คุณยาย...บทเรียนราคาแพง


คุณยายดีขึ้นอย่างน่าดีใจ คุณหมอนำท่อที่เจาะคอออกแล้วเมื่อวานนี้ เหลือเพียงสายอาหารทางจมูก แต่พยาบาลก็ป้อนข้าวต้มปั่นได้ 5 คำ นับว่าใกล้ออกจาก รพ.แล้ว ขอชื่นชมบุคลากรของรพ.ด้วยใจจริง หลังจากได้บันทึกครั้งก่อน

เช้าวันนี้ คุณแม่ของผมโืทรหาด้วยความดีใจ ว่า คุณยายนั่งได้และทานข้าวต้มปั่นได้อีก 5 คำ ไม่ได้ให้อาหารทางสายแล้ว แต่ยังคาสายอาหารทางจมูกอยู่ พยาบาลบอกว่า คุณยายหายใจดีขึ้น รอดูว่ากินได้มากไหม วางสายไปซัก 10 นาที คุณแม่ของผมโทรหาด้วยเสียงร้องไห้ตกใจ ว่า คุณยายตาเหลือก มือเขียว แย่แล้วๆๆๆ หมอกำลังปั้มหัวใจ ลูกมาเร็วๆๆๆ

ผมรีบขับรถไป ใช้เวลาอีก 20 นาที ดีที่ไม่ได้ไปทำงาน เพราะต้องไปเชียงรายเย็นนี้ พอไปถึง คุณยายอยู่ ICU ในหอผู้ป่วย พยายามดูดของเสียออกจากหลอดลม ใส่ท่อออกซิเจน และฉีดยาเกี่ยวกับให้หัวใจเต้น คุณยายเริ่มขยับตัว และโดนมัดมือเช่นเคย [ผมไม่กล้าถ่ายรูปตรงๆ กลัวพยาบาลห้าม]


พอผมถามพยาบาลที่ออกมาว่า "คุณยายเป็นอย่างไรบ้าง พ้นขีดอันตรายหรือยัง"

พยาบาล : "ต้องดูอาการต่อไป ยังบอกไม่ได้ว่านานแค่ไหน"

ผม "งง" และเข้าไปดูคุณยายเองก็พบว่า "คุณยายลืมตามองรู้เรื่อง ขยับแขนขาได้ดี แต่พูดไม่ได้เพราะติดท่อหายใจ ผมเองโล่งใจนิดหนึ่ง แต่กำลังคิดว่า "ทำไม พยาบาลไม่มองให้ผมเข้าไปหาคุณยาย ปิดประตูผ้าม่านหมด ญาติคนอื่นยังเข้าได้ ผมนึกถึง ถ้าเราตกใจว่ากำลังจะตาย เราอยากได้กำลังใจจากคนที่เรารักในทันทีที่ลืมตาขึ้นมาอย่างรอดชีวิตได้ ..."

ผมลองคุยกับแม่เพื่อทบทวนประสบการณ์ของตนเองในฐานะนักกิจกรรมบำบัดที่เคยประเมินและฝึกผู้ที่มีความบกพร่องทางการกลืนมานาน แม้ทางคุณหมอและคุณพยาบาลกำลังตรวจเลือดและหาสาเหตุของอาการคุณยายครั้งนี้  ผมก็เข้าใจแล้วว่า "ทางรพ.จัดอาหารมา 2 อย่าง คือ ข้าวต้มปั่นเพื่อฝึกกลืน กับ ขนมหวานครองแครง เมื่อคุณแม่ป้อนคุณยายไป 5 คำ คุณยายก็บอกอิ่ม แต่พยาบาลบอกว่า "อย่าเพิ่งนอน ปรับหัวเตียงขึ้นมากินขนมก่อน" จากนั้นด้วยความที่ไม่รู้ของคุณแม่คิดว่าทางรพ.จัดอาหารมาและพยาบาลให้บังคับกินขนมหวานก็เลยป้อนไป 1 ช้อน คุณแม่เล่าว่า "พอป้อนไป คุณยายพยายามเคี้ยวด้วยเหงือและกลืนไป แต่บอกว่า หวานมาก เลยพยายามทานน้ำด้วยตนเอง จากนั้นคุณยายก็ช๊อตเลย..."

เหตุการณ์นี้สอนให้ผม คุณแม่ และทางเจ้าหน้าที่ของ รพ.ควรรู้ว่า การประเมินและการฝึกกลืนต้องทำงานเป็นทีม ควรปรึกษานักกิจกรรมบำบัด ซึ่ง รพ.นี้มีเพียง 1 คน ก็ไม่รู้ว่า บทบาทนักบำบัดการกลืนควรทำอย่างไรบ้าง อาหารของหวานเช่นครองแครง มีเนื้อเหนียว ลื่น และเด้งได้ ซึ่งหากเคี้ยวไม่ละเอียดและมีความหวานมาก ก็จะปนกับน้ำลายเป็นก้อนที่กลืนยากและอาจกระเด็นเข้าหลอดลมจนขาดออกซิเจนได้ แบบนี้ถ้่าคุณยายเป็นอะไรไปจริงๆ ความผิดอยู่ที่ใคร...

ปล. คลิกอ่านเรื่องราวการฝึกกลืนอย่างมีความสุขได้ ที่นี่  ขอให้คุณยายหายป่วยเร็ววันนะครับ

วันวิสาขบูชา ปี 56 นี้ ผมเพิ่งกลับจากการไปเยี่ยมคุณยายในห้อง ICU เล็กในหอผู้ป่วย สภาพของคุณยายดูถูกแทรกแซงเจาะสายให้อาหารทางจมูก สายสวนปัสสาวะ ท่อให้ออกซิเจน เครื่องวัดความดันโลหิตเจาะไปที่เส้นเลือดที่คอ การใช้ผ้ามัดข้อมือทั้งสองข้าง การลงชื่อคุณยายที่หน้าขา (พยาบาลบอกว่า เขียนไปเพราะคุณยายดื้อ) และสายวัดต่างๆ เพื่อดูการเต้นหัวใจ คุณยายดูเบลอๆ หลับตาตลอด ปลุกให้ลืมตาได้แต่ดิ้นทรมาน พูดไม่มีเสียงทางริมฝีปากว่า "ไม่สบายๆๆ" 


ผมสงสารคุณยายมากๆ ไม่สามารถช่วยอะไรได้ในฐานะนักกิจกรรมบำบัดจิตสังคมคนเดียวของไทย คงทำได้แค่เพียงภาวนาคุณพระศรีรัตนตรัย พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ รวมทั้งสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายในสากลโลก ประกอบกับคุณความดีของคุณยายและผม ดลบันดาลให้คุณยายหายป่วยและภาวะที่เป็นทุกข์ และกลับมามีชีวิตที่เป็นสุขกับผมเร็วๆ ด้วยเถิด สาธุ สาธุ สาธุ

หมายเลขบันทึก: 536059เขียนเมื่อ 15 พฤษภาคม 2013 14:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 พฤษภาคม 2013 12:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)

ขอให้คุณยายหายเป็นปกติในเร็ววันนะคะ

ขอบคุณประสบการณ์ที่พบและเล่าสู่กันฟังครับ เป็นกำลังใจให้คุณยายหายป่วยในเร็ววันนะครับ

แปลกมากค่ะ ที่จัดครองแครงเป็นขนมหวานให้คนป่วยที่อยู่ในช่วงฝึกกลืน ขนาดข้าวต้มก็ยังต้องปั่นนะคะ

เคยได้ยินคุณหมอบอกว่าเคสที่มีปัญหาการกลืนนี่มักจะมาฉุกเฉินและอาการแย่ลงมาก เพราะการที่ลูกหลานให้กินอาหารตามใจผู้ป่วยนี่แหละค่ะ คุณย่าของสามหนุ่มก็เคยมีปัญหามาแล้ว เพราะขอกินน้ำเราก็ให้น้ำกันใหญ่ ทั้งๆที่ควรจะให้พอให้หายกระหายก็พอ พอสำลักการกลืนแล้วปัญหาตามมาแก้ยากเลยค่ะ ต้องอธิบายให้เข้าใจ และต้องใจเย็นมากๆกับการกลืน หวังว่าคุณยายจะกลับมาเป็นปกติในเร็ววันนะคะ ท่าทางน่าจะไม่มีปัญหา คราวนี้รู้จุดที่ต้องระวังแล้วด้วย เอาใจช่วยเต็มที่ค่ะ

ขอบคุณมากครับพี่โอ๋ เหตุการณ์นี้ทำให้คุณยายสติไม่สมบูรณ์ในปัจจุบันครับผม

เหตุการณ์ นี้สอนให้ผม คุณแม่ และทางเจ้าหน้าที่ของ รพ.ควรรู้ว่า การประเมินและการฝึกกลืนต้องทำงานเป็นทีม ควรปรึกษานักกิจกรรมบำบัด ซึ่ง รพ.นี้มีเพียง 1 คน ก็ไม่รู้ว่า บทบาทนักบำบัดการกลืนควรทำอย่างไรบ้าง อาหารของหวานเช่นครองแครง มีเนื้อเหนียว ลื่น และเด้งได้ ซึ่งหากเคี้ยวไม่ละเอียดและมีความหวานมาก ก็จะปนกับน้ำลายเป็นก้อนที่กลืนยากและอาจกระเด็นเข้าหลอดลมจนขาดออกซิเจนได้ แบบนี้ถ้่าคุณยายเป็นอะไรไปจริงๆ ความผิดอยู่ที่ใคร...


นี่คือประสบการณ์ตรงจริงๆ ผมกำลังทำ survey patient experience ยังไงจะเชิญพี่ ดร.ป๊อบมาประชุมหาแนวทางกันนะครับ เพื่อการปรับระบบ รพ. และเป็นการพัฒนาระบบ acredit ครับ

ยินดีและขอบคุณมากครับน้องลูกหมูเต้นระบำ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท