่อว่า…..ทำไม? ท่านจึงพูดเช่นนั้น  ถ้าท่านไม่พูดประโยคนี้ละ ท่านพูดประโยคอื่นละ?  มันจะมีค่า มีความหมายเท่าประโยคนี้ไหม? 


ข้าพเจ้า….อดอึ่ง ทึ่ง ไม่ได้ว่า….ความคิดของอาจารย์ร่วมสมัยสุด  ๆ เลย


คุณลูกหมู ตอบโดนใจข้าพเจ้าสุด ๆเช่นกัน … ว่า  หากเรามีหางที่สามารถเชื่อมต่อสื่อสารกันได้  รับรู้ความรู้สึกระหว่างกันบ้างก็น่าจะดี  เพราะบางครั้งการที่เราไม่สามารถรับรู้ความรู้สึกคนอื่นได้ สิ่งนั้นเองก็ทำให้คนอื่นก็ไม่เข้าใจเราเองเช่นกัน


นี่คือ…หนึ่งบทเรียนที่ดี ของการพูด เพื่อให้พวกเราคิดพิจารณาสิ่งที่ผ่านเข้ามาในชีวิต  ด้วยบริบทง่าย ๆ ของการใช้ชีวิต 


การสื่อสารด้วยคำพูด อาจไม่ทรงพลังเท่า  กับการสื่อสารจากการกระทำ  การสื่อสารจากการกระทำอาจไม่ทรงพลังเท่า กับการสื่อสารกันด้วยจิตวิญญาณ 


และจิตวิญญาณตัวนี้นี่เอง  ที่อาจารย์ไพบูลย์ ท่านอยากให้พวกเราคิดได้  นั่นคือ “จิตวิญญาณของความเป็นมนุษย์”  ผ่านวิถีชีวิตอันเรียบง่ายของตัวละครในหนัง สอดคล้องวิถีของธรรมชาติ ที่รังสรรค์หัวใจของสัตว์สังคมในหนังเรื่องนี้  


เมื่อธรรมชาติถูกทำลาย  เราก็ถูกทำลายด้วยเช่นกัน  หากเราเห็นใจธรรมชาติ นั่นเท่ากับเราเห็นหัวใจของเราเช่นกัน  ใจเป็นหนึ่ง ธรรมชาติย่อมเป็นหนึ่งด้วย 




ด้วยความศรัทธาที่มีต่ออาจารย์ไพบูลย์  วัฒนศิริธรรม และความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่แง่คิดดี ดี จากคุณลูกหมูเต้นระบำ…บทเรียนวันนี้ คือ….แง่งามของชีวิตที่อยู่ในตัวเรานี่เอง


ขอบคุณคุณลูกหมูมากนะครับ


หมายเลขบันทึก: 540029เขียนเมื่อ 20 มิถุนายน 2013 22:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 พฤษภาคม 2014 00:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

ขอบคุณคุณอักขณิช มากนะครับ ผมเพิ่งเขียนเสร็จเมื่อกี้เองครับ

ขออนุญาตตรวจทานต้นฉบับอีกครั้ง นะครับ


ขอร่วมรำลึกถึงคุณไพบูลย์คนดีของแผ่นดิน ผู้เข้าถึงจิตวิญญาณของชุมชน สู่การขับเคลื่อนการยกระดับความเป็นอยู่ บนความมีส่วนร่วมที่เข้มแข็งและยั่งยืนค่ะ

ขอบคุณมากครับพี่แสง อ่านความคิดของผมละเอียดยิบไปหมดครับ 55 ขอบคุณในการนำมาถ่ายทอดต่อ และการได้ทำงานกับอาจารย์ครั้งหนึ่งนั้นถือว่ามีประสบการณ์ดีๆมากมายครับ... ประโยคนี้สำหรับผมทรงพลังมาก

"การสื่อสารด้วยคำพูด อาจไม่ทรงพลังเท่า  กับการสื่อสารจากการกระทำ  การสื่อสารจากการกระทำอาจไม่ทรงพลังเท่า กับการสื่อสารกันด้วยจิตวิญญาณ " 


อ่านบันทึกนี้ ทำให้ผมอยากดูหนัง อวตาร เสียแล้ว

ขอบคุณครับ

ขอรำลึกถึงคุณไพบูลย์ด้วยคนครับ ขอบคุณคุณแสงและคุณลูกหมูมากครับที่นำมาเผยแพร่

ลึกซึ้งไปถึงก้นบึ้งแห่งหัวใจ และจิตวิญญาณแห่งความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ค่ะ

อ่านแล้วอวตารสมชื่อค่ะ ฉุกคิดใหม่ เกิดใหม่ 

ใจตรงกันนะคะ

ถอดบทเรียนบันทึกเดียวกัน

แต่คนละมุมมองค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท