KM (แนวปฏิบัติ) วันละคำ : ๕๙๗.KM กับการเรียนการสอน



          ผมลองค้น Google ด้วยคำว่า “teaching as knowledge management” ได้ ลิ้งค์นี้

และ ลิ้งค์นี้


          บทความแรกบอกว่า อาชีพครูคืออาชีพจัดการความรู้  ผมตีความว่า อาชีพครูต้องทำงานจัดการความรู้สองชั้น  คือชั้นแรก ทำหน้าที่ “คุณอำนวย” ของการจัดการความรู้ (เพื่อเรียนรู้) ของศิษย์  และชั้นที่ ๒ ครูเป็น “คุณกิจ” ของการจัดการความรู้ ในกลุ่มเพื่อนครู เพื่อยกระดับความสามารถในการทำหน้าที่ “คุณอำนวย” ของการเรียนรู้ของศิษย์ อย่างต่อเนื่อง


          บทความที่สอง กล่าวชัดกว่า ว่าครูต้องทำ KM ของการสอนและการเรียน ที่ใช้ project-based collaborative learning เพื่อกระตุ้นการสร้างความรู้เป็นทีมของนักเรียน  และของครู  แต่บทความนี้เป็นเพียง abstract ของ poster ในการประชุม  จึงไม่มีเนื้อหาที่ชัดเจน  แต่ก็ช่วยกระตุ้นให้ผมคิดว่า  เรื่อง KM กับการเรียนการสอนนี้ มีเรื่องให้ทำวิจัยได้มากมาย ไม่มีจบสิ้น  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การประยุกต์ใช้หลักการและวิธีการ KM ใน PLC (Professional Learning Community) ของครู 


          บทความ (ที่จริงเป็น monograph) ที่สาม เรื่อง Knowledge Management in Education : Defining the Landscapeเป็นเอกสารที่จัดทำโดยสถาบัน ISKME (Institute for the Study of Knowledge Management in Education) โดยตรง  เขามอง KM เป็นบูรณาการระหว่าง People, Processes, และ Technologies  บทความนี้มาจากการประชุมระดมความคิดกันในปี ค.ศ. ๒๐๐๒  กว่าสิบปีมาแล้ว  แนวคิดจึงอาจเก่าหน่อย   เขาเน้นที่วงจรการพัฒนาที่ต่อเนื่องของ ๓ ปัจจัย คือ Data – Information - Knowledge และเน้นที่เครื่องมือ COP ซึ่งผมเห็นด้วย  และเวลานี้เป็นที่ชัดเจนแล้วว่า COP ของครู ก็คือ PLC


          ที่จริงผมค้นได้บทความอีกมากมาย  แต่เลือกมาเขียนบันทึกเพียง ๓ เรื่อง


วิจารณ์ พานิช

๗ มิ.ย. ๕๖

560612, KM วันละคำ, KM กับการเรียนการสอน, โจทย์วิจัย, PLC, COP


หมายเลขบันทึก: 539032เขียนเมื่อ 12 มิถุนายน 2013 08:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2013 08:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ได้จังหวะพอดี กับที่ดิฉันเข้ามาเรียนรู้ประกอบการเขียนบันทึกเรื่องข้างล่างค่ะท่าน เนื่องจากดิฉันเองเคยมีสถานภาพที่เรียกว่า "ครูของครู" มากว่า 35 ปี จึงตัดสินใจร่วมเขียนบันทึกใน Theme "โรงเรียนแห่งความสุข" ภายใต้ชื่อ "โรงเรียนแห่งความสุข : สุขในวันนี้ และสุขในวันข้างหน้า" โดยมีกรอบแนวคิดที่เน้นไปที่ การทำหน้าที่ของครูให้ครบถ้วนตาม "TEACHER MODEL" คือ การนำเอาตัวอักษรแต่ละตัวที่ประกอบกันเป็นคำว่า "TEACHER" มาแจกแจงหน้าที่ของครู ซึ่งเคยมีแนวคิดทางตะวันตกที่แจกแจงไว้ แต่นั่นเป็นการแจกแจงให้ครบถ้วน ตามบทบาทหน้าที่ของครูโดยรวม สำหรับการแจกแจงของดิฉัน จะมุ่งเน้นไปที่หน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับ "ปฏิสัมพันธ์ (Interaction) ระหว่างครูอาจารย์กับผู้เรียน" ซึ่งจะเสริมสร้างให้โรงเรียน (หรือสถานศึกษาที่เรียกชื่อเป็นอย่างอื่น) ให้เป็น "โรงเรียนแห่งความสุข" ค่ะ

ดิฉันขออนุญาตท่าน นำแนวคิดในบันทึกนี้ ไปอ้างอิงในบันทึกดังกล่าวด้วยนะคะ ขอบพระคุณมากค่ะ


 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท