บทวิเคราะห์ Intercultural Management for Successful Business Across Borders


         บทวิเคราะห์ Intercultural Management for Successful Business Across Borders

         สังคมโลกในปัจจุบันนับวันยิ่งแคบลง สามารถติดต่อกันได้อย่างไร้ขอบเขต และด้วยความไร้ขอบยิ่งทำให้ผู้คนสามารถติดกันได้อย่างง่ายดาย และสิ่งที่เข้ามาพร้อมกับความสัมพันธ์ของผู้คนที่เกิดจากการติดต่อนั้น คือ สิ่งที่เป็นวัฒนธรรมของชนชาติต่างๆที่พากันหลั่งไหลเข้ามา เกิดการแลกเปลี่ยน ผสมผสานกันอย่างกลมกลืน กลายเป็นน้ำหนึ่งเดียวกัน หรือ เป็นส่วนหนึ่งวิถีชีวิตไปโดยไม่รู้ตัว และเมื่อกล่าวถึงวัฒนาธรรม เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นพร้อมๆกับมนุษย์ วัฒนธรรมส่วนใหญ่เกิดจากการที่มนุษย์ปฏิบัติต่อๆกันมาส่งทอดจนมาถึงปัจจุบัน และในแต่ละส่วนของสังคมโลก มีวัฒนธรรมที่แตกต่างกันไป ด้วยเหตุผลของลักษณะทางภูมิศาสตร์ของพื้นที่ได้อาศัยอยู่ อย่างเช่น วัฒนธรรมการแต่งกายของคนที่อาศัยอยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กับคนที่อาศัยอยู่ในทวีปยุโรปคนเอเชียจะมีการแต่งกายที่มีลักษณะของเสื้อผ้าที่ใส่สบายไม่หนา เป็นผ้าบางๆ เพราะผู้คนเหล่านั้นอาศัยอยู่ประเทศที่มีลักษณะของภูมิอากาศร้อนชื่น ย่อมต่างกันสำหรับผู้คนที่อาศัยอยู่ในทวีปยุโรปซึ่งมีภูมิอากาศที่มีลักษณะที่มีอากาศหนาวเย็น จึงมีลักษณะของเสื้อผ้าที่มีความหนามากว่า เพราะร่างกายของต้องการความอบอุ่น  ดังนั้นการแต่งของคนทั้งสองทวีปย่อมต่างกันเป็นธรรมดา อย่างไรก็นั่นเป็นสิ่งที่เราสามรถมองเห็นสัมผัสได้ แต่ในทางตรงกันข้ามกัน เบื้องลึกของความแตกต่างของวัฒนธรรมของสังคมโลกในแต่ละพื้นที่ ยังมีส่วนที่แตกต่างกัน เช่น อาหารการกิน ที่พักอาศัย การแต่งกาย ภาษาที่ใช้ในการสื่อสาร เหล่านี้เป็นวัฒนธรรมนั้น ถามว่าวัฒนธรรมเกิดจะอะไร บ้างเกิดจากความเชื่อของมนุษย์ รวมทั้งการสร้างวัฒนธรรมโดยมนุษย์ โดยส่วนใหญ่แล้วประเทศที่มีความเจริญในหลายด้าน ย่อมเป็นผู้นำทางด้านวัฒนธรรม และวัฒนธรรมต่างๆของประเทศเขาต่างก็ได้รับความนิยมกันแพร่หลาย เช่น ประเทศอเมริกามักจะเป็นผู้นำในหลายๆด้าน เรามักจะเห็นวัฒนธรรมต่างๆของอเมริกาในประเทศต่างๆอย่างมากมาย บางครั้งการที่ประชาชนในประเทศที่ได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรม นำไปใช้ยังไม่เหมาะสม ตัวอย่าง การแต่งกาย คนอเมริกัน มีการแต่งกายที่ไม่ค่อยที่จะปกปิดกันมากนัก แต่เมื่อ เข้านำมาในประเทศไทยแล้วย่อมมีปัญหาอย่างแน่นอน เพราะสังคมไทยเป็นสังคมที่ค่อนข้างที่จะถนอมตัว รักตัวสงวนตัวอยู่พอสมควร ดังนั้น การที่นำวัฒนธรรมใด วัฒนธรรมหนึ่งเข้ามานั้นต้องขึ้นกับความเหมาะสมจึงจะทำให้สังคมนั้นไม่เกิดความขัดแย้งได้ และเมื่อกล่าวถึงความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรม มีผลต่อการทำงานในระบบขององค์กร หรือ บริษัท อื่นๆ อย่างแน่นอนหากไม่ได้รับการปรับ ทำความเข้าใจ ระหว่างวัฒนธรรมของกันและกัน การที่องค์กรใดองค์กรหนึ่งจะประสบความสำเร็จในการประกอบกิจกรรมทางธุรกิจได้นั้น นอกจากองค์กรต้องเป็นลักษณะที่เปิดกว้างแล้ว ยังต้องเป็นองค์กรที่มีความเข้าใจความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรมจึงสามารถประสบความสำเร็จได้ในการแข่งขันในสังคมที่มีลักษณะเป็นทุนนิยมอย่างปัจจุบัน จะเห็นได้ว่าความสำคัญของการทำเข้าใจของความแตกต่างของวัฒนธรรมเป็นสิ่งจำเป็นต่อการพัฒนาองค์กรสู่ความสำเร็จได้

Prof. Dr. Claus Schreier ได้กล่าวถึง ขอบข่ายของความสำเร็จทางธุรกิจในการจัดการ หรือ การบริหารความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรมในประเด็นดังต่อไปนี้

ขอบข่ายของวัฒนธรรม (Framework) ในยุคโลกาภิวัฒน์วัฒนธรรมที่แตกต่างได้แพร่ขยายไปทั่วโลกมีความหลากและมีความแปลใหม่อยู่เสมอๆ ความแตกต่างของวัฒนธรรมถือเป็นเรื่องใหญ่ที่จะต้องทำความเข้าใจในประเด็นที่มีความลึกซึ้งจนอยากที่จะเข้าใจ และนับวันสังคมโลกมีความเจริญรุดหน้าไปมาก จากสังคมที่เป็นลักษณะที่มีความสัมพันธ์ เกื้อกูลกัน พบปะการพูดคุยกันโดยตรง แต่ปัจจุบันกลายเป็นสังคมที่มีการแข่งขันสูง ทุกอย่างล้วนมีเงินตรา และเมื่อสังคมมีลักษณะดังกล่าว ทำให้ระบบต่างๆ เปลี่ยนตามไปด้วย เช่น ความคาดหวังสูงจากผู้ใช้แรงงานหลากหลายอยู่ตลอดเวลาสูง การทำงานเป็นทีมจะแพร่หลายมากขึ้น โดยการเดินทางเพื่อพบปะกันน้อยลงแต่การสื่อสารจะพัฒนายิ่งขึ้นองค์กรข้ามชาติมีความร่วมมือต่อกันทั่วโลก ทำให้ความสำคัญ และจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้ถึงความแตกต่างของสังคมประเทศที่ต่างกัน ปัจจุบันมีประเทศมหาอำนาจเกิดขึ้น อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะ ประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ เช่น ประเทศอินเดีย ประเทศจีน ส่วนประเทศในทวีปยุโรปคงไม่ต้องกล่าวถึง เพราะเป็นประเทศที่มีความเจริญสะสมมาอย่างยาวนาน ทั้งนี้เพื่อเป็นการสร้างความแข็งเกรงให้กับองค์กรของตนเอง การที่องค์กรจะประสบความสำเร็จ และเป็นผู้นำในยุคโลกาภิวัตน์  สิ่งสำคัญ คือ การสร้างวัฒนธรรมและการเป็นผู้นำในยุคโลกาภิวัตน์ ที่จะต้องมีความเข้าใจในประเด็นดังต่อไปนี้

·  ผู้ที่มีความเข้าใจความแตกต่างทางวัฒนธรรม ที่มีผลต่อประสิทธิภาพการเป็นผู้นำ

·  ผู้นำต้องมีความสามรถเพียงพอที่จะตระหนักถึงการปฏิบัติข้ามวัฒนธรรมที่ต่างกัน

·  ผู้ที่มีทักษะในการสร้างวิสัยทัศน์ทางวัฒนธรรม

·  ผู้ที่มีวิสัยทัศน์ในการพัฒนาความสามารถด้านการสื่อสาร

และสมรรถนะสำหรับความเป็นผู้นำ  (Five cross-cultural competencies for leaders)

·  ธุรกิจเข้าใจการเมืองและสภาพแวดล้อมทางวัฒนธรรมทั่วโลก

·  เรียนรู้มุมมองที่รสนิยมแนวโน้มและเทคโนโลยีของวัฒนธรรมหลากหลาย

·  สามารถทำงานพร้อมกับคนจากวัฒนธรรมหลากหลาย

·  สามารถปรับตัวให้เข้ากับการสื่อสารของวัฒนธรรมอื่นๆ

·  ต้องเรียนรู้ที่จะเกี่ยวข้องกับคนจากวัฒนธรรมอื่น จากตำแหน่งเท่าเทียม หรือเหนือกว่า

วัฒนธรรมนานาชาติและการจัดการความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรม (International and Intercultural Management) ในประเด็นวัฒนธรรมกับการจัดการความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรมของนานาชาติ เป็นสิ่งที่ต้องทำความเข้าใจ อะไรที่มีความเกี่ยวข้อง กล่าวคือ การจัดซื้อ การจัดการการผลิต การจัดการจำหน่าย และ การตลาดระหว่างประเทศ ประเด็นดังกล่าวจะมีความเชื่อมโยงกับ การเป็นผู้นำที่ต้องรู้และเข้าใจ การจัดการการสื่อสาร การจัดการความขัดแย้งและการจัดการความหลากหลายทางของวัฒนธรรมข้ามชาติ จากประเด็นที่ได้กล่าวมาข้างต้นนั้น จำเป็นที่จะต้องทำความเข้าใจให้ลึกซึ้ง เพื่อให้การทำงานในลักษณะขององค์กรเป็นนานาชาติประสบความสำเร็จได้มากยิ่งขึ้น สอดคล้องกับทฤษฎีการจัดการระหว่างวัฒนธรรม (Intercultural Management Theories) กล่าวถึงในการทำงานที่เป็นในลักษณะขององค์กรที่มีความหลากหลายนั้น และการนำไปใช้ได้จริงนั้น การวิเคราะห์ความเป็นไปได้ในการจัดการและควบคุมให้เกิดเป็นจริงได้ ความแตกต่างของลักษณะทางสังคม เช่น ลักษณะความสัมพันธ์ของสมาชิกในสังคมนั้น ที่มีความแตกต่างในด้านพฤติกรรมพื้นฐานของวัฒนธรรม  ด้านความรู้ด้านวัฒนธรรม ด้านการอธิบายและแก้ไขปัญหา เกิดเมื่อมีคนจากวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน ด้านการเคารพความสัมพันธ์ทางสังคม

จากประเด็นที่ได้ยกมานั้น เป็นสิ่งเกิดขึ้นระหว่างการปฏิบัติของผู้คนที่ลักษณะที่แตกต่างทางวัฒนธรรม เป็นกระบวนการที่ทำให้เกิดการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรม เพื่อให้เกิดประสิทธิผลที่มีประสิทธิภาพนั้นเอง

การเข้าใจความแตกต่างทางวัฒนธรรม (Understanding Culture & Cultural Differences) ในแต่ละวัฒนธรรมจะมีพฤติกรรม การแสดงออกที่แตกต่างกัน เช่น ความแตกต่างในการสื่อสารเกี่ยวกับกริยา (Differences in nonverbal Communication) เช่น การส่ายหน้า การส่ายหน้าไปมาจากซ้ายไปขวาหรือขวาไปซ้าย หมายถึงการปฏิเสธ การไม่ยอมรับ หรือ การพยักหน้า การผงกหัวขึ้นและลง หมายถึง ใช่ การยอมรับ มีความจำเป็นต่อการตีความพฤติกรรม (Interpretation of behavior) เพื่อวิเคราะห์ถึงความคิด ของบุคคลต่างวัฒนธรรมได้ ซึ่งถ้าเราไม่สามารถตีความถึงพฤติกรรม การแสดงของบุคคลได้ อาจก่อให้เกิดความเข้าใจที่คาดเคลื่อนได้อย่างแน่นอน วัฒนธรรมที่แตกต่างในการสื่อสารโดยไม่พูด หรือ การใช้กริยาท่าทาง (Examples of Cultural Difference in Non-verbal Communication) กล่าวคือ การแสดงอาการ หรือ ความรู้สึกทางสายตา ในเปอร์เซ็นต์การสบตากันของคน 2 คน ในแต่ละประเทศ ขณะที่พูดคุยโต้ตอบกัน ดังนี้

1. ชาวญี่ปุ่น 13เปอร์เซ็นต์

2. ชาวอเมริกัน 33 เปอร์เซ็นต์

3. ชาวบราซิล 56เปอร์เซ็นต์

เปอร์เซ็นต์การสัมผัสของคู่สนทนาในร้านกาแฟสาธารณะภายใน 1 ชั่วโมง

1. ที่ San Juan (สเปน) 80 ครั้ง

2. ที่ ปารีส (ฝรั่งเศส) 110 ครั้ง

3. ที่ London (England) 0 ครั้ง

  วัฒนธรรมที่แตกต่างในการยิ้ม (Difference in Smiling)  ในประเทศรัสเซีย จะติดต่อสื่อสารโดยกันไม่ยิ้ม กรณี ชาวอเมริกัน เปิดร้าน McDonald’s ครั้งแรกในกรุงมอสโกประเทศรัสเซีย และ กฎการบริการการลูกค้า คือ บริการลูกค้าด้วยรอยยิ้มน้อยๆ หลังจากเปิดมีลูกค้าชาวรัสเซียไม่พอใจมากรู้สึกว่าพวกเขาไม่ได้รับบริการอย่างจริงใจ

จากเปอร์เซ็นต์ที่แสดงถึงพฤติกรรมของผู้คนในชาติต่างๆ บ่งบอกถึงความสำคัญ และจำเป็นในการเรียนรู้ และทำความเข้าใจในความแตกต่างของวัฒนธรรมต่าง เพื่อเป็นข้อมูลเบื้องต้นในการประกอบธุรกิจได้เป็นอย่างดี  ในมุมมองกลับกับการไม่เข้าใจถึงความแตกต่างเป็นส่วนหนึ่งของผู้ประกอบการที่ไม่มีข้อมูลของลูกค้า ย่อมเป็นอุปสรรคในการประกอบธุรกิจได้

ลักษณะของวัฒนธรรม (Natural of Culture) กล่าวคือ การเรียนรู้ในความร่วมกันแบ่งปันเกี่ยวกับความเชื่อ ค่านิยม บรรทัดฐานและการปฏิบัติทางสังคม ที่มีผลต่อพฤติกรรมของกลุ่มของประชาชนขนาดใหญ่ (Lustig, M.W. / Koester J. 2006) จากประเด็นข้างต้นสรุปได้ว่าลักษณะของวัฒนธรรมนั้นมีผลต่อพฤติกรรมของประชาชนที่มีกลุ่มใหญ่ หรือ กลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว ตัวอย่าง วัฒนธรรมการแต่งกายของคนอเมริกา เช่น เสื้อผ้า อาหารการกิน สิ้นค้าเหล่านี้ต่างได้รับความนิยม อันเนื่องการสร้างค่านิยม การยอมรับของสังคมโดยรวม และความเจริญของอเมริกา อันเป็นเหตุที่ทำให้ลักษณะของวัฒนธรรมมีผลต่อพฤติกรรมของผู้คนในสังคมโลกโดยตรง ดังนั้นบทบาทหน้าที่ของวัฒนธรรม(Nature of Culture) เป็นส่วนที่เป็นตัวกำหนดพฤติกรรมของคนในสังคมได้ ทั้งเป็นแหล่งเรียนรู้ถึงวิถีที่แตกต่างระหว่างกันได้ ไปสู่การรับรู้วัฒนธรรม (Sense)เพื่อหลีกเลี่ยงความไม่แน่นอน  เช่น ถ้ายิ้มให้สถานการณ์ก็ผ่อนคลาย ลดความซับซ้อนเพื่อเป็นพื้นฐานที่สะท้อน เช่น อยู่ในสถานที่ใดก็ต้องปรับตัวให้เข้ากับสังคมนั้นมิเช่นก็ไม่สามารถที่อยู่ในสังคมนั้นได้

  ภาวะผู้นำการจัดการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม (Intercultural Leadership Management)คำนิยามของภาวะผู้นำ หมายถึง ผู้ที่มีอิทธิพล ต่อการวางเป้าหมายของกลุ่มหรือองค์กรเพื่อกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมเพื่อการเข้าถึงเป้าหมายเหล่านี้ และเพื่อช่วยกำหนดวัฒนธรรมกลุ่มหรือองค์กร ให้ความเป็นผู้นำในมุมมองที่สร้างสรรค์ (Leadership under a functionalistic perspective) แนวคิดหลัก: ไม่มีการจัดการหรือพฤติกรรมที่เหมาะสมของผู้นำในทุกสถานการณ์ โดยเฉพาะในสถานการณ์ที่มีความแตกต่างทางวัฒนธรรม ซึ่งอาจขึ้นกับสถานการณ์ดังนี้

  ปฏิกิริยาคนขึ้นอยู่กับความเข้าใจและการตีความสถานการณ์ ระหว่างผู้ส่ง – ผู้รับ  มีความเป็นไปได้ที่ผู้นำจะเข้าไปแทรกแซงในการแก้ปัญหาต่างๆ ทุกบทบาทมีส่วนร่วมในการจัดการกับพนักงาน ตราบเท่าที่ยังคงเป็นมนุษย์ ผู้นำระดับระดับที่ 2Push-Management เป็นการจัดระเบียบ และระบบการคิดด้วยตนเอง ความกดดันทำให้ขาดประสิทธิภาพ ผู้นำระดับระดับที่ 2 Pull - Management เป็นกระบวนการจัดการที่แตกต่าง เป็นการดูแลคนด้วยการติดตามผลงาน โดยให้กระบวนดำเนินการด้วยตนเอง

สาระสำคัญกับการนำไปใช้ในด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

นับวันความเจริญของสังคมได้แผ่ขยายอย่างกว้าง การติดต่อสื่อสารนั้นย่อมเป็นเรื่องง่ายดาย และรวดเร็ว ทำให้เกิดการพบปะกันกับผู้มากมายหลากหลายเชื่อชาติ ศาสนา ประเด็นหลัก คือ วัฒนธรรมของคนแตกต่างกัน แน่นอนเมื่อมีความแตกต่างย่อมมีความขัดแย้งในการทำงาน หรือ การอาศัยอยู่ร่วมกัน จากประเดฝ้นดังกล่าวที่ได้ยกมานั้น มีความสำคัญมากที่จะนำไปใช้ในการพัฒนาองค์กร หรือ ทรัพยากรขององค์กรได้ การศึกษาทำความเข้าใจในความแตกต่างๆของวัฒนธรรมของนานาชาตินั้นจะเป็นผลกำไรในการทราบถึงข้อแตกต่างของวัฒนธรรมต่างๆ เพื่อให้การประกอบธุรกิจ หรือ การทำงานร่วมกันได้อย่างไม่มีความขัดแย้งได้ ซึ่งจะทำให้ผลของงานนั้นจะบังเกิดประสิทธิผลของงานที่มีประสิทธิภาพ

ดังนั้นการให้ความสำคัญในการทำความเข้าต่อประเด็นของความแตกต่างทางวัฒนธรรมนั้นเป็นสิ่งที่นักพัฒนาทั้งหลายจำต้องศึกษาเรียนรู้ให้เข้าใจอย่างชัดแจ้ง เพราะปัญหาความแตกต่างทางวัฒนธรรมนั้นเป็นเรื่องใหญ่หากไม่เข้าใจในปัจจัยต่างๆที่มีความสำคัญในประเด็นทางวัฒนธรรมได้นั้นย่อมเป็นการที่ยากที่การทำงานนั้นจะประสบความสำเร็จได้


งานประชุมวิชาการ.(2553) Intercultural Management for successful Business across Borders   บรรยายโดย Prof. Dr. Claus Schreier Lucerne University of Applied Science and ArtsLucerne,Switzerland


หมายเลขบันทึก: 533124เขียนเมื่อ 16 เมษายน 2013 22:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 เมษายน 2013 22:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท