บรรยากาศของการเรียนรู้และการถอดบทเรียนแก้จนเมืองนคร


ผมให้กำลังใจกับเพื่อนครูอาสาฯว่า ถอดบทเรียนไปเถิดไม่ต้องคำนึงว่าจะผิดทฤษฎีมากนัก ทำไปเลย เราเข้าใจว่าอย่างไรเราก็ทำไป เพราะความกลัว กลัวผิดนั้นผิดนี่ทำให้เราไม่กล้าทำอะไร คนที่เขาเห็น เขาอ่านงานเรา ที่เขาปรารถนาดีเขาก็จะแนะนำเราเอง ถ้าไม่ทำก็ไม่รู้ อย่างที่หลายคนพูดว่า KM ไม่ทำไม่รู้ ทำไปเถิด ผมสังเกตเห็นหลายคนกล้าที่จะคิดที่จะเขียน กล้าที่จะถอดบทเรียนมากขึ้น

สืบเนื่องมาจากท่านผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช ท่านวิชม ทองสงค์ ประธานคุณเอื้อจังหวัด พร้อมด้วยคณะของคุณเอื้อจังหวัดมีกำหนดการจะมาจับภาพ KM แก้จนแบบดาหน้าไปทุกอำเภอ คิวของอำเภอเมืองเราคือวันที่ 10 ตุลาคม


เพื่อให้การสนทนาแลกเปลี่ยนมันได้ข้อมูลที่เกิดขึ้นจากการฏิบัติจริงที่สกัดหรือถอดหรือดึงความรู้ที่อยู่ในคนออกมาแล้วส่วนหนึ่ง จัดเก็บไว้ในรูปเอกสารน่าจะทำให้การสนทนาแลกเปลี่ยนมีเป้าหมายและแนวทางชัดเจนขึ้น จึงคิดกันว่าน่าจะทำเอกสารสรุปบทเรียนขึ้นมาสักเล่มหนึ่งให้คณะคุณเอื้อจังหวัดได้ศึกษา ใช้เป็นแนวทางที่จะซักถามความรู้ฝังลึกออกมา 


บรรยากาศที่  กศน.อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช ในฐานะเลขานุการคณะทำงานระดับอำเภอจึงคึกคักเป็นพิเศษ มีการดำเนินการถอดบทเรียนที่ได้จากการจัดการความรู้แก้จนเมืองนครช่วง 4-5 เดือนที่ผ่านมา  เสียดายที่เราเชิญคณะผู้ร่วมงานจากหน่วยงานอื่นมาไม่ได้เพราะทราบข่าวกระชั้นชิดเกินไป ไม่ว่าจะเป็น ธกส. เกษตร พัฒนาชุมชน สาธารณสุข พอช. ปกครอง ฯลฯ ถ้ามาร่วมกันได้คงจะได้แลกเปลี่ยนกันสนุกแน่ แต่คิดว่าท่านเหล่านั้นคงได้ร่วมกันถอดบทเรียนด้วยแน่นอนในโอกาสต่อไป หรือแม้แต่เอกสารสรุปบทเรียนที่ กศน.เมือง (ทีมครูอาสาฯ) จัดทำขึ้นเองเพียงลำพังในครั้งนี้ หน่วยงานทั้งหลายดังกล่าวก็ให้ข้อคิดเห็นเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงแก้ไข เพิ่มเติมได้


ผมเห็นบรรยากาศที่ทีมครูอาสาฯร่วมกันถอดบทเรียนและจัดทำเอกสารสรุปบทเรียนแล้ว ก็รู้สึกว่าดีใจ ครับ อยากจะเล่าขั้นตอนการถอดบทเรียน และจัดทำเอกสารดังนี้ครับ ครูอาสาฯเริ่มต้นถอดบทเรียนโดยนำเอาข้อมูลข้อเท็จจริงที่รวบรวมไว้ ไม่ว่าจะเป็นภาพถ่าย กระดาษปรู๊ฟ กระดาษฟลิปชาร์ต รายงานการประชุมแต่ละเวที สมุดจด บันทึกความรู้แก้จนตามวิถีคนคอน ฯลฯ มาจัดเรียงเป็นหมวดหมู่เป็นระบบ จากนั้นก็ศึกษากรอบเนื้อหาและประเด็นถอดบทเรียน ซึ่งผมได้สำเนาแจกให้กับเพื่อนครูอาสาฯทุกคนแล้ว ต่อจากนั้นก็ให้ดำเนินการถอดบทเรียนเรียงไปในแต่ละหัวข้อ ที่เป็นเช่นนี้เพราะต้องการเรียนรู้ไปพร้อมๆกัน ซึ่ง กศน.เมืองของเราโชคดีที่มีครูอาสาฯที่มีประสบการณ์ด้านนี้ 2 คน ที่ได้รับอานิสงส์การถอดบทเรียนมาจากการโครงการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาองค์กรการเงินชุมชน ซึ่งทดลองนำร่อง 3 ตำบล ในพื้นที่อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช เมื่อปี 2548 คือ อ.สำราญ เฟื่องฟ้า และ อ.มนัสชนก จันทิภักดิ์  อาจารย์ทั้งสองท่านนี้จึงทำหน้าที่เพื่อนช่วยเพื่อน เพื่อให้เกิดบรรยากาศของการทำงานไปด้วยและเรียนรู้ไปด้วยพร้อมๆกันเกี่ยวกับเรื่องการถอดบทเรียนนี้ผมจึงนำหนังสือการถอดบทเรียน ของ ดร.ทรงพล เจตนวณิชย์ เอกสารสรุปบทเรียนจัดการความรู้เพื่อพัฒนาองค์กรการเงินชุมชนที่นำร่องใน 3 ตำบลของอำเภอเมืองนครศรีฯมาให้ดูให้ศึกษาควบคู่ไปด้วย พร้อมๆกับบอกว่าใครอยากรู้เพิ่มเติมอีกก็ให้เปิด gotoknow ค้นหาป้ายคำที่เกี่ยวกับ ถอดบทเรียน สรุปบทเรียน ฯลฯ ก็จะได้ความรู้ประสบการณ์อีกมากมาย จากนั้นก็ให้ครูอาสาฯแต่ละคนนำประสบการณ์รายละเอียดการทำงานของแต่ละคนมาใส่เข้าไป เชิงเล่าประสบการณ์ทีละหัวข้อ เสร็จหัวข้อนี้แล้วก็ขึ้นหัวข้อใหม่ จัดพิมพ์ให้เรียบร้อย แล้วเสนอทีมเลขาซึ่งมี อ.สำราญ เฟื่องฟ้า เป็นหัวหน้าทีม คิดว่าวันศุกร์นี้เอกสารสรุปบทเรียนของเราก็จะเสร็จเรียบร้อยครับ ไม่รับประกันคุณภาพ และความถูกผิดนะครับ


ผมให้กำลังใจกับเพื่อนครูอาสาฯว่า ถอดบทเรียนไปเถิดไม่ต้องคำนึงว่าจะผิดทฤษฎีมากนัก ทำไปเลย เราเข้าใจว่าอย่างไรเราก็ทำไป เพราะความกลัว กลัวผิดนั้นผิดนี่ทำให้เราไม่กล้าทำอะไร คนที่เขาเห็น เขาอ่านงานเรา ที่เขาปรารถนาดีเขาก็จะแนะนำเราเอง ถ้าไม่ทำก็ไม่รู้ อย่างที่หลายคนพูดว่า KM ไม่ทำไม่รู้ ทำไปเถิด ผมสังเกตเห็นหลายคนกล้าที่จะคิดที่จะเขียน กล้าที่จะถอดบทเรียนมากขึ้น

ผมเห็นบรรยากาศแล้วคึกคัก เป็นบรรยากาศของการเรียนรู้  หลายคนเริ่มเข้าใจแล้วว่าการถอดบทเรียนไม่ใช่ศาสตร์ชั้นสูงที่พวกเราเข้าถึงไม่ได้ ไม่ใช่ดำเนินการได้แต่เฉพาะคนที่จบมาทางด้านนี้เท่านั้น ไม่ใช่เรื่องยากเย็น ไม่ใช่เรื่องน่ากลัวแต่อย่างใด ต้องค่อยๆฝึก ค่อยๆทำ ค่อยๆเรียนรู้ แล้วจะเข้าใจไปเอง ทั้งๆที่ก่อนหน้านี้เรื่องนี้น่ากลัวมาก แหยงกันทุกคนเลย นักวิชาการเท่านั้นที่ทำได้

 

จึงบันทึกมาเพื่อการแบ่งปันประสบการณ์ครับ
4 ต.ค.49

หมายเลขบันทึก: 53336เขียนเมื่อ 5 ตุลาคม 2006 09:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:03 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)
ดังที่คำกล่าวว่า...ไม่ทำก็ไม่รู้...จริงไหมคะครูนงเมืองคอน...
แล้วเนื้อหาที่ถอดบทเรียนจะไปหาอ่านได้ที่ไหนคะ คุณครูนง
จะทำเป็นเอกสาร 50 เล่ม สำหรับผู้ที่มาติดตามและผู้เข้าร่วมครับ สำหรับชาวบล็อกนั้นโปรดติดตามเป็นตอนๆจากบล็อกของครูราญเมืองคอน คนนอกระบบ บล็อกเกอร์ KM สกุลเมืองคอน เป็นตอนๆ ตั้งแต่วันจันทร์ที่ 9 ต.ค.เป็นต้นไปครับ

เรียน คุณหมอนนลี เพื่อนร่วมทาง

          ลิ้งบล็อกครูราญเมืองคอนคนนอกระบบ ชื่อบล็อก การส่งเสริมอาชีพด้วยกระบวนการจัดการความรู้ Km-chaimontree

ถ้าอ่านของครูนง + ครูราญ ก็ได้ความรู้เกือบทั้งหมดเลยละค่ะ ทั้งกลยุทธ์การจัดกระบวนการ และผลลัพธ์ที่ได้ ... นี่เขาเรียกว่า ทีมเวิร์กการนำเสนอเรื่องราวหรือเปล่าคะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท