“สานงาน เสริมพลัง สร้างประเทศไทย”


สำหรับผู้ที่ติดตามข่าวคราวการสร้างเสริมสุขภาวะ คงพอจะรู้ว่าในปีนี้ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จะจัดงานครบรอบ 12ปี ของการทำงาน ภายใต้ชื่อ “สานงาน เสริมพลัง ร่วมสร้างประเทศไทยให้น่าอยู่” ณ ที่ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา ในวันที่ 28-29 พ.ค.ที่จะถึงนี้ ความสำคัญของงานที่ว่านอกจากจะเป็นการพบปะกันระหว่างเครือข่ายภาคีที่ขับเคลื่อนการทำงานด้านสุขภาวะ ซึ่งหมายถึงการสร้างความสุขด้วยการลดปัจจัยเสี่ยงในด้านต่างๆ ทั้งด้าน พฤติกรรม ทัศนคติ สิ่งแวดล้อมรอบตัวแล้ว เวทีดังกล่าวยังถือเป็นการเผยแพร่บทเรียน ถ่ายโอนองค์ความรู้ประสบการณ์ระหว่างกันคนทำงาน อันเป็นเหมือนการเอื้อเฟื้อ “เข็มทิศ” แห่งการทำงานระหว่างกัน ที่พลาดไม่ได้ และเป็นประเด็นที่เราอยากจะเชื้อเชิญให้ผู้อ่านร่วมติดตามคือการเผยแพร่บทเรียนด้าน
“สุขภาวะทางปัญญา” ซึ่งเรานิยามว่าคือ ความรู้ทั่ว รู้เท่าทัน และความเข้าใจอย่างแยกได้ในเหตุผลแห่งความดีความชั่ว ความมีประโยชน์และความมีโทษ ซึ่งนำไปสู่ความมีจิตอันดีงามและเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่

สำนักสร้างสรรค์โอกาสและนวัตกรรม (สำนัก 6) ซึ่งทำงานเรื่องสุขภาวะทางปัญญามาอย่างต่อเนื่อง ให้รายละเอียดว่า หลักคิดของการใช้เหตุผลพิจารณาสิ่งที่เป็นคุณหรือโทษแบบที่ว่ามานี้ไม่ได้เกิดขึ้นลอยๆ แต่คือทักษะที่ผ่านการทำงาน ทำกิจกรรมที่สำนักนวัตกรรม ส่งเสริม สนับสนุน และเป็นกิจกรรมที่เราคุ้นตากันดี เช่น ละครเพื่อการเปลี่ยนแปลง ค่ายอาสา สุขแท้ด้วยปัญญา อย่างที่เคยเผยแพร่ในพื้นที่นี้อย่างต่อเนื่องการมีทักษะในการใช้เหตุผล ซึ่งสอดแทรกผ่านกิจกรรม สามารถนำมาใช้อย่างเป็นรูปธรรมใน 2 ส่วนสำคัญคือ แนวคิดและปฏิบัติการ

ในระดับแนวคิดพบว่า “สุขภาวะทางปัญญา” ครอบคลุมความหมายที่หลากหลาย โดยเฉพาะความเข้าใจสิ่งต่าง ๆ ที่เป็นไปตามความเป็นจริง มีสติและรู้เท่าทัน ตลอดจนค้นหาและพัฒนาศักยภาพของตนเองได้อย่างสอดคล้องเหมาะสมกับสังคมปัจจุบัน โดยเฉพาะการคิดถึงผู้อื่น ชุมชน สังคม เช่น ความมีจิตอาสา เอื้อเฟื้อเกื้อกูลส่วน ระดับปฏิบัติการ ดั่งเช่น การอบรม การเพิ่มทักษะ การทำค่าย การทำละคร แบบที่เราคุ้นกันอยู่ นอกจากนี้ยังมีการการออกแบบที่สอดคล้องกับบริบทใหม่ๆ เช่น การสร้าง Application การจัดพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้

“วีรพงษ์ เกรียงสินยศ” กรรมการบริหารแผนสนับสนุนโครงการเปิดรับทั่วไปและนวัตกรรม เชิญชวนให้ผู้สนใจติดตามงานที่จะถึงนี้ เพื่อเป็นหลักฐานว่าการมีสุขภาวะทางปัญญาไม่ใช่เรื่องที่เข้าใจยากหรือซับซ้อนเกินกว่าจะทำความเข้าใจได้ เพียงแต่ต้องอาศัยการทำงานจริงที่เป็นรูปธรรมและกิจกรรมที่จะบอกต่อๆกันนี้ มีในหลายรูปแบบ ทั้งนิทรรศการ การจัดเสวนา การถอดบทเรียนในโครงการเด่นที่สำนักนวัตกรรมสนับสนุนรวม 7โครงการ และเน้นการเผยแพร่ข้อมูลจุดประกายให้กับผู้สนใจ นำไปสู่การปรับเปลี่ยนวิธีคิด ทัศนคติ ค่านิยม พฤติกรรม และสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการใช้เหตุผลสร้างสรรค์สังคมได้ง่ายขึ้น

สำหรับผู้ที่ติดตามบันทึกในพื้นที่แห่งนี้ เชื่อว่ากิจกรรมในวันที่ 28-29 พ.ค.นี้ น่าจะเกิดประโยชน์ไม่มากก็น้อย ไปเห็นไปดูข้อมูล บทเรียนจริงกันดีกว่าครับ แล้วเราจะกลับมาแลกเปลี่ยนในพื้นที่ตรงนี้ต่อไป


หมายเลขบันทึก: 536884เขียนเมื่อ 23 พฤษภาคม 2013 15:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 พฤษภาคม 2013 15:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เหมือนอาจารย์จัน ได้มีโอกาสเข้าไปร่วมงานด้วยเหมือนกันครับ ...จะเก็บเกี่ยวประสบการณ์เอามาประยุกต์ใช้ต่อไปครับ...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท