ถ้าเรามีศูนย์ข้อมูลการติดต่อราชการ


เมื่อวานซืนไปต่อบัตรประจำตัวประชาชนที่เทศบาลนครหาดใหญ่ปรากฎว่าคิวเต็ม เจ้าหน้าที่บอกว่าให้มาใหม่วันพรุ่งนี้หรือไปทำที่เทศบาลไหนก็ได้ทั่วประเทศ ...

จึงลองเดินทางไปทำที่เทศบาลบ้านพรุ ปรากฎว่าเหลือคิวสุดท้าย เจ้าหน้าที่บอกว่ามีคิวจำกัดต่อวัน ...

เมื่อวานเป็นวันที่สองที่ต้องเดินทางไปเทศบาลบ้านพรุเพื่อทำบัตรประชาชน เจ้าหน้าที่บอกว่าคิวเต็มแต่จะอนุโลมต่อให้อีกสองคนเพราะเห็นว่ามาแล้วเมื่อวาน ....

นั่งรอคิวพร้อมกับงงๆ ว่าคิวเต็มได้อย่างไรในเมื่อยังไม่ทันเที่ยง แล้วจึงเหลือบไปเห็นตัววิ่งไฟฟ้าที่เขียนไว้ว่าคิวช่วงเช้ามี 30 คิวต่อวันและคิวช่วงบ่ายมี 30 คิวต่อวัน ....

.....

นั่ง Time machine ย้อนเวลากลับไปสามวันที่แล้ว ค้นหาข้อมูลทางเว็บว่าต่อบัตรที่ไหนก็ได้ใช่หรือไม่ คิวต่อวันมีจำกัดเท่าไร ขั้นตอนต้องทำอย่างไรบ้าง ใช้เอกสารอะไรบ้าง

ความจริงคือ ผู้ใช้บริการก็ไม่ทราบว่าจะต้องถามอะไร และเจ้าหน้าที่ก็ไม่ทราบว่าจะต้องบอกอะไร 

นั่นคือประชาชนต้องการศูนย์ข้อมูลการติดต่อราชการ 

ขั้นที่หนึ่ง ระบบจะถามว่าคุณต้องการติดต่อเรื่องอะไร 

ขั้นที่สอง ผู้ใช้เลือกบริการที่ต้องการ 

ขั้นที่สาม ระบบแสดงขั้นตอน เอกสาร ระเบียบปฏิบัติ และ ​FAQs ของบริการนั้นๆ 

แล้วการติดต่อราชการจะสะดวกรวดเร็วขึ้นอีกเยอะ ....

....

ได้บัตรประชาชนใบใหม่มาเรียบร้อยแล้วก็เลยลองถามเจ้าหน้าที่ว่า การย้ายที่อยู่ทำได้ทุกเทศบาลหรือไม่ คำตอบคือไม่ได้ค่ะ ต้องทำที่เทศบาลในเขตที่อาศัยอยู่ค่ะ

....

หมายเลขบันทึก: 533444เขียนเมื่อ 20 เมษายน 2013 22:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 กันยายน 2013 14:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ปีที่แล้วบัตรประชาชนหมดอายุ  ดิฉันได้ไปเขต (กทม. ทำบัตรที่เขต)

คนเยอะมาก เพราะว่ามีเด็กนักเรียนอายุตั้งแต่7ขวบ ขึ้นไป มาทำด้วย

วันหนึ่ง รับได้ 120-150คน   เรามาคำนวณเวลากันนะคะ

1วันเวลาราชการมี8ชั่วโมง ไม่พักเที่ยง คิดเป็น9ชั่วโมง คิดเป็นนาที ได้ 540นาที

ถ้าคิดต่อคน150คน/วัน   ใช้เวลาทำบัตรคนละ 3.60 นาที  ใช้เวลาไปเท่านี้ โอเคไหมคะ ?

ไปถึงเขตยังไม่ถึง8โมงเช้าเลย  พอเจ้าหน้าที่ของเขตบอกว่าวันนี้คิวเต็มหมดแล้ว เพราะประชาชนมารับบัตรคิวตั้งแต่7.00น.ค่ะ

แต่โชคดี ที่เขตนี้มีอินเทอร์เน็ตให้สามารถจองคิวได้ทางอินเทอร์เน็ต และ

สามารถไปทำบัตรได้ภายใน60วัน หลังจากบีตรหมดอายุ จึงได้จองคิวไปทางอีเมล

ยุคไอที  ถ้าหากว่ามีการใช้เทคโนโลยี่ให้เป็นประโยชน์ ก็จะสามารถประหยัดเวลาไปได้เยอะเลยค่ะ

สำหรับต่างจังหวัด  เครื่องมือและบุคคลากร อาจจะน้อยกว่า กทม.

8ชั่วโมง(480นาที)  ต่อวัน ต่อ60คน   คิดเป็นใช้เวลาไปคนละ 8 นาที ไม่รวมเวลารอคิว

แบบนี้ โอเคไหมคะ ?

ขอสนับสนุนให้หน่วยราชการทุกสถานที่ สามารถนัดหมายได้ทางเมลอีเลคโทรนิคค่ะ

ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท

แบบนี้เขาไม่เรียกว่าบริการประชาชนแล้วครับ เขาเรียกว่าต้อนประชาชนให้มารายงานตัวเหมือนกับต้อนวัวเข้าคอก เพื่อตีตราเจ้าของ ระบบราชการเอาแต่ได้ คิดแต่ความสะดวกของข้าราชการเอง ไม่ได้คิดถึงเวลาของประชาชนที่ต้องไปเพราะจำยอม ทำไมไม่หัดใช้สมองทำงานบ้าง เมื่อรู้ความต้องการและจำนวนของประชาชนที่จะต้องมาต่ออายุบัตรประชาชน ก็ต้องวางแผนจัดการให้เหมาะสม ผมไม่โทษพนักงานระดับล่าง โทษผู้ที่มีตำแหน่งบริหารจัดการ การทำงานวิธีนี้ทำให้ทั้งพนักงานและประชาชนเครียด  ประชาชนได้รับบริการเปลี่ยนบัตรอย่างรวดเร็ว ต้องใช้ปัญญาในการบริหารจัดการครับ การนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้เพื่อทำให้การทำงานเร็วขึ้น มีประสิทธิภาพมากขึ้น ไม่ใช่นำมาใช้แล้วทำให้ประชาชนเดือดร้อนกว่าเดิม

ได้อ่านบทความของอาจารย์จันทวรรณ เลยรีบไปดูบัตรประชาชนว่าหมดอายุเมื่อใด ปรากฏว่าหมดอายุปี 2558  ค่อยโล่งอก เพราะกลังว่าจะต้องไปโวยวายที่เขตอีก เหลืออีก 2 ปี หวังว่าการบริหารจัดการจะได้รับการพัฒนาให้ดีขึ้น อยากเห็นจดหมายจากเขตมาแจ้งให้ไปเปลี่ยนบัตรประชาชนของท่านระหว่างวันที่ ........ ณ.เขต ....... เมื่อไปตามวันและเวลาที่นัด ก็สามารถได้รับการบริการที่ดี เตรียมการไว้อย่างดี ใช้เวลาไม่ถึง 10 นาที ก็ได้รับบัตรประชาชนใบใหม่กลับมา

ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท

21 เมษายน 2556

ขอบคุณบันทึกเรื่องใกล้ตัวนี้มากๆเลยนะคะ

เมื่ออ่านบันทึกนี้แล้วทำให้ได้มุมคิดของตัวเองขึ้นมา

และมองไปถึงการทำงานบริการประชาชนในด้านอื่นๆ

อิอิ แล้วก็เผลอใจเปรียบเทียบการทำงานของหน่วยราชการเข้าไปอีกประเด็น..

ของพี่บัตรหายเมื่อก่อนต้องแจ้งความ

ปัจจุบันไม่ต้องแจ้งไปที่ทำการเทศบาลเลยค่ะ

ยังเหลือแต่เรื่องใบมรณบัตรของบุพการีที่เขตตลิ่งชั่นกทม.0

ไม่ทราบเหมือนกันว่าเมื่อเราไปขอรับหรือให้เขาออกใบรับรอง

จะยุ่งยากหรือรวดเร็วเช่นการทำบัตรประชาชนยุคนี้ไหม


ผมคิดว่าหน่วยราชการหลายแห่งอยู่ระหว่างการปรับปรุงการให้บริการที่ดี (ตามที่คาดหวัง)

แต่แรงผลักดันที่สำคัญ  ต้องอยู่ที่ผู้นำหน่วยนะครับ  ที่จะเดินหน้าให้เกิดการพัฒนาต่าง ๆ ขึ้นมา


มีกรณีตัวอย่างข้อเท็จจริงข้างต้นให้ทราบครับ

  มีเอกชนบางรายมาติดต่อ ผอ.ของหน่วยงานที่ผมทำงาน  เพื่อนำเสนอหลอดไฟ LED 

ทั้งชนิดหลอดยาว ๆ และเป็นดวง  เพื่อใช้ทดแทนหลอดนีออนทั่วไป หลอดตะเกียบประหยัดไฟ

ผลทดสอบที่แสดงให้เห็น  หลอด LED ดังกล่าว  กินไฟน้อยกว่า ไม่มีความร้อนออกมาขณะทำงาน

และไม่ต้องใช้บัลลาสต์ สตาร์ทเตอร์  ท้ายที่สุดท่านเห็นชอบให้ทดลองเปลี่ยนในบางห้อง

และบางพื้นที่ใช้งานก่อน  แม้ว่าหลอด LED นั้นจะราคาต่อหลอดประมาณ 1,800 บาท

หลอดดาวน์ไลท์ ประมาณ 960 บาท (มีการรับประกันอายุการใช้งานมากกว่า 10 ปี)

กรณีตัวอย่างนี้ได้กระทำก่อนที่รัฐบาลจะมีนโยบายประหยัดพลังงานไฟฟ้า ครับ

ต้องทำให้ได้แบบติดต่อสถานฑูตเรยครับ Search ที่ไหนก็เจอ ขั้นตอน วิธีการ ปริ้นแบบฟอร์มได้  แถมส่งแบบฟอร์มออนไลน์ได้อีก ต่ิอไปคงสแกนเอกสารแนบทั้งหมดส่งออนไลน์ หรือดูอย่างสรรพากร ก็ตั้งศูนย์ข้อมูลข่าวสารประจำหน่วยงานเพื่อรวบรวมกิจกรรมทั้งหมด ที่ต้องติดต่อประชาชน  จัดเก็บเป็นฐานข้อมูลให้ประชาชน ได้ปฏิบัติได้ถูกต้องสดวก รวดเร็ว  การตั้งศูนย์ฯก็เพื่อให้บริการข้อมูล ตรวจสอบ แก้ไขข้อมูล หรือแม้กระทั่ง ประสานการตอบข้อสงสัย ได้ทันเหตุการณ ดีครับ จนท ที่รับผิดชอบในด้านกฏเกณฑ์การพิจารณาอนุญาต จึงไม่ต้องมีภาระเพิ่มขึ้น เพราะ จนท มีศูนย์ช่วยตรงจุดนี้ครับ  

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท