544. การสร้างสรรค์ร่วมกัน (Theory U ตอนที่ 3)


เมื่อตอนที่แล้วผมพูดถึงการทำ Theory U ครับ พูดง่ายๆ ถ้าคุณรู้สึกเห็นด้วยว่า ทุกวันนี้คนในองค์กร ดูยึดติดกันจังเลย คนบางกลุ่ม ทำอย่างไรก็ทำอย่างนั้นตลอดมา อะไรแปลกใหม่หน่อยเป็นได้ปฏิเสธ แบ่งพักแบ่งพวก แบ่งขั้วกัน อาจารย์อ๊อตโต้บอกว่าคนในองค์กร หรือในสังคมนี้แบ่งเป็นสามกลุ่ม กลุ่มแรกคือ

พวกที่โหยหาอดีต พยายามค้นหา เอาวิธีการ วิธีคิดแบบเดิมๆ มาใช้ นี่ก็ยุ่งเหยิง เช่นมาจากบริษัทเดิมก็เอาแนวคิดเดิมมาใช้ ดีหรือไม่ดีไม่ได้ตรวจสอบอะไร ถ้าบังเอิญดีก็ดีไป ไม่ดีก็ยุ่งเหยิงครับ

พวกที่ยึดติดกับปัจจุบัน ประมาณว่า  สิ่งที่ทำอยู่นั่นมันดีอยู่แล้ว วิธีการที่ดีที่สุดคือรักษาสถานภาพไว้ นี่ก็ยุ่งครับ เพราะอาจไม่ยอมเปลี่ยนอะไรเลย

พวกที่อยากปฎิรูป นี่ก็สนใจอยากเปลี่ยนแปลง อยากทำอะไรให้ดีขึ้น แต่ถ้าไม่ระวังไม่ตรวจสอบความรู้ตัวเอง จะกลายเป็นติดยึดความรู้ใหม่ ที่สักพักก็กลายเป็นความรู้เก่า ตกยุคไปเป็นพวกแรก หรือพวกที่สอง


                             

เอาเป็นว่า ไม่ว่าใครจะตกไปยุคไหน หากติดยึด ก็จบกันครับ

การยึดติดไม่ดีแน่ เพราะทุกอย่างมากจากความเชื่อเดิม ความรู้ แรงจูงใจ ปมด้อย หรืออะไรหลายอย่างๆ ที่เรียกรวมๆกันว่าความยึดติด

ถ้าคุณค้นพบว่าในองค์กรกำลังมีคนสามประเภทที่รันพันตูกันอยู่อย่างเปิดเผย หรืออย่างไม่เปิดเผย จนเห็นเป็นฝักเป็นฝ่าย ที่สำคัญ มักมักเกี่ยวข้องกับผลผลิต ยอดขายความสามารถในการแข่งขัน ที่ดูๆแล้ว น่าจะดีกว่านี้ แล้วคุณอยากทำให้มันดีขึ้น คุณกำลังต้องการ Theory U  และ Dialogue  ครับ

วิธีการทำก็ง่ายๆ ครับ

ครั้งแรกลองให้สองคนจับคู่กัน แล้วให้อีกฝ่านพูดอีกฝ่ายฟัง ฝ่ายละครึ่งชั่วโมง เป็นกฏทองคำครับ เคยทำ 10 นาทีแล้วไม่เก็ตครับ บอกให้คนฟัง ฟังแบบตั้งใจ มีความสุข ยังไม่ต้องถามอะไร ฟังอย่างเดียว แล้วมีความสุขด้วย

เมื่อเสร็จแล้วลองถามเขาว่าชอบอะไร ที่ฝ่ายตรงข้ามพูด อะไรที่ไม่เหมือนกับที่คุณคิดไว้ก่อนหน้าที่จะมาคุยกัน  ช่วงนี้แหละที่เขาจะค้นพบตัวเอง ว่าอะไรอยู่เบื้องหลังสิ่งที่เขาเคยคิด และเคยปฏิบัติต่อคู่สนทนา  พอถามว่าชอบอะไร ตรงนี้จะทำให้เขาเห็นข้อมูล ความเชื่อใหม่  แล้วคนที่เป็นฝ่ายฟังจะปลดพันธนาการคือความเชื่อ อคติตนเองออกไปอัตโนมัติ จากนั้นก็ถามว่าแล้วเมื่อมองย้อนกลับมาดูที่ตนเอง งานของตนเอง ตรงนี้แหละครับ จะทำให้เขาค้นพบตัวเอง เหมือนส่องกระจกตัวเอง ในขั้นตอนนี้เอง ความรู้ใหม่จะก่อตัวขึ้น เราก็ถามต่อว่า แล้วเขาอยากสร้างสรรค์อะไรร่วมกันกับคู่สนทนา นี่แหละเขาจะเริ่มอยากทำอะไรร่วมกันแล้ว เราก็ส่งเสริมให้เขาทำอะไรร่วมกันต่อไปในรูปแบบของกิจกรรม บางคนอาจพากันไปคุยในเรื่องที่สนใจร่วมกันมากขึ้น บางคนก็หันไปปรับปรุงงานร่วมกัน บางคนก็เปลี่ยนทัศนคติใหม่ คบกันได้ง่ายขึ้น จนนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในด้านอื่นๆ ตามมา

ครึ่งชั่วโมงทองคำ ทำครั้งเดียวก็พอ ครั้งต่อไปลองให้คนในองค์กรลองไปประยุกต์ใช้ในงานตนเอง อาจไปใช้กับที่บ้านกับลูกค้าก็ได้ แต่ละเดือนนัดมาคุยกัน มาแชร์ประสบการณ์กัน สักสี่ห้าคนต่อกลุ่ม คุณเองก็คอยให้คำปรึกษา ทำสักสามเดือนก็จะเห็นการเปลี่ยนแปลงมากมายเกิดขึ้น แต่ต้องมีคนตามนะครับ ไม่งั้นจะหายไปกับสายลม

ในมุมมองของผมหาเราอยากทำ SWOT Analysis นั้นไม่ควรประชุมเฉยๆครับ การทำ Theory U จะทำให้เราเห็นจุดอ่อน จุดแข็ง ภัยคุกคาม และโอกาส พร้อมแนวทางการทำงานร่วมกัน หรือการพัฒนาองค์กร และนำมาสู่การพัฒนากระบวนการภายใน หรือแม้กระทั่งกลยุทธ์ที่นำไปพัฒนาความสัมพันธ์ที่ยั่งยืนกับลูกค้าได้ทีเดียว บางครั้งเราเรียกว่า Co-creation (โค ครีเอชั่น) หรือการสร้างสรรค์ร่วมกันครับ 

ที่สำคัญถ้าองค์กรคุณมีคนสามประเภทเบื้องต้น ก็คิดทำได้เลยครับ

วันนี้เพียงเล่าให้ฟัง ลองเอาไปพิจารณาดูเอาเองนะครับ


อ้างอิง

หนังสือ Theory U

Credit ภาพ 

รูปแรก

http://scienceofthetime.com/study/decade-influencers/experience-economy/co-creation-is-not-over/

หมายเลขบันทึก: 536067เขียนเมื่อ 15 พฤษภาคม 2013 16:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 พฤษภาคม 2013 16:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

เข้ามาติดตามเรียนรู้

ขอบคุณครับอาจารย์

เป็นความรู้ที่มีค่ามากค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท