สิรภัทร
สิรภัทร จิตตะมาลา ลิ่มไพบูลย์

“โครงการอัตลักษณ์ท่าศาลาเชิงบูรณาการ” จังหวัดนครศรีธรรมราช (ภาค 5 พาเที่ยวบ้านชุมแสง)


          วันนี้ ลงพื้นที่ตำบลดอนตะโก บ้านชุมแสง

          ชุมแสงเป็นชื่อของต้นไม้ที่มีปริมาณมากในพื้นที่แห่งนี้ในอดีต แต่ปัจจุบันประชาคมหมู่บ้านบอกว่าเหลืออยู่ 1 ต้นที่ดงป่ายางบ้านลุงจำนงค์ โมราศิลป์  ลุงฉากบอกว่าหากใครอยากเห็นต้นชุมแสงโบราณขนาดใหญ่ต้องไปที่ปั้มน้ำมันแห่งหนึ่งในเกาะสมุย (เหมือนลุงอยากจะพาทัวร์เกาะสมุยใช่ไหมค่ะ วันนี้มีเวลาจำกัดจึงไม่ได้พาไปแล ถ้าจะไปก็ขอไปที่ดงป่ายางลุงจำนงค์ก่อนแล้วกันค่ะ) คุณลุงฉากเล่าว่าต้นชุมแสงมีลักษณะคล้ายต้นแพร คล้ายต้นชมพู่น้ำ ชื่อหมู่บ้านชุมแสงแยกจากการเป็นส่วนหนึ่งของตำบลโมคลาน มาใช้ชื่อหมู่บ้านสังกัดตำบลดอนตะโก

          หมู่บ้านแห่งนี้เคยผิดหวังจากการจัดตั้งกลุ่มผ้ามัดย้อม ผู้นำชุมชนเล่าว่า “กิจกรรมร่วมในชุมชน  การเชื่อมโยงปฏิสัมพันธ์ สามัคคีกันไม่ได้ ต้องเลิกรากันไปเพราะส่วนหนึ่งมาจากระบบราชการนำงบประมาณมาผลักให้เกิดอาชีพ โดยขอแค่ชื่อคน แต่เอาเข้าจริงๆรายชื่อเหล่านั้นไม่ได้มาร่วมกิจกรรม ” นอกจากนี้ยังสะท้อนถึงการบริหารงบประมาณแบบผลาญให้หมดๆไป

          ความทรงจำเพื่อการรื้อฟื้นผลิตภัณฑ์ชุมชนยังเป็นบาดแผลร้าวลึกของหัวใจประชาชน ประชาชนจึงฝากบอกว่าหากราชการมาช่วยเหลือต้องให้เป็นตามที่ต้องการจริงๆ ในช่วงนั้นประชาชนสับสน เจอสิ่งแปลกใหม่เยอะ มองอะไรๆก็ไม่ค่อยออก” การส่งเสริมกิจกรรมผ้ามัดย้อมจึงเป็นนิยายที่ค่อนข้างขมขื่น ปัญหาคือประชาชนไม่มีพื้นฐานทักษะฝีมือ ปัญหาการเปิดตัวสู่ตลาดไม่มีประสิทธิภาพ ช่วงหลังๆปรับเป็นผ้าบาติกก็ยังคงเผชิญปัญหาเดิมๆ

           สำหรับพื้นที่แห่งนี้เสน่ห์คือ ประชาชนมีอาชีพพื้นฐานแบบพอมีพอกินในระดับครอบครัวตลอดปี อาชีพหลักคือ 1) ด้านการเกษตร : สวนยางพารา นาข้าว ผลไม้ท้องถิ่น เช่น เงาะ ทุเรียน ลองกอง มังคุด 2) ด้านผลิตภัณฑ์เพื่อการใช้สอยในอาชีพ เช่น จักสาน (กระด้ง ไซ ตะข้อง อุปกรณ์ไถนา) สุคิดว่าจะกลับไปที่นี่อีกมิใช่เพียงไปยลโฉมต้นชุมแสง แต่เสน่ห์ทีนี่ที่เดียวในประเทศไทย      คือ   ต้นยางขาคีมขนาดใหญ่มากๆ    เจริญเติบโตแ่ผ่กิ่งก้านสาขายืนตะหง่านงดงามตระการตายิ่ง  บริเวณเส้นทางสายบ้านฉางสู่บ้านชุมแสง ซึ่งเป็นสิ่งที่สุตะลึง!!!มากๆค่ะ


หมายเลขบันทึก: 536885เขียนเมื่อ 23 พฤษภาคม 2013 16:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 พฤษภาคม 2013 08:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท