แก้ไขความเข้าใจผิด เรื่องไขมันกับโรคหลอดเลือดหัวใจ กันสักนิดเพื่อชีวิตที่ปลอดภัย(ขึ้น)


เขียนโน้ตไว้ในอนุทินเมื่อเช้า รู้สึกว่าเรื่องนี้มีแพทย์หลายๆท่านที่ได้เห็นสภาพของหลอดเลือดหัวใจ มาเขียนเตือนกันอยู่หลายบทความ เลือกเอามาหนึ่งเรื่องที่อธิบายเข้าใจง่ายดี เอามาสรุปความบอกต่อเอาไว้ นึกถึงว่าเหมือนเราที่อยู่แล็บแล้วเห็นผลของคนมาตรวจสุขภาพว่า ตัวเจ้าของเลือดคงยังไม่รู้ตัวว่า ค่าของตัวบ่งชี้สุขภาพนั้นน่าเป็นห่วง อันนี้ศัลยแพทย์หัวใจทั้งหลายที่ได้เห็นสภาพหลอดเลือดที่โดนทำร้ายอย่างต่อเนื่อง ก็คงอยากจะบอกเหมือนเรา บทความที่ลิงค์ไว้ให้นี้ คุณหมอ Lundell ท่านเขียนบรรยายเปรียบเทียบจนเราเห็นภาพเลยค่ะ 

บทความนี้ Heart surgeon speaks out on what really causes heart disease ของ คุณหมอ Lundell ศัลยแพทย์หัวใจ อ่านแล้วเห็นด้วยกับท่านมากๆเลย ขอเอามาฝากและสรุปให้ว่า ท่านเตือนว่าการที่เรามีเส้นเลือดอุดตันเพราะไขมันสะสมจนเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจหรือสมองนั้น สาเหตุมาจากการที่ผนังเส้นเลือดเรามีการอักเสบ เพราะถ้าไม่มีการอักเสบไขมันก็ไม่เกาะ และการอักเสบของหลอดเลือดนั้นก็มาจากการที่เรากินอาหารไขมันต่ำแต่มีไขมันไม่อิ่มตัว (polyunsaturated fat) และอาหารพวกแป้งสูง ซึ่งเป็นตัวการที่สร้างความบาดเจ็บให้ผนังหลอดเลือดอย่างต่อเนื่อง เพราะอาหารพวกแป้งและน้ำตาลที่เรากินเข้าไปร่างกายต้องสร้างอินสุลินมาพาเข้าเซลล์ พอเซลล์ไม่รับแล้วก็เหลือเก็บเป็นไขมัน หรือไม่ก็เกาะกับโปรตีนในเลือดซึ่งก่อให้เกิดความบาดเจ็บต่อหลอดเลือด ส่วนไขมันไม่อิ่มตัวอย่างโอเมก้า 6 ที่สนับสนุนให้กินกันนั้น (มีในน้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันข้าวโพด) ถ้าเรากินมากเกินทำให้สัดส่วนกับไขมันโอเมก้า 3 (ที่มีมากในน้ำมันปลาอย่างแซลมอน) ไม่เป็นไปตามที่ควรจะเป็นคือ 3:1 ในขณะที่ท่านบอกว่าปัจจุบันผิดสัดส่วนไปอยู่ที่ 15:1 ถึง 30:1 ซึ่งกลายเป็นการกระตุ้นให้มีสารที่มาทำให้ผนังหลอดเลือดบาดเจ็บเพิ่มขึ้น

เพราะฉะนั้นการกินอาหารไขมันต่ำไม่ได้ช่วยให้เรามีโอกาสเสี่ยงน้อยลงอย่างที่เรามักจะคิดกัน แต่กลายเป็นว่าถ้าอยากให้ไม่เสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจ ก็ควรละเว้นการกินอาหารที่ไปมีส่วนทำให้หลอดเลือดอักเสบ พวกน้ำตาล แป้ง ไขมันที่ไม่ได้สัดส่วนเสียมากกว่า

ท่านจึงแนะนำให้กินอาหารที่ไม่ผ่านกระบวนการแต่เป็นธรรมชาติแบบปลอดสารพิษด้วย จึงจะดีต่อหลอดเลือด คนไทยกับคนอเมริกันตอนนี้ก็คงจะมีสัดส่วนของคนเป็นโรควิถีชีวิตใกล้ๆกัน เพราะฉะนั้น ดูแลตัวเองกันเสียแต่เนิ่นๆด้วยการระวังอาหารการกินซึ่งเป็นสิ่งที่เราคุมได้ น่าจะง่ายที่สุดนะคะ

หมายเลขบันทึก: 536891เขียนเมื่อ 23 พฤษภาคม 2013 18:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 พฤษภาคม 2013 19:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)

พี่โอ๋มีแต่เรื่องดีๆมาเล่าให้ฟัง ขอบคุณแทนหลายๆท่านค่ะ

Thank you for this eye-opener post.

I should now add (processed) carbohydrates to my list of bad eating habits : salty, fatty and sweet, and now flour products (pastries, pizzas,... and cakes -- Ouch ;-)

ขอบคุณความรู้มากมายที่นำมาแบ่งปันจ้ะ

ขอบคุณสำหรับสาระดีๆค่ะ

 

สวัสดีค่ะ ดร.อโณทัย...อาหารส่วนใหญ่จะมีฉลากโภชนาการติดไว้ให้ทราบว่าอาหารให้แคลลอรี่เท่าไร? มี Cholesterol เท่าไร? มีแป้ง มีน้ำตาล และไขมัน trans ไขมัน Fat , Sodium, Fibre, Protein, Vitamin ต่างๆ , Calcium และIron..บอกอยู่แล้ว...เมื่อก่อนไม่เคยสนใจ...กินเพราะชอบกินเพราะอร่อย แต่ต้องนี้กำลังฝึกการอ่านเพื่อควบคุมอาหาร...เพราะไขมันสูงมากๆค่ะ...แต่ไม่ยอมกินยา...

ผมชักอ้วนขึ้นเรื่อยๆ....กินอะไรก็อะหร่อยไปหมด....ที่สงขลาเป็นอย่างไรบ้างฝนตกชุกไหมครับ

ขอบคุณค่ะ พี่ก็กำลังลำบากเพราะความอ้วนขึ้นของตัวเอง จนเป็นโรคหลายโรคดังว่าค่ะ ตอนนี้ พยายามกินน้อย แต่ก็ทุกข์ใจค่ะ มีสูตรการทำใจเรื่องการกินไหมคะ

พออายุสูงขึ้น รู้สึกว่าการควบคุมน้ำหนักทำได้ยากขึ้นตามไปด้วย. แม้ว่าจะออกกำลังกายแล้วก็ตาม ขออนุญาต copy หน้านี้ไปshare ให้เพื่อนในfb ทราบด้วยได้ไหมคะ

เผยแพร่ต่อได้เลยค่ะ คุณศิรินุช ด้วยความยินดีอย่างยิ่งค่ะ

ขอบคุณทุกความเห็นนะคะ สิ่งที่เป็นปัญหาของทุกท่านดูจะเป็นปัญหาร่วมกันนะคะ และการแก้ปัญหานี้ก็ดูจะยังไม่มีหรือมีน้อยมาก เรามาช่วยกันหาวิธีปรับชีวิตให้มีคุณภาพขึ้นแล้วมาถ่ายทอดแลกเปลี่ยนกันนะคะ อย่างเช่น กินยังไงให้ร่างกายไม่ทำงานหนักมาก อันนี้ทำตามบันทึกต่างๆของพี่ดาได้แน่นอน ชีวิตที่พอเพียงตามท่านอ.วิจารณ์ และท่านอื่นๆอีกหลายๆท่านได้ เช่น โยคะของคุณมนัสดา กิจกรรมของอ.ธวัชชัย และอีกสารพัดกิจกรรมดีๆต่อสุขภาพที่เราหาได้ใน GotoKnow ค่ะ 

ขอบคุณคุณโอ๋ที่นำมาแบ่งปันค่ะ  แล้วน้ำมันมะกอกกับน้ำมันรำข้าวนี่มีโอเมก้า3หรือโอเมก้า6มากล่ะคะ เพราะเคยเชื่อว่าน้ำมันไม่อิ่มตัวที่มีขาเดียว(monounsaturated fatty acid)อย่างในน้ำมันมะกอกกับน้ำมันรำข้าวจะดีต่อสุขภาพ แต่หลายขา(polyunsaturated fatty acid)อย่างในน้ำมันถั่วเหลืองจะไม่ค่อยดี ไม่ทราบว่าที่เชื่อมาว่าน้ำมันมะกอกกับน้ำมันรำข้าวดีนี่ยังถูกอยู่ไหมคะ แต่ว่าน้ำมันมะพร้าวของพี่ดาต้องไม่ทำร้ายหลอดเลือดแน่นอนค่ะ  แต่เราก็ถูกแนะนำให้กลัวกะทิกลัวไขมันอิ่มตัวไม่ว่าน้ำมันปาล์มน้ำมันมะพร้าวน้ำมันหมูมาตลอดนะคะ

คงจะอยู่ที่สัดส่วนของไขมันทั้งสองชนิดนี้ในน้ำมันมะกอกและน้ำมันรำข้าวที่เราใช้น่ะค่ะ ต้องดูที่ฉลาก แต่ของน้ำมันรำข้าวอาจจะมีข้อดีเพิ่มเติมที่เขามีสารต่อต้านอนุมูลอิสระด้วยนั่นเอง แต่โอเมก้า 3 ในน้ำมันพืชเท่าที่อ่านเขาว่ามีปริมาณน้อยค่ะ ถ้าเราอยากได้ไขมันนี้ควรกินจากปลาทะเลหรือพืชผักที่มีมาก ปลาไทยๆเราก็มีหลายชนิดค่ะที่มีโอเมก้า 3 เยอะแต่อาจจะต้องเลือกแหล่งที่มีสารพิษตกค้างน้อยๆหน่อย ถ้ากินให้หลากหลายไม่ซ้ำกันอาจจะช่วยลดความเสี่ยงเรื่องสารพิษสะสมได้นะคะ รายงานนี้เพียงแต่เตือนเรื่องสัดส่วนของไขมันและผลกระทบต่อหลอดเลือดน่ะค่ะ ธรรมดาเราอาจจะคิดถึงแต่พวกสารพิษ เขม่าควันที่จะเข้าไปทำให้หลอดเลือดอักเสบ แต่อาหารที่ผิดสัดส่วนก็มีผลด้วยเช่นกัน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท