เนื้อหาที่ผมใช้สอน ถ่ายทอดความรู้ด้าน “พระกรุและพระเครื่อง”


หลังจากผมได้รวบรวมความรู้เพื่อการถ่ายทอดนั้น
และนำมาเรียบเรียงดู ก็มีประเด็นความรู้หลายชุดทีเดียว

แต่ หัวข้อที่พรรคพวกสนใจมากที่สุดนั้นก็คือ

 

จุดฟันธงหลักๆ แบบทั่วไปของพระเครื่อง พระกรุเนื้อต่างๆอันได้แก่

 

1. หินเผา และดินเผา ดูที่ลำดับโทนสีในเนื้อที่ผ่านความร้อนระดับต่างๆของการเผา
ลำดับการผุพังของเนื้อด้านนอก ที่จะเป็นสีสนิมเหล็ก และคราบกรุ(ถ้ายังเหลือให้เห็น)

 

2. ดินดิบ ดูที่เม็ดทรายมน และชั้นลำดับการกร่อนยุ่ยของเนื้อประมาณ 7 ระดับ

 

3. เนื้อชิน ดูที่ความหลากหลายของชนิดโลหะ และการเกิดสนิมถึงอายุแบบหลากหลาย
กลมกลืน และทับซ้อน

 

4. เนื้อผง ดูที่การงอกของปูนและน้ำมันหรือน้ำว่านตามอายุ

 

5. เนื้อว่าน ดูความเหี่ยวของเนื้อ ความฉ่ำ และความนวลของผิวและเนื้อและมวลสารเฉพาะของแต่ละรุ่น

 

6. รูปหล่อรูปปั๊ม ดูความหลากหลายของเนื้อโลหะ (ที่มักมีทองคำผสมด้วย) และสนิมตามอายุ

 

หลังจากนั้นก็ดูพิมพ์ ความสมบูรณ์ ความกร่อนตามธรรมชาติ และการกร่อนจากการใช้ ที่มักจะต้องมีเสมอ

 

ดังนั้นโดยรวม

 

ก. ก่อนขอส่องควรสังเกต ความนุ่มนวลขององค์พระที่ปรากฏด้วยตาเปล่า (พระเก๊มักหยาบๆ
กระด้าง พิมพ์เพี้ยน เลอะเทอะ สกปรก จากการโปะให้ดูเก่า ที่เรียกว่า
"เก๊ตาเปล่า" )

 

ข. เมื่อผ่านการประเมินขั้นต้น ก็ขอหยิบส่อง เพื่อดูองค์ประกอบหลักของแต่ละประเภท (พระเก๊ที่แต่งผิวมาดี จะคล้ายคลึงพระแท้มาก ระดับนี้เรียกว่า "พระฝีมือ" ระดับต่างๆ ตั้งแต่อนุบาล จนถึง ระดับมหาวิทยาลัย)

 

ค. เพื่อหลีกเลี่ยง “พระฝีมือดี”
ให้พยายามหาจุดฟันธงให้ครบตามประเภทเนื้อ (พระที่ทำจุดฟันธงมาครบ แต่มักจะไม่เนียน
เรียกว่า "พระเก๊เฉียบ" หรือ "เก๊ปาดคอเซียน" หรือ “เก๊ระดับบัณฑิต”)

 

ง. เพื่อหลีกเลี่ยงการหยิบ “พระเก๊เฉียบ”
ให้อ่านเนื้อและประวัติของพระให้ออก จากสิ่งที่ปรากฏที่ผิวและเนื้อพระ
ถ้าอ่านไม่ออกวางเลย ไม่ต้องหยิบ (แต่ควรระวังพระที่ผ่านการล้างมา
ที่ประวัติส่วนหนึ่งจะหายไปกับการล้าง ที่จะทำให้เราตีเก๊พระแท้) และควรระวังพระเก๊บางแบบ
ที่ทำ “เลียนแบบพระล้าง” เพราะไม่ต้องทำรายละเอียดมาก
เทคนิคการอ่านเนื้อพระนี้จะทำให้เราได้พระแท้ที่ลอดสายตาเซียน และตานักขายพระได้
จะทำให้ได้พระแท้ราคาถูกครับ

 

จ. ต่อไปก็เป็นการต่อรองราคา
ที่ต้องมีเทคนิคอีกหลายแบบ ที่จะทำให้ได้พระแท้ราคายุติธรรม ในแต่ละระดับของตลาด
ไม่เอาเปรียบกันมากเกินไป ถ้าราคาหนักนักก็อาจจะต้องเปลี่ยนเป็นการ
"แลก" หรือ "จิ้ม" ที่เป็นรายละเอียด และเทคนิคส่วนบุคคล

 

ทั้งหมดนี้อยู่ในส่วนหนึ่งของหลักสูตรการสอนของผมครับ
เนื้อหาจริงๆ มีมากกว่านี้ครับโดยเฉพาะ
พุทธศิลป์และวิวัฒนาการในยุค และพื้นที่ต่างๆ วิวัฒนาการของการสร้างและการใช้มวลสารเพื่อการสร้างพระเครื่องและพระพุทธรูป
เป็นต้น


ใครสนใจมาเรียน ทุกเส้นทางของการติดต่อสือสาร ไม่ต้องมาขอนแก่น เรียนได้ฟรี ไม่มีเงื่อนไข จะเลือกเรียนแบบเฉพาะเรื่องอย่างหนึ่งอย่างใดก็ได้

 

แต่ขอร้องครับ กลุ่มที่เอาพระมาให้ดูเฉยๆ แบบไม่สนใจเรียน ผมขอบอกว่า "ไม่รับดูพระ" โดยเฉพาะคนที่ซื้อมาจากไหน เมื่อไหร่ก็ตาม และหรือกำลังคิดจะขายไป

 

แต่ถ้าเป็นของใช้ส่วนตัวไม่คิดจะซื้อจะขาย ก็พออนุโลมครับ แต่ยังไงๆ ผมก็ยังอยากให้เรียนรู้ไว้
ป้องกันพวกวิชามารมาก่อกวนครับ

ขอให้ทุกท่านโชคดีครับ

หมายเลขบันทึก: 534136เขียนเมื่อ 28 เมษายน 2013 07:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 เมษายน 2013 07:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

อยากเรียนครับ แต่คงไม่ได้เิดินทาง และกลัวอาจารย์ผิดหวัง เลยเริ่มจากการอ่านครับ ขอบคุณครับ

ผมสัญญาครับ  ผมจะตั้งใจเรียนครับบบบบบบบบบบบบบบ

ผมขอเป็นกำลังใจให้ อาจารย์อีกคนหนึ่งนะครับ ขอบคุณสำหรับ สิ่งดี ๆ ที่ถ่ายทอดให้ อย่างไม่ปิดบัง เมืองไทยไม่เคยสิ้นคนดี สู้ ๆ นะครับ ขอบคุณครับ

อาจารย์บางทีผมก็โพสต์รูปประกอบเพื่อการศึกษาร่วมนะครับ อยากดูให้เป็นจริงๆครับ พระที่โพสต์เป็นพระที่เช่ามาบ้างของเก่าบนหิ้งบ้าง ถ้าผิดพลาดประการใดก็ขออภัยด้วยนะครับ

อยากขอเป็นลูกศิษย์ด้วยอีกคน ตอนนี้ผมสนใจพระหลวงพ่อเงินอยู่ครับ ก็ได้นำความรู้จากอาจารย์มาใช้ในการพิจารณา แต่ความมั่นใจยังไม่เกิดเท่าที่ควร

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท