Praepattra
ผู้ช่วยศาตราจารย์ Praepattra Kiaochaoum

แบบสอบถามความพึงพอใจต่อหนังสือธรรมของพระอาจารย์ มิตซูโอะ คเวสโก


แพรภัทร ยอดแก้ว. (2556). “การพัฒนาพฤติกรรมทางจริยธรรมของนักศึกษาโปรแกรมสังคมศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ด้วยโครงการเพิ่มพลังการศึกษาด้วยหนังสือธรรมะของพระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก ”. ในการประชุมวิชาการระดับชาติ NPRU ครั้งที่ 5 , . วันที่ 18 กรกฎาคม 2556 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. นครปฐม: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

เป็นข้อคำถามวัดระดับความพึงพอใจในหนังสือธรรมะ เป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง (แพรภัทร,2556) จากการตรวจสอบเอกสาร  ตามกรอบแนวคิดความพึงพอใจ ซึ่งมีลักษณะเป็นมาตราส่วน (Scale) ตามแบบการประเมินค่า (Rating Scale) โดยใช้การประเมินค่าของลิเคอร์ท  (Likert’s  Scale) ที่ให้ผู้ตอบประเมินค่า (1 - 5) ด้วยการเลือกเพียงคำตอบเดียว  ประกอบด้วยข้อคำถามจำนวน  35  ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับ  เท่ากับ  .919 ซึ่งครอบคลุมแนวคิดเกี่ยวกับความพึงพอใจในหนังสือธรรมะ 7  ด้าน  ดังนี้

1.  ลักษณะรูปเล่ม   มีจำนวน  5  ข้อ  ได้แก่  ข้อ 1 –5

2.  การจัดภาพประกอบ    มีจำนวน  5  ข้อ  ได้แก่  ข้อ 6 – 10

3.  เนื้อเรื่อง-สาระ    มีจำนวน  5  ข้อ  ได้แก่  ข้อ 11 – 15

4.  การใช้ภาษา    มีจำนวน  5  ข้อ  ได้แก่  ข้อ 16 – 20

5.  ข้อคิดและธรรมะ  มีจำนวน  5  ข้อ  ได้แก่  ข้อ 21 –25

6.  หลักพละ 5  มีจำนวน  5  ข้อ  ได้แก่  ข้อ 26 – 30

7.  คุณค่าทางจริยธรรม  มีจำนวน  5  ข้อ  ได้แก่  ข้อ 31 –35


ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อหนังสือธรรมของพระอาจารย์ มิตซูโอะ คเวสโก

คำชี้แจง  โปรดทำเครื่องหมาย  ถูก ลงในช่องว่างที่ตรงกับความคิดเห็นของท่าน

(ระดับความพึงพอใจ = มากที่สุด, มาก, ปานกลาง,น้อย,น้อยที่สุด)

หัวข้อ

ระดับความพึงพอใจ

มากที่สุด

(5)

มาก

(4)

ปานกลาง

(3)

น้อย

(2)

น้อยที่สุด

(1)

ลักษณะรูปเล่ม

1.  รูปเล่มภายนอกสวยงาม  น่าอ่าน

2.  ขนาดของตัวหนังสือ มีความเหมาะสม 

3.  ความหนาของหนังสือ มีความเหมาะสม

4.  การจัดหน้าสวยงาม  อ่านได้สะดวก

5.  การเข้าเล่มและการเย็บเล่ม มีความคงทน








การจัดภาพประกอบ

1.  ภาพปก มีความสวยงามน่าสนใจ

2.  ภาพปกและภาพประกอบ มีความชัดเจน

3.  ภาพปกสามารถสื่อความหมาย  มีความสัมพันธ์กับเรื่อง

4.  ภาพประกอบแต่ละตอนมีความสวยงาม

5.  ภาพประกอบ มีความสัมพันธ์กับเนื้อหาในแต่ละตอน


เนื้อเรื่อง-สาระ

1.  เนื้อหา เหมาะกับวัยและประสบการณ์ของผู้อ่าน

2.  ความยาวของเนื้อหา มีความเหมาะสม

3.  เนื้อหา มีความสัมพันธ์กับชื่อเรื่อง

4.  เนื้อหา มีความถูกต้องตรงกับความเป็นจริง

5.  เนื้อหา สามารถเสริมสร้างความรู้ให้กับผู้อ่าน


การใช้ภาษา

1.  ภาษาที่ใช้มีความชัดเจนเข้าใจง่าย

2.  ตัวอักษรมีความเป็นระเบียบ

3.  ขนาดตัวอักษรมีความเหมาะสมและมีความชัดเจน

4.  ชื่อเรื่องมีความเหมาะสมกับเนื้อเรื่อง

5.  ชื่อเนื้อหาในแต่ละตอนมีความเหมาะสมกับเนื้อหา


ข้อคิดและธรรมะ

1.  ข้อคิดและธรรมะมีความชัดเจนเข้าใจง่าย

2.  ข้อคิดและธรรมะนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

3.  ข้อคิดและธรรมะช่วยให้มีสติมากขึ้น

4.  ข้อคิดและธรรมะช่วยเสริมสร้างปัญญา

5.  ข้อคิดและธรรมะช่วยให้ประสบความสำเร็จในชีวิต


หลักธรรม หลักพละ5

1.  ความเชื่อมั่นในความดี

2.  ความเพียรพยายามในการทำดี

3.  ความรู้สึกตัว ไม่ประมาทพลั้งเผลอ

4.  ความสงบใจ มีสมาธิ ไม่ฟุ้งซ่าน

5.  ความเข้าใจโลกและชีวิตตามความเป็นจริง


คุณค่าทางจริยธรรม

1.  ส่งเสริมให้คิดดี พูดดี ทำดี

2.  ชี้แนะแนวทางแก้ปัญหาชีวิต

3.  นำเสนอแบบอย่างที่ดีงาม

4.  สร้างแรงจูงใจให้ใฝ่ปฏิบัติธรรม

5.  ช่วยให้มีเทคนิคในการดำเนินชีวิตอย่างมีความสุข




การทดสอบเครื่องมือในการวิจัย

ผู้วิจัยนำแบบสอบถามที่สร้างขึ้น  เพื่อการวิจัยครั้งนี้  ไปทดสอบความเที่ยงตรงและความเชื่อมั่น  ดังนี้

1. การหาความเที่ยงตรง (Validity)  โดยนำแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นไปตรวจสอบกับผู้เชี่ยวชาญด้านความพึงพอ ใจและพฤติกรรมทางจริยธรรม เพื่อทำการตรวจสอบความถูกต้องหาความเที่ยงตรงเนื้อหา (Content Validity) และการใช้ถ้อยคำ (wording) ของคำถามในแต่ละข้อว่าตรงตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยหรือไม่  แล้วนำข้อเสนอ แนะมาปรับปรุงแก้ไขแบบสอบถามให้เหมาะสมกับการเก็บข้อมูลจริง  จากนั้นนำไปทดลองใช้ (Try out) กับนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับกลุ่มตัวอย่างที่ต้องการศึกษา  จำนวน 30 คน  เพื่อดูความเข้าใจในแบบสอบถาม  ความชัดเจนของเนื้อหา  และผู้ตอบสามารถตอบได้ถูกต้องตามความเป็นจริง แล้วจึงนำมาคำนวณหาความสัมพันธ์รายข้อกับคะแนนรวม (Item Total  Correlation ) และหาความเชื่อมั่น (Reliability) ของแบบสอบถาม  โดยใช้วิธีหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของคอนบาค( Cronbach’s Coefficient Alpha )  ก่อนนำไปปรับใช้

2. การหาความสัมพันธ์รายข้อกับคะแนนรวม ( Item  Total  Correlation ) เป็นการวิเคราะห์ตรวจสอบความสัมพันธ์  สอดคล้องกับคะแนนรายข้อกับคะแนนรวมทั้งฉบับของแบบสอบถาม โดยหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน  โดยเลือกข้อที่มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ .36 ขึ้นไป นำไปใช้

3. การหาความเชื่อมั่น (Reliability) ของแบบสอบถามรายด้าน และทั้งฉบับโดยใช้วิธีหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของคอนบาค ( Cronbach’s Coefficient Alpha ) ได้ผลดังนี้


แบบสอบถามความพึงพอใจในหนังสือธรรมะ มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับ เท่ากับ  .919

เมื่อวิเคราะห์ตามองค์ประกอบรายด้านได้ค่าความเชื่อมั่น ดังนี้


1.  ลักษณะรูปเล่ม     เท่ากับ  .926

2.  การจัดภาพประกอบ    เท่ากับ  .915

3.  เนื้อเรื่อง-สาระ    เท่ากับ  .899

4.  การใช้ภาษา    เท่ากับ  .901

5.  ข้อคิดและธรรมะ    เท่ากับ  .903

6.  หลักพละ 5    เท่ากับ  .913

7.  คุณค่าทางจริยธรรม    เท่ากับ  .910


เอกสารอ้างอิง แบบสอบถามนี้มาจากงานวิจัยของ


แพรภัทร  ยอดแก้ว. 2556.การพัฒนาพฤติกรรมทางจริยธรรมของนักศึกษาโปรแกรมสังคมศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ด้วยโครงการเพิ่มพลังการศึกษาด้วยหนังสือธรรมะของพระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก.

The Ethical  Behaviors Development of  Students  of  Nakhon Pathom Rajabhat University Satisfaction by Dhamma book in Improve Learning Ability By Phra-ajahn Mitsuo Gavesako’s Project.


แพรภัทร  ยอดแก้ว. 2556. ความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจต่อการอ่าน หนังสือธรรมะในโครงการเพิ่มพลังการศึกษาด้วยหนังสือธรรมะของพระอาจารย์มิตซู โอะ คเวสโก และพฤติกรรมทางจริยธรรมของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

The Relationship between Satisfaction of Dhamma book in Improve Learning Ability By Phra-ajahn Mitsuo Gavesako’s Project and Ethical  Behaviors of  Students  of  Nakhon Pathom Rajabhat University.



หมายเลขบันทึก: 538479เขียนเมื่อ 8 มิถุนายน 2013 09:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 มิถุนายน 2013 21:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท