เทคนิคการทำงานเป็นทีมสไตล์ดาวลูกไก่สร้างได้


ฉันเข้าออกบ้าน gotoknow มาเป็นระยะๆ ทั้งโดยการเข้าระบบและไม่แสดงตน อันเนื่องจากความเหนื่อยล้าในภาระงานที่ต้องคิด คิดแล้วคิดอีก วนเวียนกลับไปมาไม่รู้จุดสิ้น ภาระหน้าที่ล้วนเกี่ยวข้องกับเรื่องการทำงานเป็นทีม ซึ่งเป็นจุดปณิธานแต่แรกเริ่มของการโยกย้ายปรับเปลี่ยนสายงาน ตามสเต็ปของการเดินทาง “แม้เป็นผู้ใหญ่ก็ยังต้องเติบโตต่อไป”


ฉันทบทวนบทบาทหน้าที่ของการทำงาน จากพนักงานผู้ปฏิบัติสู่การเป็นผู้บริหารระดับต้น หรือระดับที่ยังมีงานภาคปฏิบัติการอยู่ด้วย  จุดยืนผู้บริหารที่ซึ่งอัตราการทำหน้าที่ลดหลั่น ในทักษะด้านปัญญา ทักษะด้านมนุษย์ และทักษะด้านเทคนิค

การปฏิบัติหน้าที่ในส่วนราชการ โดยมากจะมีข้อตกลงมาตรฐานภาระงานขั้นต่ำของบุคลากรสายปฏิบัติการที่เป็นหัวหน้างาน หัวหน้าฝ่าย อย่างเช่นที่ทำงานของฉัน ภาระงานบริหาร(ไม่น้อยกว่า 14 ชั่วโมง/สัปดาห์) ภาระงานประจำ(ไม่น้อยกว่า 10 ชั่วโมง/สัปดาห์) ภาระงานเชิงพัฒนา / งานบริการวิชาการ(ไม่น้อยกว่า 7 ชั่วโมง/สัปดาห์)

ฉันทบทวนภาระหน้าที่การทำงานของฉันที่เกี่ยวกับการสร้างทีมงาน โดยวิเคราะห์งาน ปริมาณงาน และผลลัพท์จากงานที่ทีมของฉันได้รับมอบหมายทำอยู่ก่อนหน้าฉันจะมา ฉันพยายามคิดหาช่องทางการทำงานที่จะบรรเทาภาวะความเครียดจากการทำงานของผู้คนแต่ละคนที่มีทั้งหย่อนและตึงปะปนกันไปโดยไม่ลืมเคล็ดลับที่ได้รับการสอนสั่งจากอาจารย์ JJ (JJ จิต จะ Learn )ในเรื่อง 41T โดยเน้นย้ำไปที่ 4T คือ Trust  / Touch / Team / Take กับการปรับเปลี่ยนที่ฉันต้องพร้อมรับสิ่งที่จะเกิดตามมา ทั้งผู้คนที่เสียผลประโยชน์ และอีกบางส่วนที่ได้โอกาส เมื่อตัดสินใจแล้ว ฉันเดินหน้าบนกฎกติกาสำหรับตัวฉันเองว่า เรียนรู้ลงมือทำ ฝึกฝนจนชำนาญก่อนค่อยส่งต่องานให้ใครอื่น เพิ่มงาน ลดกระบวนการ และ ไม่มีอะไรแน่นอนถาวร ทุกอย่างปรับเปลี่ยนได้จนกว่ามันจะเข้าที่ แม้ใครจะยังไม่คุ้นชิน


ฉันจะเปลี่ยน ME ให้เป็น WE



ในครั้งหนึ่งการทำงานในห้องสี่เหลี่ยมเล็กๆ ที่แบ่งซอยพื้นที่ออกเป็นช่องตารางที่ผู้คนต่างคนต่างทำงานตามหน้าที่ที่ผู้ใหญ่ยุคการบริหารในอดีตมอบหมาย ในงานซ้ำๆ ในงานที่ไม่มีการรู้กันว่าใครทำอะไร และในงานที่อาจจะไม่มีใครทำหน้าที่แทนกันได้ ซึ่งฉันมองแล้วว่ามันเป็น “ความเสี่ยง” ของคน /งาน/หน่วยงาน  หากปล่อยไว้คงยากจะเยียวยา ดังนั้นฉันจึงเริ่มต้นคิดถึงการรื้องาน โดยเริ่มต้นที่โครงสร้างงาน ชัดเจนขึ้น ภาระงานของหน่วยงานชัดเจนขึ้น กระบวนการทำในงานแต่ละงานชัดเจนขึ้น(เป๊ะ!) แม้ว่าจะต้องค่อยๆขยับ แต่สิ่งเหล่านี้ทำให้เราทั้งหมดมองเห็นงานมีรูปธรรมชัดเจนโดยเฉพาะการมองในเชิงทฤษฎีน้ำ (ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ)  เมื่อมีการส่งต่องานต่อกัน จนถึงจุดสิ้นสุดของงานแต่ละชิ้นงาน ผู้คนที่เกี่ยวข้องจะร่วมชื่นชมในผลงานที่สำเร็จโดยมีรางวัลจากคนปลายน้ำที่ทำหน้าที่ส่วนของการตรวจสอบประเมินและรับเสียงสะท้อนกลับจากผู้ที่เกี่ยวข้อง (ผู้รับบริการ/ลูกค้า/สื่อมวลชน)

สิ่งสำคัญของการสร้างทีมงานของฉัน จึงอยู่ที่ (1) ทุกคนมีความเข้าใจ และสื่อสารตรงกันในภาระงานของหน่วยงานเป็นอันดับหลัก (2)ลงมือทำงานส่งต่องานเหมือนดังฟันเฟืองเครื่องจักรกลที่ต้องหมุนวงล้อให้เกิดการขับเคลื่อน และ(3) เรียนรู้การทำงานไปด้วยกัน จากคนหนึ่งเชี่ยวชาญงานหนึ่ง ถ่ายทอดถึงเพื่อนร่วมงานเพื่อสามารถทำงานแทนกันได้ในบางโอกาสที่จำเป็น

ขณะเดียวกันบทบาทการบริหารงานระดับต้น วางแผน 15% จัดระบบ 24% เป็นผู้นำ 51% ควบคุม 10% คือสมการติดหน้าผาก ที่ฉันได้รับมา จะเติมน้ำมันหล่อลื่นเพื่อการหล่อเลี้ยงชีวิตจิตใจ ความสุขของทีมงาน เพื่อที่เราจะก้าวไปพร้อมกัน


และการทำงานหน้าที่ของฉันยังไม่จบลงเท่านี้ เพื่อให้การสร้างทีมทำงานของฉันมีแบบฉบับที่เหมาะสม ฉันยังมีสิ่งที่ต้องผลักดันให้เดินหน้าต่อไปอีกในเรื่องของ “การทำงานได้ การทำงานเป็นเหมือนกัน” เพื่อบริหารความเสี่ยง หากวันใดวันหนึ่งจะเกิดเหตุการณ์ “น็อตหลวม” ขึ้น

รอการบันทึกต่อเนื่องเรื่องการบริหารความเสี่ยงสไตล์ดาวลูกไก่

อ่านเพิ่มเติม

    หมายเลขบันทึก: 536064เขียนเมื่อ 15 พฤษภาคม 2013 15:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 พฤษภาคม 2013 21:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


    ความเห็น (10)

    ผู้บริหารแต่ละระดับมีการวางแผน การจัดระบบ ต่างกันเลยนะครับ

    พี่สบายดีไหมครับ

    พี่ดาวลูกไก่ค่ะ ลิงก์ของบันทึกจะต้องกดที่ปุ่มแสดงเพจนะคะ จึงจะเป็นลิงก์สำหรับโหมดการอ่านที่ผู้อื่นเข้าดูได้นะคะ เช่น http://www.gotoknow.org/posts/536064 ไม่ใช่ http://www.gotoknow.org/dashboard/home#/blogs/50219 ค่ะ 

    ขอบคุณค่ะ 

    สวัสดีค่ะอาจารย์ ดร.ขจิต ฝอยทอง

    “แม้เป็นผู้ใหญ่ก็ยังต้องเติบโตต่อไป” อิอิ สบายดีค่ะ สบายดีนะคะ(มาทักทายภาษาอาเซียนกันค่ะ)


    สวัสดีค่ะ อาจารย์ ดร.จันทวรรณ

    ขอบคุณมากค่ะ เขียนไปก็สับสนไปค่ะ เริ่มต้นเป็นมือใหม่บันทึกอีกครั้งละค่ะ

    มาให้กำลังใจพี่ดาว

    ด้วยระลึกถึงเสมอค่ะ

    สวัสดีค่ะคุณน้อง หนูรี

    ขอบคุณมากๆ ค่ะ หนูรีพิมพ์ตำราอาหารได้กี่เล่มแล้วคะ

    สวัสดีค่ะพี่ดาวลูกไก่ ดีใจมากที่พี่ได้นำสาระดีๆมาเล่าที่บ้านหลังนี้อีกครั้งค่ะ  ขอเรียนรู้ค่ะเพราะการทำงานเป็นทีมมีความจำเป็นในองค์กรที่มีคนมารวมกันมากๆนะคะ..

    พี่ดาวครับ อยู่บ้านแม่ตาดครับ เย้ๆๆ

    สวัสดีค่ะน้องครู krutoom 

    • ขอบคุณค่ะ 

    น้อง อ.ดร. ขจิต ฝอยทอง 

    • ชีพจรลงเท้านะคะ ขอต้อนรับสู่เมืองเชียงใหม่เจ๊า


    มาแวะเยี่ยมยาม เรียนรู้ ท่านดาว ไม่ได้ F2F กันนานเลยครับ

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท