จากกรณี นักเรียนม.6 ร่ายบทกลอนก่อนฆ่าตัวตาย
ข้อมูลจากกรมสุขภาพจิตล่าสุด
พบว่ามีจำนวนการฆ่าตัวตายในประเทศไทยเกิดขึ้น
โดยเป็นผู้ที่ฆ่าตัวตายสำเร็จ 6.9
รายต่อประชากรแสนคน หรือประมาณ 7,200 รายในหนึ่งปี
ถ้าเฉลี่ยออกมาเป็นวันก็ประมาณ 20 คนต่อวัน
ในขณะที่ค่าเฉลี่ยระดับโลกจะอยู่ที่ 8
รายต่อประชากรแสนคน
มีข้อมูลเพิ่มเติมจากแพทย์หญิงสุพัฒนา เดชาติวงศ์ ณ อยุธยา
โรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา ว่าผู้มีประวัติและลักษณะต่อไปนี้
หลายประการร่วมกัน
มีอันตรายสูงที่จะฆ่าตัวตายมากกว่าพวกที่มีลักษณะตรงข้าม เช่น
มีประวัติเคยพยายามฆ่าตัวตายมาแล้ว มีอายุ 40 ปีขึ้นไป
โรคซึมเศร้าชนิดต่างๆ มีโรคประจำตัวร้ายแรง หรือ สุขภาพเสื่อมโทรมาก
เป็นโสด, หย่า, ร้าง, ม่าย หรือ สมรสแล้วแต่ไม่มีบุตรเลย
เกิดภาวะเศรษฐกิจคับขัน อยู่ในเมืองใหญ่ที่มีพลเมืองหนาแน่น
เป็นคนไม่ค่อยมีเพื่อน มีประวัติติดสุราหรือยาเสพย์ติดอื่น
มีประวัติผิดปกติทางจิตเวช มีประวัติการฆ่าตัวตายในครอบครัว
การฆ่าตัวตายตามที่มีบุคคล
ที่มีความสำคัญต่อชีวิตของผู้ป่วยเกิดจากกลไกการเลียนแบบ
มิใช่พันธุกรรม พวกวิกลจริตที่มีความขัดแย้งภายใน มีประวัติบ้านแตก
หรือครอบครัวแตกแยก ก่อนอายุ 15 ปี
ที่
สสจ.พัทลุง ปี 2549 ปัญหาการฆ่าตัวตายสำเร็จ ถูกจัดให้เป็นปัญหาสำคัญ
ทั้งจากการจัดลำดับความสำคัญ และการให้ความตระหนักจากผู้บริหาร