แนวคิดประชาสังคมในยุคก่อนสมัยใหม่ ข้อมูลจากหนังสือ "พัฒนาการและการพัฒนาประชาสังคม" หน้า 21-25 โดย ผศ.ทศพล สมพงษ์


แนวคิดเกี่ยวกับสมบูรณาญาสิทธิราชของรัฐกลายมาเป็นประเด็นขบคิดทางการเมืองในหมู่นักปรัชญาในยุครุ่งเรื่องทางปัญญา (Enlightenment) นักปราชญ์ในยุคนี้สนใจประเด็นคำถามทางการเมืองในเรื่อง "อะไรคือความชอบธรรมในการปกครอง ?" "ทำไมต้องมีสถาบันการปกครอง ?" "ทำไมมนุษย์บางคนจึงมีสิทธิขั้นพื้นฐานเหนือกว่าคนอื่นๆ?" ประเด็นคำถามทำนองนี้นำไปสู่การตั้งสมมติฐานเกี่ยวกับธรรมชาติของจิตใจมนุษย์ แหล่งที่มาของอำนาจทางการเมืองและศีลธรรม เหตุผลที่อยู่เบื้องหลังการมีระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ตลอดจนสนใจว่าสังคมจะเคลื่อนไปได้ไกลเกินกว่าระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ได้อย่างไร นักปรัชญาการเมืองในยุคนี้มีความเห็นตรงกันข้ามในเรื่องความสัมพันธ์แบบพันธมิตรระหว่างรัฐกับศาสนจักร โดยมองว่ารัฐและศาสนจักรเป็นตัวสกัดกั้นความก้าวหน้าและความอยู่ดีมีสุขของมนุษย์ เพราะว่ารัฐถือว่าเป็นตัวตนหรือองค์กรทางการเมืองที่ใช้อำนาจบีบบังคับเสรีภาพของปัจเจกชน ขณะเดียวกันศาสนจักรก็มีความชอบธรรมในการปกครองของระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ โดยการสถาปนาทฤษฎีเทวสิทธิ (Divine Right) ขึ้นมาครอบงำความคิดของราษฎรให้ยอมรับการปกครองของกษัตริย์ นักปราชญ์การเมืองในยุคนี้มองว่าความเชื่อนี้ขัดขวางเจตจำนงของประชาชน

ยุคก่อนสมัยใหม่ (Pre-modern history) เป็นช่วงตอนปลายของยุคกลางไปจนถึงยุคเริ่มเข้าสู่สมัยใหม่ ประมาณศตวรรษที่ 17 ถึง ศตวรรษที่ 18 มีเหตุการณ์ที่สำคัญในยุโรป คือสงครามสามสิบปี (Thirty Years' War) เป็นจุดเริ่มต้นของการเกิดระบบรัฐที่มีอำนาจอธิปไตยของตนเอง ผลทางการเมืองการปกครองที่ตามมาคือ ระบบกษัตริย์สามารถเข้าไปควบคุมระบบศักดินา จนกระทั่งระบบศักดินาค่อยๆเสื่อมลง กษัตริย์ยุติการพึ่งพากองทัพจากขุนศึกหัวเมือง (Lord) และได้มีการจัดตั้งกองทัพแห่งชาติขึ้นแทน พร้อมๆกับการพัฒนาระบบบริหารราชการแบบอาชีพขึ้น ทำให้กษัตริย์สามารถควบคุมเบ็ดเสร็จและมีอำนาจสูงสุดในการปกครองราษฎร เป็นการเริ่มต้นระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และระบบนี้มีความรุ่งเรื่องสูงสุดในยุโรปมาจนกระทั่งถึงตอนกลางศตวรรษที่ 18

แนวคิดเกี่ยวกับสมบูรณาญาสิทธิราชของรัฐกลายมาเป็นประเด็นขบคิดทางการเมืองในหมู่นักปรัชญาในยุครุ่งเรื่องทางปัญญา (Enlightenment) นักปราชญ์ในยุคนี้สนใจประเด็นคำถามทางการเมืองในเรื่อง "อะไรคือความชอบธรรมในการปกครอง ?"  "ทำไมต้องมีสถาบันการปกครอง ?" "ทำไมมนุษย์บางคนจึงมีสิทธิขั้นพื้นฐานเหนือกว่าคนอื่นๆ?" ประเด็นคำถามทำนองนี้นำไปสู่การตั้งสมมติฐานเกี่ยวกับธรรมชาติของจิตใจมนุษย์ แหล่งที่มาของอำนาจทางการเมืองและศีลธรรม เหตุผลที่อยู่เบื้องหลังการมีระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ตลอดจนสนใจว่าสังคมจะเคลื่อนไปได้ไกลเกินกว่าระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ได้อย่างไร นักปรัชญาการเมืองในยุคนี้มีความเห็นตรงกันข้ามในเรื่องความสัมพันธ์แบบพันธมิตรระหว่างรัฐกับศาสนจักร โดยมองว่ารัฐและศาสนจักรเป็นตัวสกัดกั้นความก้าวหน้าและความอยู่ดีมีสุขของมนุษย์ เพราะว่ารัฐถือว่าเป็นตัวตนหรือองค์กรทางการเมืองที่ใช้อำนาจบีบบังคับเสรีภาพของปัจเจกชน ขณะเดียวกันศาสนจักรก็มีความชอบธรรมในการปกครองของระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ โดยการสถาปนาทฤษฎีเทวสิทธิ (Divine Right) ขึ้นมาครอบงำความคิดของราษฎรให้ยอมรับการปกครองของกษัตริย์ นักปราชญ์การเมืองในยุคนี้มองว่าความเชื่อนี้ขัดขวางเจตจำนงของประชาชน

ในช่วงปลายศตวรรษที่ 17 ต่อเนื่องมาถึงศตวรรษที่ 18  ปรัชญาการเมืองตะวันตกมีอิทธิพลอย่างมากต่อการเปลี่ยนแปลงความคิดทางการเมืองเกี่ยวกับอำนาจรัฐ ส่งผลต่อการตื่นตัวทางการเมืองและการเติบโตขององค์กรภาคประชาสังคม จนพัฒนาไปสู่การเป็นรากฐานการปฎิวัตประชาธิปไตยในยุโรป อิทธพลทางความคิดของนักปรัชญาการเมืองในยุคนี้ที่สำคัญได้แก่ โทมัส ฮอบส์ (Thomas Hobbes) จอห์น ล็อค (John Locke) และ ฌ็อง ฌ้ากส์ รุสโซ (Jean -Jacques Rousseau) ความคิดของนักปรัชญาทั้งสามคนจัดอยู่ในกลุ่มความคิดที่เรียกว่าทฤษฎีสัญญาประชาคม (Social Theory) เป็นการนำเสนอความคิดที่อธิบายความชอบธรรมใหม่เกี่ยวกับที่มาของอำนาจรัฐ จากเดิมที่เชื่อกันโดยทั่วไปว่า ผู้ปกครองซึ่งก็คือกษัตริย์มีความชอบธรรมในการใช้อำนาจปกครองที่ได้รับมาจากพระเจ้าที่เรียกว่า อำนาจเทวสิทธิ์ (Diving Right) อำนาจจากสวรรค์นี้ผู้ปกครองได้รับผ่านมาทางศาสนจักร ตามความเชื่อแบบเดิมนี้อำนาจของอาณาจักรและอำนาจของศาสนจักรจึงเป็นอันเดียวกัน แต่อำนาจรัฐตามแนวคิดของนักปรัชญากลุ่มสัญญาประชาคมเสนอขึ้นมาใหม่ อ้างที่มาของอำนาจรัฐว่าเกิดจากการยินยอมพร้อมใจกันของมนุษย์ในสังคมมาตกลงจัดระเบียบการอยู่ร่วมกันด้วยการมอบอำนาจให้ผู้นำทำหน้าที่แทนตนในนามของส่วนรวม นักปรัชญาทั้งสามคนให้เหตุผลแตกต่างกันในการอธิบายถึงความจำเป็นที่มนุษย์ยินยอมมาอยู่ร่วมกันเป็นสังคมและยอมมอบอำนาจให้ผู้อื่นปกครอง โดยนักทฤษฎีแต่ละคนมีคำอธิบายอ้างถึงพื้นฐานธรรมชาติของมนุษย์ในแง่มุมที่แตกต่างกัน แต่ที่มีทัศนะเหมือนกันคือธรรมชาติของมนุษย์เป็นเหตุแห่งการทำข้อตกลงยินยอมในการจัดตั้งและมอบอำนาจให้ผู้นำ

ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท

7 มิถุนายน 2556

ผมจะนำแนวความคิดของทั้งสามนักปรัชญา มาเผยแพร่ ในตอนต่อไป โปรดติดตามในเร็วๆนี้



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท