ส่งการบ้านท่านอาจารย์ ขจิต(บันทึก หลายบรรทัดที่เขียนหลายคืน)


รบกวนตอบคำถามเหล่านี้ให้หน่อยครับ เขียนเป็นบันทึกก็ได้ครับ ความเป็นจริง) ("ริมทะเลสาบที่ไร้คลื่น ในคืนที่ฟ้าไร้ดาว ฝนหลงฤดูกับหมู่แมลงมาเป็นเพื่อนเฒ่า หยิบยกเรื่องราวมาตอบโจทย์อาจารย์ ขจิต"(เวลาตี3 วันที่7 พค 56)


ขจิต ฝอยทอง

บังครับปลาน่ากินมากๆๆ

รบกวนตอบคำถามเหล่านี้ให้หน่อยครับ  เขียนเป็นบันทึกก็ได้ครับ

 ความเป็นจริง)

  1. เพศ    ……ชาย  ……หญิง


  1. อายุ ……ต่ำกว่า 20 ปี …….20ปี-30ปี  

 …….31ปี-40ปี   …….41ปี-50ปี

 …….51ปี-60 ปี……61 ปีขึ้นไป


  1. วุฒิการศึกษา…..ประถมศึกษา……มัธยมศึกษา

…..ประกาศนียบัตร……ปริญญาตรี

…..ปริญญาโท  …….ปริญญาเอก

…..อื่น(ระบุ)…………………………..


ตอนที่ 2  ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะ(โปรดกรุณาเขียนให้ละเอียด)

1. ท่านรู้จัก Gotoknow.org ได้อย่างไร

2. ท่านสมัครเป็นสมาชิกGotoknow.org ได้อย่างไร

3. ท่านมีวิธีการเขียนเรื่องเล่า(Best Practice) โดยมีแรงจูงใจในการเขียนมาจากอะไร

4. ท่านมีเทคนิคในการเขียนเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การแบ่งปันความรู้หรือประสบการณ์อย่างไร

5. ท่านคิดว่าท่านมีวิธีการเขียนหรือแสดงความคิดเห็นเพื่อกระตุ้นให้สมาชิกต่อยอดความรู้ได้อย่างไร

6. ท่านคิดว่ารางวัลสุดคะนึงมีผลต่อการเขียนของตนเองหรือสมาชิกหรือไม่ อย่างไร



ขจิต ฝอยทอง

(มาชื่นชมการทำงานครับบัง

สุดยอด ถ้าว่างรบกวนตอบคำถามที่ให้ไว้ในบันทึกก่อนด้วยครับ)  

     ผู้เขียนได้รับการบ้านจากท่านอาจารย์ ขจิตหลายวันแล้ว  ยังไม่ได้ตอบการบ้านส่ง 

เนื่องจากตั้งแต่ต้นเดือน ออกต่างจังหวัดตลอด จาก พัทลุง ไป สงขลา แล้วไม่แวะ

พัทลุง มุ่งหน้าไปชุมพร เพิ่งได้เข้าบ้านค่ำนี้ ก็รีบเปิดบันก็เห็นท่านอาจารย์ ขจิต ทวง

การบ้าน จึงต้องลอกคำถามลงไว้ก่อนกันลืม....แล้วจะรีบมาทำการบ้านส่งให้เสร็จคืน

นี้.....20.  00 น. 6 พค.56

"ริมทะเลสาบที่ไร้คลื่น 

ในคืนที่ฟ้าไร้ดาว  

ฝนหลงฤดูกับหมู่แมลงมาเป็นเพื่อนเฒ่า 

หยิบยกเรื่องราวมาตอบโจทย์อาจารย์ ขจิต"(เวลาตี3 วันที่7 พค 56)


ข้อที่ 0. ชื่อ....ที่พ่อแม่ตั้งให้ เด็กชาย หร้อหีม หอมหวล ชื่อเล่นไม่มี  พอโตขึ้นมาชอบ

อ่านและดูหนังจีนกำลังภาย เพื่อนให้ ฉายา"เดชอ้ายสี่หอ"พอมีภรรยาเป็นของตัวเอง

เปลี่ยนชื่อ เป็น นายนเรศ หอมหวล ด้วยเหตุผลคือ ชื่อ หีม ไปตรงกับชื่อพ่อตา ไครไป

ไครมาเรียกชื่อ "หีม" ทั้งพ่อตาแลพลูกเขย เงยหน้าขานรับพร้อมกัน 

นเรศ ชื่อนี้มีที่มา

หลัง14 ตุลา2516 ประชาธิปไตยกำลังแตกหน่อต่อดอก แต่นักเขียนหลายๆเขียนเรื่อง

เกี่ยวกับประชาธิปไตย แต่หนังสือพิมพ์ สยามรัฐ คอลัมน์ สาวเอ่ยจะบอกให้ เขียน

เตือนภัยผู้หญิง บอกช่องทางผู้หญิงให้มีสิทธิมีเสียงเคียงผู้ชาย เตือนภัยนานา นามผู้

เขียนชื่อว่า นเรศ นโรปกรณ์ จึงได้ชื่อ นเรศตั้งบัดนั้นเป็นต้นมา 

ข้อที่  1. เพศ ชาย...ที่มีโอกาสอยู่ไกล้ผู้หญิง ที่มีอาชีพทางสาธารณสุข 

ข้อที่  1.2 อายุ หากนับปีที่เกิด 10 พฤศจิกายน 2556 จะครบ  60 ปี โชคดี เกิดต้น

ปีงบประมาณ อยู่ ปรนนิบัติราชการได้ต่ออีกปี 

ข้อที่1.3 วุฒิการศึกษา   ทักษะชีวิต จบวิชาการทำนาตั้งแต่ยังไปจบการศึกษาชั้น

ประถม

 และจบทักษะทางทะเลถึงขั้นมองรู้ดูออกบอกได้ ถึงพันธ์สัจต์น้ำ

 จบทักษะทางป่า ถึงขั้น บอกได้ว่าพืชอะไรทานได้อะไรทานไม่ได้

 การศึกษาวุฒิบัติของทางราชการ จบชั้นประ 4 ที่โรงเรียนบ้านบ่อแสน อำเภอทับปุด 

จังหวัดพังงา 

การศึกษาระดับมัธยมไม่มี 

จบการศึกษานอกระบบรุ่นแรก การศึกษาผู้ "กศญ"ระดับ 4 (เทียบเท่า ม 3 ) ปี พศ 2518    จาก

โรงเรียน ศึกษาผู้ใหญ่ปากพะยูน อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง 

จบปริญญาตรี  นิศาสตร์จากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมมาธราช อำเภอปากเกร็ด 

จังหวัดนนทบุรี ใช้เวลาเรียน 10 ปี 

ไม่จบปริญญาโทคณะวิทยาสุขภาพเอกสาธารณสุขชุมชน จากมหาวิทยาลัยราชภัฎ

สงขลา ปี 2555

จบปริญญาเอก FA จากอาจารย์ เอก จตุพร วิศิฎโชติอังกูร จากบ้านเรียนสมดุลชีวิตที่

หมู่บ้านสัมมาชีพ อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก(บ้านอาจารย นุ) 

การบ้านยังไม่เสร็จ ขอส่งข้อมูลพื้นฐานมาก่อน

จบข้อมูลพื้นฐานส่งการบ้านอาจารย์ ขจิต เวลาเหมาะบรรยากาศไม่ดี เมียไม่กวน แต่

มวลหมู่แมลง มาให้กำลังใจมากเกินไป ต้องใช้มือปัดป้อง เสียสมาธิ..........


ตอนที่ 2  ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะ(โปรดกรุณาเขียนให้ละเอียด)

ข้อ 2.1 รู้จัก GotoKow ได้อย่างไร 

 ในข้อนี้เคยเขียนเล่าในบันทึกไว้แล้ว ว่าเมือปี2550 ได้รู้จักและร่วมงานกับ ศวพถ. 

(ศูนย์ประสานงานเครือข่ายเพื่อการวิจัยและพัฒนาท้องถิ่น) ในโครงการ ทวีพลังคน

พิการ ภายใต้การนำทีมของ อาจารย์ อนุชา หนูนุ่น (ชายขอบ) ซึ่งมีคนพิการหลาย

อำเภอในหลายอำเภอของพัทลุง ได้มีการสัญจร นอนนั่งประชุมเวียนกันที่บ้าน

กรรมการทุกคน เป็นการประชุมแบบ"นอนคา" คือทุกคนต้องนอนค้างบ้านที่ไปสัญจร 

ในขณะนั้นกรรม 3 ท่าน เป็นบล็อกเกอร์เขียนอยู่ในGotoKoow คือาจารย์ ชายขอบ 

น้องก้ามปู และน้อง ฮอดีเหยาะ หลีเยาว์ กองเลขา ซึ่งเขามักเล่าลือเล่าอ้าง กล่างถึง

การเขียนบันทึก และเมื่อมีสัญญาณการสื่อสารก็เปิดให้พวกเราที่ไม่สันทัด IT ได้มี

โอกาสทัศนา  อาจารย์ ชายขอบก็ชวนให้ผู้เขียนมาเขียนเรื่องเล่าลงบันทึก  ผู้เขียน

เป็นคนชอบอ่านชอบเล่าเป็นทุนอยู่แล้ว จึงมีความอยาก ....อยากเขียน อยากเล่า 

 แต่ติดขัดหลายประการ คือ ไม่มีเครื่องมือ อุปกรณ์ หรือถึงมีก็ใช้ไม่เป็น ซึ่งเป็นอุป

สรรค์ในการก้าวข้ามมาเขียนในGotoKow  


ข้อที่ 2. ท่านสมัครเป็นสมาชิกGotoknow.org ได้อย่างไร..... 

 ด้วยความชอบ เห็นคนที่น่าไว้วางใจ เปิดเน๊ต ก็จะขอให้เขาช่วยเปิดไปดู บันทึกของ

บล็อกเกอร์ในGotoKow  ในคำสำคัญที่มีคำว่า ศวพถ.ก็ขอเขาอ่าน โดยเฉพาะ น้อง

ปู..ศวพถ.กลับถึงบ้านก็ปรารภกับลูกสาวว่าอยากมีชื่อในGotoKnow ลูกสาวและ

ลูกชาย ช่วยกันจัดการ สมัครเมล์ให้ ทั้ง ยาฮู  ฮอตเมล์และ จีเมล์  แล้วสมัครสมาชิก 

GotoKnow ในคราวเดียวกัน ประเดิมบันทึกแรก ด้วยพันธ์ข้าวพัทลุง ซึ่งเขียนลงใน

สมุดให้ลูกสาวพิมพ์บันทึกให้ ทำอยู่อย่างนี้20 กว่าบันทึก ลูกชายเห็นแวว ซื้อโน๊ตบุ๊ก

ให้เป็นของขวัญ จากนั้นจึงหัดเปิด ปิด คลำเม้าด้วยตนเอง เป็นการเรียนรู้ด้วยการ

ฝึกหัดที่ยังไม่พร้อม เปิดเครื่องคอมพ์เป็นก็ท่องบันทึกด้วยความสุข แต่ยังก้าวไม่พ้น

ความคิดที่จะแลกเปลี่ยน หากเจ้าของบันทึก มีชื่อเป็นภาษาอังกฤษ หรือใช้คำนำหน้า

เป็นอาจารย์ หรือดร.ก็จะเข้าไปอ่านอย่างเดียว...จนกระทั่งได้มีโอกาสร่วมงาน โกทู

โนว์ ฟอรั่มครั้งแรกที่หาดใหญ่ ได้สนทนากับ ดร.อาจารย์หลายท่าน ได้รับความเมตตา 

สนทนาแบบกันเองและได้แรง"ยอน"จากอาจารย์ขจิตจึงคิดกล้าคุยกับหลายๆท่าน


3. ท่านมีวิธีการเขียนเรื่องเล่า(Best Practice) โดยมีแรงจูงใจในการเขียนมาจากอะไร

มีแรงจูงใจจากการอ่าน และการจดบันทึกในสิ่งที่พบพาน และการเล่าเรื่อง อาจารย์

ชายขอบ แนะนำให้บันทึกมาแบ่งปัน ในสิ่งที่บางคำเป็นศัพท์แสงสมัยโบราณ ที่นานๆ

จะมีคนพูด และเมื่อพูดออกไปแล้วก็ต้องอธิบายความ  และในการทำงานอาสาชุมชนมี

เรื่องราวอยากบอกแต่ไม่โอกาส หรือมีโอกาสแต่พูดไม่ออก จึงต้องมาบอกต่อในสิ่งที่

คิดผ่านบันทึกในสิ่งที่ทำ  เป็นการแลกเปลี่ยน ทำให้เกิดปัญญา โดยคงเอกลักษณ์

ทาง

ภาษาถิ่นเดิมๆในการเล่าเรื่อง


4. ท่านมีเทคนิคในการเขียนเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การแบ่งปันความรู้หรือ

ประสบการณ์อย่างไร 

ในเรื่องเทคนิค บอกไม่ได้ว่าใช้เทคนิคอะไร ด้วยความอยากเล่า 

อยากบอก อยากแลกเปลี่ยน ใช้ภาษาชาวบ้านบอกเล่า หากมีคำย่อ หรือคำถิ่น หรือ

ประโยคที่คาดว่า น่าจะไม่เป็นที่เข้าใจ ก็จะใส่เชิงอรรถ อธิบายความตามที่เข้าใจ  และ

จะเข้าไปอ่านบันทึกของหลายๆท่าน ก็จะแสดงความเห็นไว้ เป็นการต่อยอดและแลก

เปลี่ยนหลายเรื่องแลกเปลี่ยนจากทักษะและประสบการณ์ชีวิตที่ผ่านมา ด้วยความรู้จัก

และมักคุ้น คือมีโอกาสจะแวะเวียนไปในบันทึกและแวะเวียนไปคารวะถึงที่อาศัยใน

บรรดาสมาชิกชาวGotoKnow  ด้วยความเป็นมิตร 


 5. ท่านคิดว่าท่านมีวิธีการเขียนหรือแสดงความคิดเห็นเพื่อกระตุ้นให้สมาชิกต่อยอด

ความรู้ได้อย่างไร

 คิดว่า เรื่องที่ไกล้ตัวเรื่องในครอบครัว เรื่องในชุมชน เป็นเรื่องที่มีสมาชิกเข้ามาแลก

เปลี่ยนแสดงความเห็นกันมาก วิธีการเขียนก็จะคิดก่อนว่าจะเขียนอะไร เขียนให้ใคร

อ่าน หรือเรื่องที่เป็นประเด็นร้อน การเขียนและแสดงความคิดเห็นจะหลีกเลี่ยงประเด็น

การเมือง มุ่งสร้างสุขให้คนที่แวะมาอ่านได้มียิ้ม  มีสุขจากการอ่านการแสดงความเห็น

เน้นสุขสาระ  


6. ท่านคิดว่ารางวัลสุดคะนึงมีผลต่อการเขียนของตนเองหรือสมาชิกหรือไม่ อย่างไร

รางวัลสุดคะนึงถือเป็นเกียรติยศของคนเขียนบันทึก แต่คิดว่าสำหรับตนเองไม่มีผล อะไร

มากนัก ในการเขียน ที่ผ่านมามักติดโผรางวัลหลายครั้งหลายหน ก็ไม่ได้คิดอะไร ยัง

คงทำหน้าบอกเล่าอย่างสม่ำเสมอตลอดมา  เพราะมีความสุขที่ได้เขียน ไม่ใช่สุขที่ได้

รางวัล ถึงจะได้หรือไม่ได้รางวัลก็ไม่ผลอะไรมากนัก  สำหรับตนเอง สำหรับสมาชิกมี

ผลต่อการเขียนหรือไม่ คงตอบยาก แต่จากการสังเกตุ คนที่ได้รางวัลสุดคะนึงที่ยังคง

ใช้บริการGotoKnow  มีไม่มากนัก  แต่หากถามว่าการเขียนบันทึกมีผลต่อการ

เปลี่ยนแปลงตนเองอย่างไร  อันนี้ชัดมากในการเปลี่ยนแปลงตนเอง ทั้งความคิดใน

การดำเนินชีวิตตนเอง  และการปฎิบัติต่อผู้คนรอบข้าง  เป็นการปฎิสัมพันธ์ที่ดี  มี

ความคิดในการให้อภัย ไม่ด่วนตัดสินใจ เย็น สว่าง เย็นมากขึ้น....เป็นผลมาจากการ

เขียนบันทึกในGotoKnow   

การบ้านที่ส่งอาจารย์ขจิต หลายบรรทัด ใช้เวลาเขียน

มากกว่าทุกบันทึกที่ผ่านมา คาดหวังว่าคงมีประโยชน์ในการแบ่งปันและแลกเปลี่ยน 

.... วอญ่า20. 00 น.7 พค 56


หมายเลขบันทึก: 534917เขียนเมื่อ 6 พฤษภาคม 2013 19:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 พฤษภาคม 2013 14:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (21)

บังครับ ไม่ต้องรีบครับ 555

ดูแลสุขภาพบ้างนะครับ เดินทางขนาดนั้น

ให้การบ้านเป็นบางคน

อาจารย์เลือกปฏิบัติหรือเปล่า

รักไม่เท่ากันนะ

คุณตา ตอบได้ละเอียดมากกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกก ฮาๆๆ


เรียนคุณยาย....ยังเขียนไม่จบครับ คุณยายโปรดอ่านตอนต่อไปครับ

เรียนท่านอาจารย์ขจิต ส่งการบ้านแล้วให้คะแนนด้วยครับ (คะแนนความสุข)

ท่านพี่คะ

ชอบใจ ข้อ 6 มากที่สุดค่ะ
รางวัล อาจจะมีส่วนอยู่บ้าง แต่เชื่อว่า
พวกเราทุกคนเขียนเพราะมีความสุขที่ได้เขียน
บางครั้งที่ตัดพ้อ ว่า ไม่ค่อยมีคนอ่าน ส่วนหนึ่งไม่ได้เสียใจที่ไม่มีคนอ่าน
แต่รู้สึกใจหายที่สมาชิก หลาย ๆ ท่าน จากไป
เหมือนกับที่ท่านพี่บอกว่า 

"แต่จากการสังเกต คนที่ได้รางวัลสุดคะนึงที่ยังคง ใช้บริการGotoKnow  มีไม่มากนัก

เรียนท่านผอ. ชยันต์ อย่างนี้ สองมาตรฐานใช่มั้ยครับ

ถ้าอย่างนั้นเรามทำการบ้านส่งอาจารย์ ขจิตด้วยกันน่ะครับ

คุณมะเดื่อว่า อาจารย์ขจิตตรวจการบ้าน ของลุงวอ  ต้องเมื่อยขากรรไกรแน่ ๆ  อ่านไปหัวเราไป  อารมณ์ดีจริง ๆ นะจ๊ะ ลุงวอ

สวัสดีคะบังหีม ขอบคุณคะที่อ้างอิงถึง บังหีมนี่สุดยอดจริงๆคะ รักษาสุขภาพนะคะ


เรียนคุณระพี  ตอนนี้จบตอนการบ้านแล้วเชิญทัศนา ส่งอาจารย์ขจิต ช่วยให้คะแนนด้วยครับ

สวัสดีน้องครูอิง เสียดายไม่ได้เจอกัน มาอยู่แค่ๆกันแล้วยังไม่ได้พบกัน

สวัสดีน้องมะเดื่อ ...เข้ากรุง ไปประชุม นำภาพงามๆมาฝากขอบคุณมากเข้าชมล้วมีสุข

tuknarak

ขอบคุณครับ ที่มาช่วยตรวจการบ้าน

ผมรับรู้ได้ถึงพลังงานบางอย่าง

อ่านแล้ว ฟินมากครับ

ขอบคุณ อาจารย์ ปฐพี  ((Edutainment)ที่เอนเตอรืเทรน   เข้ามาเป็นกำลังใจ ในการบ้าน  เรียวงร้อยถ้อยคำตามความคิดออกมาส่งการบ้าน  หลายปีก่อนทำการบ้านส่งอาจารย์ ขจิต เป็นปีกว่าจะทำส่งได้  นั้นคือการอัพภาพลงในบล็อก ในที่สุดก็ทำได้  เป็นความภูมิใจ ของคนโลIT

บังครับ ได้รับแล้ว สุดยอดมากๆๆๆ

อ่านแล้วมีความสุขมากค่ะ ดูแลสุขภาพด้วยอาหารเพื่อสุขภาพตลอดไปนะคะ 


ยกดอยหลวงมาฝากให้ชมป่าค่ะลุงวอญ่า...

เรียนท่านอาจารย์ขจิต ระยะนี้มีงานของชาวนาให้ต้องเข้าไปช่วยไปทำกระบวน ในการยื่นข้อเสนอต่อรัฐในการแก้หนี้ชาวนา จึงมักห่างหายไปบ่อย ขออภัยครับ

เรียนครูตูม ภาพสวยมาก จะลองลงมามอบช่อดอกไม้ให้ครูอิงที่ประจวบมั้ย จะได้ภาพทะเลสวยๆกลับไป

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท