543. ก้าวออกจากความมืด (Theory U ตอนที่ 2)


ต่อจากตอนก่อนนะครับ

จริงๆ แล้วการศึกษาถีง “ที่มา (Source of Innovation)” ที่จะนำไปสู่การสร้างสรรค์หรือทำลายนั้น สำคัญมากๆครับ อาจสำคัญมากกว่าการที่เรามัวแต่ศึกษาที่ผลิตผล หรือกระบวนการสร้างผลิตผลเสียอีก ยกตัวอย่างฮิตเลอร์ฆ่ายิว แน่นอนถ้าเราศึกษาสงครามโลก เชิงผลิตผล เราจะเห็นการทำลายล้าง และความเสียหาย นับเป็นจำนวนคนตายก็มหาศาล ถ้าศึกษากระบวนการ “รบในสงคราม” เราก็จะได้กลยุทธ์ ก็เป็นความรู้อีกแบบ 

แต่ที่มีการศึกษาก็จริง ที่ยังพูดถึงกันไม่มาก และอาจเป็นประโยชน์มากๆคือ ทำไมฮิตเลอร์ถึงทำเช่นนั้น ก็เจอครับว่าฮิตเลอร์ สมัยเด็กๆ เห็นชาวยิวเค็มๆ รังแกครอบครัว เอาหล่ะ นี่เป็นเรื่องสมัยเด็ก ทำอย่างไร เราจะไม่สร้างฮิตเลอร์คนที่สองขึ้นมา น่าจะเป็นประโยชน์ไหม ก็ต้องไปปลูกฝังเรื่องภูมิคุ้มกัน การดูแลจิตใจตนเองให้เด็กๆ เพราะโรงเรียนอาจไม่มีอะไร แต่ที่โหดร้ายคือภาพที่เขาเห็นที่บ้าน ทำอย่างไรจะไม่สร้างแรงกดดันจนเด็กธรรมดากลายเป็นปีศาจ

                      

ต่อมาพอเรารู้เรื่องยิว เราอาจมองยิวเฮงซวย ก็มาดูกันอีก Source of Innovation เชิงทำลายของยิวคืออะไร ถ้าคุณไปดู ไปศึกษายิว จะเห็นว่ายิวเป็นสังคมที่ชินกับการค้าขายมาแต่โบราณ ลองดูในคัมภีร์ทาลมุต ของยิว ที่ประมาณนิทานอิสป นี่สอนการค้ากันเลย การค้ามาคู่กับสัญญา  คนยิวก่อนทำอะไรเขาจะเน้นที่การคุยเรื่องสัญญาให้ชัดเจน คุยกันนาน พอตกลงได้ก็จะถือตามสัญญานั้น ซึ่งคนในวัฒนธรรมอื่นๆ ไม่ชินกับเรื่องนี้และไม่ให้ความสำคัญมาก ที่สุดเมื่อทำการค้ากับยิวจะทำตามสัญญาไม่ได้ เพราะไม่ดูให้ดีแต่แรก นี่แหละเป็นไปได้ไหมที่แม่ฮิตเลอร์ ถูกรังแก อาจอยู่ตรงที่ไม่เข้าใจเรื่องนี้ แน่นอนคนรุ่นหลังก็ต้องเข้าใจและพยายามศึกษา เพราะถ้าได้อย่างน้อยก็ป้องกันไม่ให้เกิดปีศาสจตัวใหม่ ในขณะเดียวกันก็อาจยกระดับการศึกษา การค้าให้ไปอีกระดับหนึ่งได้เลย  แน่นอนในเรื่องสงคราม เราดูเรื่องผลของมันก็จะได้ความรู้อีกแบบ วิธีการทำสงครามก็อีกแบบ แต่ถ้าศึกษาที่มา อาจได้วิธีป้องกันสงคราม ที่อาจเปลี่ยนโลกการศึกษา การค้า วัฒนธรรมได้เลย  ไม่ศึกษาเราอาจอยู่ในประวัติศาสตร์ที่เป็นจุดมืดบอด (Blind Spot) ตลอดไปก็ได้ครับ

ผมดูหนังเรื่อง Star Trek into Darkness และ Iron Man มานี่เห็นเลยครับ ทั้งสองเรื่องเราจะเห็นเลยว่าทำไม “ศัตรู” จึงกลายเป็นศัตรู ทำไมพระเอกจึงทำอะไรบางอย่างที่ดูขัดจากประเพณีดั้งเดิม และเมื่อมีการฟัง การให้ความสนใจกับคนรัก กับเพื่อนรัก และแม้กระทั่งศัตรูแล้ว ก็ทำให้เห็น “ที่มา” ของพฤติกรรม ทั้งในแง่อคติ ความเชื่อ ที่ล้วนแล้วก็น่าเห็นใจทั้งสิ้น

 การเห็น “ที่มา” นี่แหละทำให้พระเอกในสองเรื่องจับทางได้ จนนำมาสู่ความเข้าใจกัน และสร้างสรรค์ร่วมกันกับเพื่อนและคนรัก รวมถึงเข้าใจศัตรู จนในที่สุดเอาชนะภัยคุกคามจากศัตรูที่เหนือกว่าได้

คล้ายๆ กับปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นกับ Theory U เลย...

ผมว่าไม่ว่าจะเป็นประวัติศาสตร์ การบริหารองค์กร ความสัมพันธ์ในครอบครัว วิธีคิดของเราต้องการการตรวจสอบ “ที่มา” ว่าอะไรเป็นสาเหตุผลักดันมันอยู่ ซึ่งทำได้ด้วย Theory U และ Dialogue ครับ ในเรื่องนี้คนที่เขียนและสอนเรื่องนี้ได้น่าสนใจในหลายมิติ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสังคม เรื่องงาน การศึกษา ชีวิตด้านใน คือด้านจิตวิญญาณได้ดีมากๆ คือท่านดร.วรภัทร์ ภู่เจริญครับ ลองหาอ่านหนังสือเล่มใหม่ของท่านที่ชื่อ “จุดตะเกียง ดีกว่าด่าความมืด” ของท่าน จะเห็นได้ชัดมากๆ เลยครับ เป็นอะไรที่มองลึกไปกว่าเดิมมากๆ

ชีวิตเราทุกวันนี้ เหมือนอยู่ในความมืด ไม่ว่าเราจะรู้ตัวหรือไม่ก็ตาม เรามีหน้าที่จุดตะเกียงให้กันและกัน และพากันออกมาในที่สว่างครับ  


วันนี้เพียงเล่าให้ฟัง ลองเอาไปพิจารณาดูเอาเองนะครับ

อ้างอิง

หนังสือ Theory U

Credit ภาพ 

รูปแรก http://www.parp-pa-yon.com/movies/star-trek-into-darkness-2013.html



หมายเลขบันทึก: 536065เขียนเมื่อ 15 พฤษภาคม 2013 15:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 พฤษภาคม 2013 16:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ชอบประโยคลงท้ายค่ะ :-D

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท