"หินแต่ละก้อนเป็นเพียงหินก้อนหนึ่ง ไม่ได้มีความฉลาดหรือโง่" ... (วุฒิภาวะของความเป็นครู : วิเชียร ไชยบัง)



หินแต่ละก้อนเป็นเพียงหินก้อนหนึ่ง ไม่ได้มีความฉลาดหรือโง่


หินแต่ละก้อนเป็นเพียงหินก้อนหนึ่ง
ไม่ได้มีความฉลาดหรือโง่
เราจะไม่เห็นว่านกตัวใดโง่
นกแต่ละตัวใช้ชีวิตอิสระตั้งแต่เกิดจนตาย

.......

แต่การศึกษาซึ่งเป็นเครื่องมือพัฒนาคน
กลับทำให้มีคนเก่งจำนวนน้อยนิดหนึ่ง
ส่วนใหญ่จะกลายเป็นคนระดับปานกลางและเป็นคนโง่

เราแข่งขันกันเพื่อให้มีความรู้มากกว่าคนอื่น เบื้องหลังความคิดนี้คืออะไร

เพราะเชื่อกันว่าเมื่อใครมีความรู้มากกว่าคนอื่นก็จะประสบความสำเร็จสูงกว่าคนอื่น
เรามักมองความสำเร็จกันที่ระดับตำแหน่ง ระดับรายได้ ชื่อเสียง จำนวนทรัพย์สิน
หรืออะไรเทือกนี้

เมื่อจดจ้องกันที่ความรู้ เราก็จะแยกแยะประเภทของผู้คนจากปริมาณความรู้ที่แต่ละคนมี
อย่างอัตโนมัติ อาจจะแยกระดับผู้คนออกเป็นคนเก่ง ปานกลาง หรือโง่
และมีความเชื่อที่ว่า ความรู้จะนำมาซึ่งความสำเร็จก็ฝังลึกแทรกซึมไปทั่ว
จนเรามองไม่เห็นความสำคัญของการมีปัญญาในการใช้ชีวิต


บางครั้งเมื่อผมเล่าถึงวิถีการเรียนรู้ของลำปลายมาศพัฒนาให้คนอื่น ๆ ฟังว่า

เราให้ความสำคัญกับการเรียนรู้อย่างมีความหมาย และมีความสุขมากกว่าการสอนที่บอกความรู้ตรง ๆ
โดยให้เด็กได้ปะทะกับปัญหา ตระหนักถึงความจำเป็นที่จะต้องแก้ปัญหานั้น ๆ
แล้วเกิดความคิดและการเรียนรู้ เพื่อแสวงหาชุดของความรู้และชุดทักษะใหม่ที่จะแก้ปัญหาเหล่านั้น


ซึ่งก็มักจะทำให้มีคนถามว่า "เรียนอย่างนี้แล้วเด็กจะมีความรู้ตามหลักสูตรเหรอ?"

จะเห็นได้ชัดว่า มาตรฐานตามหลักสูตรได้สร้างกรอบอันแข็งทื่อขึ้นมาให้คนกลัวที่จะออกจากมัน
แม้บางครั้งจะเห็นได้ชัดว่า โลกข้างนอกหลักสูตรได้เปลี่ยนแปลงไปไกลกว่าที่เขียนไว้แล้วอย่างสิ้นเชิง

กลับมามองในเรื่องปัญญาการใช้ชีวิต ปัญญาการใช้ชีวิตไม่ได้เกิดจากการมีความรู้มาก หรือการมีความรู้มาก่อนก็ได้
เราเห็นชัดว่า นกทุกตัวตั้งแต่ฟักออกจากไข่ มันก็รู้ว่าจะต้องมีชีวิตอย่างไร

ทุกตัวสร้างรังแตกต่างกันแต่ประโยชน์ใช้สอยเดียวกันได้โดยไม่มีใครสอน มีชีวิตเป็นอิสระ
เราไม่เห็นนกโง่เลยสักตัว และผมเชื่อว่าเด็กทุกคนเกิดมาพร้อมกับปัญญาการใช้ชีวิตแบบนี้
ซึ่งเราควรบ่มเพาะให้งอกงามมากขึ้น


ความรู้มากไม่ได้ทำให้คนเรามีความสุขมากขึ้น คนจำนวนไม่น้อยจ่อมจมอยู่กับความทุกข์
จากแรงบีบคั้นทางเศรษฐกิจและการพยายามปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม
เรามีชีวิตที่เร่งรีบทั้งต้องแข่งขันตลอดเวลา เครียดบ่อยขึ้น หงุดหงิดง่ายขึ้น โกรธง่ายขึ้น
หัวเราะได้น้อยลง นอนหลับยากขึ้น ทั้งที่ทารกหรือเด็กไม่มีอาการเหล่านี้
นั่นอาจเป็นเพราะปัญญาการใช้ชีวิตของเราถูกกดทับ

ความรู้กลายเป็นเครื่องมือที่ทำให้เราสามารถช่วยคนอื่นได้ แต่ในขณะเดียวกัน
ความรู้อาจเป็นเครื่องมือที่ทำให้เราหาประโยชน์จากคนอื่นที่รู้น้อยกว่าได้เช่นกัน

การมีความรู้ที่ำไม่ได้ไปถึงปัญญา อาจสร้างปัญหามากกว่าก่อประโยชน์

เราไม่ควรที่จะปล่อยให้การใช้ความรู้อยู่บนฐานของความน่าจะเป็น
แต่ต้องตระหนักให้มากกว่าทุกครั้งที่ได้ให้ความรู้
ต้องให้เครื่องกำกับการใช้ความรู้ไปด้วย

เพื่อให้เกิดการใช้ในทางที่ดีงามในเปอร์เซ็นต์ที่มากขึ้น
เครื่องกำกับความรู้ที่ว่าอย่างหนึ่งก็คือ ปัญญาการใช้ชีวิต

สำหรับก้อนหินก้อนหนึ่งจะไม่มีินิยามของคำว่า "รอ" หรือ "เหน็ดเหนื่อย"
จะมีเพียง "เป็นไป" ครูผู้มีวุฒิภาวะจะไม่ผลีผลามตัดสินเด็กด้วยเกณฑ์ใดเกณฑ์หนึ่ง


............................................................................................................................................................................

คิดตามครู ...


ผมย้อนกลับมาคิดถึงวิธีสอนของตัวเอง ณ ปัจจุบัน
นอกจาก "การสอนที่ทำให้เด็กเกิดความตระหนักรู้" แล้ว

อีกส่วนหนึ่งยังเป็นการสอนแบบให้เด็กได้ปะทะกับปัญหา
แล้วเกิดความคิดในการแก้ไขปัญหานั้น ๆ ตลอดภาคเรียน

บทความนี้ทำให้ผมมีคำตอบอีกครั้งแล้วว่า

ทิศทางการสอนคนให้เป็นคนนั้นถูกต้องและชัดเจนมากขึ้น

หลายครั้งที่ผมมักจะได้รับ Feedback จากคนรอบตัวว่า
เรากดดันเด็กเกินไปหรือเปล่า มันอาจจะทำให้เด็กเครียดได้นะ
มันเป็นการสร้างกรรมหรือเปล่า

คำถามแต่ละคำถามที่ตั้งมา นำพามาซึ่งความไม่แน่ใจ
ว่ากระบวนการที่เราอยากให้เป็นนั้นถูกทิศทางหรือไม่

แต่นั่นก็เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่ผมจะนำไปใช้ต่อไปอย่างแน่นอน
จะทำให้ดีขึ้นกว่านี้

แต่น่าจะยังไม่ใช่ทั้งหมด ผมจะศึกษาและเรียนรู้ต่อไป

เพื่อสร้าง "ครู" ออกไปสู่สังคมให้ดีที่สุด

หากเขาอยู่ในมือของผม


บุญรักษา ครูแท้ทุกท่านครับ ;)...


.............................................................................................................................................................................

ขอบคุณหนังสืออันงดงาม ...


วิเชียร ไชยบัง.  วุฒิภาวะของความเป็นครู.  บุรีรัมย์ : โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา, ๒๕๕๖.


หมายเลขบันทึก: 538484เขียนเมื่อ 8 มิถุนายน 2013 10:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 มิถุนายน 2013 10:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (16)

เข้ามาอ่าน มาเขียน มาเรียนรู้

ขอบคุณครับอาจารย์

ความเป็นครู ของคนเป็นครู สำคัญจริงๆ ครับ

ขอบคุณครับอาจารย์

ผมเองก็ผ่านครูอาจารย์มามากทั้งทางตรงและอ้อม บางคนเราเจอที่ไหนก็ทำเป็นไม่เห็น บางท่านเราก็เข้าไปไหว้สวัสดีแล้วผ่านไป กับบางท่านเราต้องก้มลงกราบทุกครั้งที่พบ ผมเชื่อว่าศิษย์เก่าของคุณครูจะทำอย่างหลัง

สู้ สู้ ครับ ขอแสดงความเคารพ

ครูมีความสุขจะเผื่อแผ่สร้างบรรยากาศโดยรวมและภาวะจิตใจเป็นสุข.....ให้ผู้เรียนรับรู้ได้โดยอัตโนมัติ

สุขกันเถอะเรา

อ่านแล้วโดนใจหลายๆ ประเด็นค่ะ

บางเวลาก็ต้อง classroom without wall ค่ะอาจารย์

เห็นสมควรเช่นนั้นครับ คุณครูนก noktalay ;)...

อยากอ่าน  วันนี้จะออกไปดูหนัง คงต้องแวะร้านหนังสือหามาอ่านค่ะ

ขอบคุณพ่อพิมพ์ ที่เป็นแบบพิมพ์ที่แข็งแกร่ง ที่ไม่โอนย้วยไปตามกระแส  แล้วสุดท้าน ผู้ที่ผ่าน (พ่อ) พิมพ์นี้แล้ว จักเป็นพิมพ์ที่ดีต่อไป

เช่นนั้นครับ คุณ nobita ;)...

ขอบคุณครับ

ขอบคุณที่นำมาแบ่งปันค่ะอาจารย์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท