ชีววิทยา..พาทำมือ


         จากการตอบรับที่ดีเยี่ยม นักเรียนหลายคน(2 คน) เริ่มเปิดม่านตา ดววงตาเป็นประกายพอมีความหวังในการเรียนชีววิทยา วันนี้ครูปุ้มมีเทคนิคต่อมาที่จะนำเสนอค่ะ นั่นคือการใช้มือในการช่วยจำ ว่าแต่การใช้มือในการช่วยจำทำยังไงมาลองดูกันค่ะ

การเชื่อมโยงเรื่องวิวัฒนาการระบบประสาทของโพรติสส์และสัตว์

         เริ่มจากนักเรียนใช้นิ้วมือ 4 นิ้ว ทั้ง 2 มือวางทับกัน เราเรียกว่า ......ใช้แล้วการประสานมือ ก็จะตรงกับ
พวกพารามีเซียมที่มีเส้นใยประสาทแบบประสานงาน (coordinating fiber) เชื่อมระหว่างโคน cilia ช่วยควบคุมการโบกพัด

        หักนิ้ว (งอนิ้วเก็บนะค่ะ ไม่ใช่หักดังกร๊อบล่ะ) ออกข้างละ 1 นิ้ว เหลือข้างละ 3 นิ้ว (เก่งมาก...) วางทับกันจะเหมือนกับตาข่าย นั่นก็คือระบบประสาทแบบร่างแห (nerve net) ของ Hydra นั่นเอง เมื่อมีสิ่งเร้าก็จะส่งกระแสประสาทไปทั่วๆร่างกายเรียกว่าการไซแนปส์ค่ะ

       หักต่อค่ะ หักออก 1 นิ้ว เหลือข้างละ 2 นิ้ว เอามาวางทับกันจะเหมือนกับ ขั้นบันได นั่นก็คือวงแหวนประสาท (nerve ring) แบบขั้นบันได พลานาเรีย ปลาดาวค่ะ [ระบบประสาทส่วนกลาง (สมองและเส้นประสาทใหญ่(ventral nerve cord)) จะเริ่มพบในหนอนตัวแบน (พลานาเรีย)]

       หักจนเหลือข้างละ 1 นิ้ว วางทับกันเหมือนปม นั่นก็คือ ปมประสาท (nerve ganglion) ของกุ้ง กั้ง ปู ไส้เดือนดิน แมลง 

      เหลือ 1 นิ้ว ยกขึ้นมาโชว์ แทนกระดูกสันหลังและสมอง คนและสัตว์มีกระดูกสันหลังค่ะลองทำเล่นๆเวลาอ่านหนังสือนานๆแล้วเมื่อย เป็นการออกกำลังกายนิ้วมือเบาๆด้วยค่ะ


(เวลาสอบยกมือขึ้นมาทำก็ระวังๆด้วยนะค่ะ เดี๋ยวอาจารย์คุมสอบบอกว่าส่งซิกส์แย่เลยค่ะ)

                                  


            มือของเรายังมีประโยชน์ค่ะ อย่าเพิ่งทิ้ง (ใครจะทิ้งล่ะเนี่ย) เวลาที่เรียนเรื่องการมองวัตถุใกล้ ไกล งงไหมค่ะ
ว่าอะไรหด อะไรหย่อน อะไรยาน (เอ่อ...ยานนี่ไม่มีนะ ) มาลองใช้วิธีนี้ค่ะ 

           ก่อนอื่นต้องกำหนดก่อนให้

          แขน = ciliary muscle       นิ้ว = suspensory ligament   ระหว่างนิ้วทั้งสองมือ = รูม่านตา 

          ความกว้างของนิ้ว = เลนส์


         มาเริ่มที่การมองใกล้ เอามือแนบข้างลำตัว ทำนิ้วให้ป้อมๆ อยู่ใกล้ๆกัน จะเห็นว่า ciliary muscle จะหด เพราะเราเอาแนบลำตัว suspensory จะหย่อน เพราะนิ้วจะโค้งๆ  เลนส์จะป่อง รูม่านตาจะแคบ เพราะปลายนิ้วติดกัน


        มองไกล ทุกอย่างจะตรงข้าม เริ่มจากงอแขน แต่มือตึง เหยียดนิ้วมือ 4 นิ้ว หันเข้ามากัน แต่ปลายนิ้วมือห่างกัน เพราะแขนตึงไง ถ้านึกไม่ออกลองดูภาพนะค่ะ



                                   

         ดูภาพแล้วพอเข้าใจไหมค่ะ มือช่วยได้นะค่ะ 


   

                               ยังค่ะ ยังไม่หมด มือยังช่วยเรียนเรื่องเซลล์ประสาทด้วยค่ะ ใครจำไม่ได้ว่าเซลล์ประสาทประกอบด้วยอะไรบ้างใช้ภาพนี้นะค่ะ


                                    

       

     ปลายนิ้วมือแทนเดนไดรที่จะมีหลากหลายเซลล์คอยรับกระแสประสาทเข้ามา ตรงกลางเซลล์คือตัวเซลล์ เมื่อกระแสประสาทเข้ามาทางเดนไดรก็จะผ่านเข้าตัวเซลล์ ส่งออกไปทางแอกซอน ซึ่งจะมีเซลล์เดียว ถ้านักเรียนพันมือ ผ้าที่พันเปรียบเหมือนเยื่อ myelin sheath (เป็นเยื่อหุ้มของ Schwann cell) เป็นสารประเภทไขมัน ส่วนนี้กระแสประสาทจะกระโดดข้ามไป เพราะไขมันเป็นฉนวน ส่วบริเวณที่ไม่มีเยื่อ myelin sheath เรียกว่า node of Ranvier เมื่อตัดบริเวณแขน (สมมตินะคะ ห้ามทำจริงค่ะห้ามทำจริง) จะเห็นนิวเคลียส


        ลองเอาไปเล่นดูนะค่ะ เวลาที่นักเรียนรู้สึกว่าจำได้ เรียกความจำกลับมาได้อย่างรวดเร็ว จะช่วยเพิ่มความมั่นใจในการเรียนรู้ได้ด้วยนะค่ะ สิ่งเหล่านี้อาจเป็นแรงจูงใจที่ช่วยให้เรียนอยากลองทำความเข้าใจและจำไว้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการเรียนชีวะต่อไปค่ะ


          ด้วยรักและใบชะพลู

                      ครุปุ้มไบโอ

                             


หมายเลขบันทึก: 537555เขียนเมื่อ 30 พฤษภาคม 2013 12:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 มิถุนายน 2013 12:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

มาเยี่ยมบันทึกเทคนิคการสอนอีกคราครับ ;)...

ขอบคุณมากค่ะ...การเยี่ยมของท่าน ถือเป็นกำลังใจของคนเขียนค่ะ 

ครูปุ้มเข้าหลักสูตรครูฟามาหรือเปล่าค่ะนี่ น่าสนใจมากๆ เลยค่ะทั้งเอกสารการสอนและกลวิธีในการถ่ายทอดค่ะ ขอบคุณค่ะ

ปุ้มไม่ได้เข้าหลักสูตรค่ะท่านอาจารย์ อันนี่เกิดจากการที่ปุ้มพยายามหาวิธีจำให้เด็กๆที่ห้องเรียน ตอนแรกก็กลัวๆๆกล้าๆที่จะนำเสนอ เพราะกลัวจะเข้าใจว่าเน้นการสอนจำอย่างเดียวค่ะ พอลองนำเสนอเห็นเด็กๆสนใจดี บางคนจบไปหลายปีก็ยังจำได้ค่ะ พอจำได้เค้ามั่นใจในการเรียนมากขึ้น เลยลองนำมาถ่ายทอดต่อค่ะ จะพยายามเสนอเทคนิคการเรียนชีวะในมุมมองที่สนุกๆๆค่ะ ท่านอาจารย์ ขอบคุณที่ท่านอาจารย์ให้ความสนใจนะค่ะ มีกำลังใจในการแบ่งปัน แลกเปลี่ยนมากๆๆเลยค่ะ ขอบคุณค่ะ

เยี่ยมมากๆ เลยค่ะ เป็นตัวอย่างในการเผยแพร่ผลงานของตนเองและนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในวงกว้างได้ด้วยค่ะ ยินดีที่ครูปุ้มมาร่วมแบ่งปันความรู้ใน GotoKnow นะคะ :)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท